วันพุธ, พฤษภาคม 1, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมอุดรตั้งกฎเหล็กแก้แกร็บทะเลาะลีมูซีน

อุดรตั้งกฎเหล็กแก้แกร็บทะเลาะลีมูซีน

คดีดังแกร็บคาร์ชกปากลีมูซีน เขม่นแย่งผู้โดยสารที่สนามบิน ขนส่ง-ตำรวจ-สนามบิน หวั่นเหตุวิวาทขยายวงกว้าง แจ้งต้นสังกัดสมาชิกที่อุดร 555 คัน มาลงทะเบียนเพียง 7 คัน ที่เหลือให้มาลงทะเบียนด่วน ก่อนจะบังคับใช้กฎหมาย

เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2566 ในการประชุม “มอร์นิ่งบลีฟ” ติดตามข้อสั่งการมีนายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานการประชุม ที่ห้องคำชะโนด ชั้น 2 อาคาร 2 ศาลากลาง จ.อุดรธานี มีรองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี , นายก อบจ.อุดรธานี หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าประชุม และประชุมทางไกลจาก 20 อำเภอ เรื่อง ปัญหายาเสพติด , การใช้แอพพิเคชั่นไทยดี , การเตรียมรับมือน้ำท่วม , สถานการณ์โควิด19+ไข้เลือดออก และเหตุทำร้ายร่างกายกันของนายเกรียงไกร สืบสิงห์ หรือไกร อายุ 30 ปี คนขับแกร็บคาร์ และนายธีระพงษ์ ชุมพล อายุ 30 ปี คนขับลีมูซีน บริเวณสนามบินอุดรธานี

นายกำแหง สาวิภู ผอ.ท่าอากาศยานนานาชาติอุดรธานี ชี้แจงว่า ตามที่ปรากฏข่าวในสื่อและสื่อออนไลน์ เหตุทะเลาะวิวาทที่สนามบินอุดรธานี ระหว่างคนขับลีมูซีน กับคนขับแกร็บคาร์ เหตุเกิดที่ด้านนอกอาคารผู้โดยสาร ระหว่างประตูทางออก 2 และ 3 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2566 และข่าวถูกนำเสนอเมื่อ 16 มิถุนายน 2566 ในวันดังกล่าวเจ้าหน้ารักษาความปลอดภัย และตำรวจท่องเที่ยว ได้เข้าระงับเหตุเบื้องต้น และได้แจ้งตำรวจ สภ.เมืองอุดรธานี เข้ามาเจรจาไกล่เกลี่ยแต่ตกลงกันไม่ได้

“ ท่าอากาศยานอุดรธานีได้ได้ตรวจสอบ การเข้า-ออกของรถพบว่า รถแกร็บคาร์ที่เข้ามายังท่าอากาศยานอุดรธานี เป็นรถที่เข้ามาในลักษณะของรถยนต์ส่วนบุคคล ไม่มีป้ายแสดงสัญลักษณ์ผู้ให้บริการ ว่าเป็นบริการรถสาธารณะ และได้หารือกับ สนง.ขนส่ง จ.อุดรธานี และตำรวจภูธร จ.อุดรธานี ในข้อกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว เพื่อกำหนดมาตรการเพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดเหตุทะเลาะวิวาทระหว่างลีมูซีน และรถสาธารณะอื่นอีก ”

น.ส.ปิยวรรณ ทะแพงพันธ์ นักวิชาการขนส่งชำนาญการพิเศษ สนง.ขนส่งจังหวัดอุดรธานี ชี้แจงว่า รถรับจ้างสาธารณะแยกเป็น 1. รถแท็กซี่มิเตอร์ ที่มีป้ายทะเบียนเป็นสีเหลือง ให้บริการทั่วไปในพื้นที่อุดรธานี มีอัตราค่าโดยสารตามมิเตอร์ โชเฟอร์ต้องได้รับใบอนุญาตขับขี่ “สาธารณะ” , 2.รถบริการเฉพาะลักษณะ “ลีมูซีนสนามบิน” หรือ รย.19 จะต้องได้รับอนุญาต หรือสัมปทานจากสนามบิน โชเฟอร์ต้องได้รับใบอนุญาตขับขี่ “สาธารณะ” และ 3.รถรับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิค หรือ รย.18 ในพื้นที่อุดรธานีแจ้งขอดำเนินการทางทะเบียน 555 คัน แต่มาจดทะเบียนเพียง 7 ราย ตามบัญชีรายชื่อ ทะเบียนรถ และชื่อ-สกุล ผู้ขับขี่

“ รถรับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิค หรือ รย.18 เป็นไปตามกฎกระทรวง 23 มิ.ย.2564 ซึ่งการจดทะเบียนเพื่อรับอนุญาต จะมีสาระสำคัญของรถโดยสาร อายุใช้งานรถไม่เกิน 9 ปี , บรรทุกได้ไม่เกิน 9 คน , มีขนาดเครื่องยนต์ 3 ประเภท , ความเร็วไม่เกิน 90 กม./ชม. และสาระสำคัญการให้บริการ อาทิ ใช้ป้ายทะเบียนส่วนบุคคลได้ , มีประตูอย่างน้อย 4 ประตู , มีแอพฯให้บริการ , ติดสติ๊กเกอร์ที่ตัวรถ , 1 คนจดเทะเบียนได้ 1 คัน , มีเครื่องมือสื่อสาร และโชเฟอร์มีใบขับขี่สาธารณะ ”

น.ส.ปิยวรรณ ทะแพงพันธ์ นักวิชาการขนส่งชำนาญการพิเศษ สนง.ขนส่งจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า จากเหตุการณ์ครั้งนี้ได้กำหนดมาตรการ จัดระเบียบรถยนต์รับจ้างสาธารณะ ดังนี้ 1.ประสานผ่านเจ้าของแอพฯ แจ้งไปยังผู้ลงทะเบียนผ่านแอพฯ มาจดทะเบียนรถรับจ้างผ่านระบบอีเลคทรอนิค หรือ รย.18 , 2.กวดขันบังคับใช้กฎหมาย จัดเจ้าหน้าที่บูรณาการ ป้องกันปราบปรามผู้กระทำผิด และ 3.หากผู้รับบริการถูกกระทำให้เกิดความเสียหาย ขอให้มากล่าวโทษเพื่อดำเนินคดี…..

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments