วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
Google search engine
หน้าแรกท่องเที่ยวกรอ.อุดรธานี เดือนตุลาคมคุย 20 เรื่อง

กรอ.อุดรธานี เดือนตุลาคมคุย 20 เรื่อง

เมื่อบ่ายวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม 2561 ที่ห้องประชุมสบายดี ชั้น 4 อาคาร 2 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมคณะกรรมากรร่วมภาครัฐเอกชน เพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) จ.อุดรธานี มีหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เข้าร่วมประชุมเป็นจำนวนมาก อีกทั้งมีระเบียบวาระ ติดตามความคืบหน้าโครงการ 9 เรื่อง , ระเบียบวาระเพื่อการพิจารณา 11 เรื่อง โดยเรื่องที่น่าสนใจ ประกอบด้วย

เรื่องแรก… การรถไฟแห่งประเทศไทย ยังคงยืนยันจะดำเนินโครงการ “คอนเทนเนอร์ยาร์ด” ที่สถานีรถไฟหนองตะไก้ พร้อมไปกับการก่อสร้างรถไฟทางคู่ จะไม่ปรับแผนไปรวมกับศูนย์กระจายสินค้า และท่าเรือบก ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี แต่จะมีการปรับพื้นที่ก่อสร้าง จากฝั่งตะวันตกมาที่ฝั่งตะวันออก สำหรับ“ศูนย์กระจายสินค้าและท่าเรือบก” สนข.ได้ว่าจ้างที่ปรึกษา ศึกษาความเหมาะสมที่จะตั้งใน จ.นครราชสีมา และ จ.ขอนแก่น ซึ่งอุดรธานีได้เสนอให้มีการศึกษาที่ จ.อุดรธานี ให้ครอบคลุมตามที่ ครม.สัญจรที่ จ.เพชรบูรณ์ รับทราบยุทธศาสตร์ของอุดรธานี ทั้งนี้ จ.อุดรธานี จะต้องเดินเครื่องหาพันธมิตร โดยเฉพาะการตอบรับของ “ชิปเปอร์” สนใจมาใช้บริการหรือลงทุนที่ จ.อุดรธานี หรือไม่

เรื่องที่สอง…แผนงานการเดินรถโดยสารปรับอากาศ หรือ ชิตี้บัส 3 สายในเมืองอุดรธานี ของ บ.อุดรธานีพัฒนาเมือง จก. จะเลื่อนการเริ่มทดลองเดินรถ ออกจากวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ ไปเป็น 1 ธันวาคมนี้แทน หลังจากได้รับแจ้งจากโรงงานต่อรถที่ประเทศจีนว่า รถโดยสารของอุดรธานีเป็นแบบชานต่ำ จะต้องนำถังเชื้อเพลิงที่เดิมอยู่ใต้รถ ขึ้นไปอยู่บนหลังคารถ ซึ่งจะทำให้ความสูงรถเกิน 320 ซม. ทำให้การต่อรถปรับอากาศในส่วนจุดป้ายจอดรถโดยสาร ได้กำหนดให้ใช้จุดตั้งป้ายเดิม และเพิ่มป้ายใหม่ในบางจุด ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ขณะนี้อยู่ในระหว่างดำเนินการ

เรื่องที่สาม…ขอให้มีการเร่งรัดดำเนินแผนงาน เพื่อรับฟังความคิดเห็นประชาชน การสร้างถนนเชื่อมสนามทุ่งศรีเมือง กับสวนสาธารณหนองประจักษ์ศิลปาคม บริเวณพื้นที่ระหว่าง สนง.การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จ.อุดรธานี กับสัสดี จ.อุดรธานี มีความกว้าง 20 เมตร จะต้องขอใช้พื้นที่ราชพัสดุที่อยู่ในความดูแลของ มณฑลทหารบกที่ 24 จำนวน 0-2-83 ไร่ และอยู่ในความดูแลที่กำการปกครอง จ.อุดรธานี 0-3-03 ไร่ โดยไม่ควรสร้างอาคาร หรือสถานที่จำหน่ายสินค้า เน้นพื้นที่สันทนาการ และพักผ่อน ตลอดจนเป็นจุดแลนด์มาร์ค

เรื่องที่สี่…ความคืบหน้าปัญหาและอุปสรรค โครงการ “ชุมชนท่องเที่ยว โอท็อป นวัตวิถี” 81 หมู่บ้านชุมชน วงเงิน 210.4 ล้านบาท เป็นการกระตุ้นให้ชาวบ้าน ลุกขึ้นมาพัฒนาตนเอง แต่เรายังขาดองค์ความรู้ , ขาดการเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยว , ขาดการสืบค้นหาของดีมาเปิดเผย เป็นอุปสรรคทำให้เกิดรายได้เสริมจริง ผู้ว่าฯสั่งให้ทุกฝ่ายลงไปช่วยสนับสนุน โดยผู้ว่าฯจะพาส่วนราชการไปสดสอบก่อน จึงจะต้องรับนักท่องเที่ยวอื่น

เรื่องที่ห้า…การผลักดันเส้นทางบินระหว่างประเทศ มาที่ท่าอากาศยานอุดรธานี จะมีการเปิดเวทีระดมความคิดเห็น เพื่อตอบสนองศักยภาพของสนามบินนานาชาติ ที่เพิ่มลานจอดจาก 6 ลำเป็น 11 ลำ แต่ยังไม่มีเครื่องมาจอดค้างคืน โดยไม่มีการหยิบยกประเด็น เรื่อง บ.ท่าอากาศยานไทย จก. (ทอท.) ที่จะเข้ามาบริหารท่าอากาศยานอุดรธานี และได้กำหนดแผนการพัฒนาไว้แล้ว โดยเฉพาะการบินเชื่อมอุดรธานี-ยุโรป (ตามบทสัมภาษณ์ ผอ.ทอท.)

เรื่องที่หก…หอการค้าอุดรธานีเสนอให้เร่งรัด การก่อสร้างสะพานข้ามลำน้ำปาว บ.ดงเมือง อ.กุมภวาปี ทดแทนสะพานเก่าที่ทรุดโทรม มีรถหนักใช้เส้นทางนี้จำนวนมาก หลังจากมีการออกแบบไปแล้ว , การก่อสร้างถนนเชื่อมต่อจาก สะพานข้ามลำน้ำปาว บ.สีออ-ตาดทอง เมื่อสะพานสร้างเสร็จ แต่ถนนยังเป็นของท้องถิ่น ไม่มีงบประมาณสร้างได้

เรื่องที่เจ็ด…หอการค้าอุดรธานี และ ทน.อุดรธานี ร่วมเสนอให้มีการก่อสร้าง ถนนขนานทางรถไฟ (โลวคอนโลด) ในเขต ทน.อุดรธานี ตั้งแต่ทางเลี่ยงเมือง ใกล้โรงปูน ทีพีไอ. ไปจนถึงถนนเลี่ยงเมือง ใกล้โตโยต้าชินนนท์ ระยะทาง 7.68 กม. จะทำให้เป็นถนนเพื่อระบายการจราจรเพิ่มขึ้น โดยการประสานกับการรถไฟแห่งประเทศไทย ในการออกแบบก่อสร้างรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง ที่จะมีพื้นที่เพียงพอหลังจากการยก “รางรถไฟ” ขึ้นตลอดแนว

เรื่องที่แปด…การประปาส่วนภูมิภาคได้ดำเนินโครงการ ก่อสร้าง ปรับปรุง ขยาย การประปาส่วนภูมิภาคสาขาอุดรธานี หนองคาย หนองบัวลำภู วงเงิน 2,138.4 ล้านบาท เป็นเงินอุดหนุน 75 เปอร์เซ็นต์ เงินกู้ภายในประเทศ 25 เปอร์เซ็นต์ ในส่วนของอุดรธานี จากเดิมมีสถานีผลิตประปา 3 สถานีที่ หนองประจักษ์-วัวข้อง-นาดี กำลังผลิตรวม 5,000 ลบม.ต่อชม. มีปัญหาใช้แหล่งน้ำดิบจากอ่างฯห้วยหลวง และจะมีปัญหาต่อเนื่อง จึงดำเนินแผนงานนำน้ำจากแม่น้ำโขง บริเวณ บ.เวิน ต.ปะโค อ.เมือง จ.หนองคาย ผลิตน้ำประปา 4,000 ลบม.ต่อ ชม.ส่งมาให้ตลอดเส้นทางหนองคาย-อุดรธานี และตัวเมืองอุดรธานี รองรับเมืองอนาคต 20 ปี ขณะนี้กำลังก่อสร้างส่วน จ.หนองคาย 1,000 ลบม.ต่อ ชม. ในส่วนของอุดรธานีประกวดราคาแล้ว….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments