วันพฤหัสบดี, เมษายน 18, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมผู้ว่าอุดรฯ MOU คูโบต้า งดเผาลด PM 2.5

ผู้ว่าอุดรฯ MOU คูโบต้า งดเผาลด PM 2.5

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2565 ที่ห้องประชุมโรงแรมเซ็นทารา เทศบาลนครอุดรธานี นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี ลงนามบันทึกข้อตกลงกับนายพิษณุ มิลินทานุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขาย การตลาดและบริการ บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด ความร่วมมือฯสร้างโมเดล “อุดรธานี เมืองต้นแบบปลอดการเผา และลดโลกร้อน” เป็นจังหวัดที่ 8 มุ่งแก้ปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองจากภาคการเกษตร ตลอดจนบริหารจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร พร้อมตั้งเป้าลดการเผาในพื้นที่การเกษตรให้เป็น 0

นายพิษณุ มิลินทานุช ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้จัดการทั่วไป สายงานขาย การตลาด และบริการ บ.สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จก. กล่าวว่า ประเทศไทยเผชิญกับฝุ่น PM 2.5 กว่า 54 % เกิดจากการเผาในที่โล่ง ซึ่งรวมถึงการเผาในพื้นที่การเกษตร ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และการดำเนินชีวิตประชาชน สยามคูโบต้าจึงดำเนินโครงการ “เกษตรปลอดการเผา หรือ Zero Burn” ตั้งแต่ปี 2562 ที่ผ่านมา เพื่อรณรงค์และพัฒนากระบวนการผลิต โดยวิธีการทำเกษตรปลอดการเผา

ตลอดจนการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่วัสดุเหลือใช้หลังเก็บเกี่ยว เช่น ฟางข้าว ตอซังข้าว และใบอ้อย ด้วยการนำเอานวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร และองค์ความรู้ด้านการเกษตร ภายใต้องค์ความรู้ KUBOTA (Agri) Solutions เกษตรครบวงจรมาปรับใช้ ซึ่งดำเนินการไปแล้ว 7 จังหวัด ได้แก่ มหาสารคาม อุบลราชธานี ศรีสะเกษ ร้อยเอ็ด ราชบุรี เชียงราย และนครสวรรค์ ส่งผลให้ลดการเผาภาคการเกษตรไปแล้วกว่า 80 % นับตั้งแต่ก่อนเข้าร่วมโครงการ

อุดรธานีพบพื้นที่เผาและจุดความร้อน (Hotspot) ลดลงต่อเนื่อง พื้นที่นาข้าว 31 % อ้อย 18 % พื้นที่เกษตรอื่น ๆ 19 % ซึ่งอุดรธานีมีพื้นที่ปลูกข้าวกว่า 2 ล้านไร่ ส่งผลให้มีฟางข้าวอัดก้อนถึง 60 ล้านก้อน พื้นที่เพาะปลูกอ้อยอีกกว่า 6 แสนไร่ หากอุดรธานีได้ทำโครงการเกษตรปลอดการเผา จะทำให้เกิดโอกาสในการลดต้นทุนและสร้างรายได้ จะสามารถประหยัดค่าปุ๋ย คืนความสมบูรณ์ และอินทรีย์วัตถุในดิน โดยเฉพาะธาตุอาหารหลักคิดเป็น 318 ล้านบาท รายได้จากฟางข้าวอัดก้อน 50-100 บาท/ ไร่ คิดเป็น 100 ล้านบาท นอกจากนี้พื้นที่การเพาะปลูกอ้อยที่มีอยู่กว่า 6 แสนไร่ สามารถประหยัดค่าปุ๋ยได้ 111 ล้านบาท ได้รายได้จากการจำหน่ายใบอ้อยอัดก้อนประมาณ 50-100 บาท/ ไร่ คิดเป็น 30 ล้านบาท

นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า การแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน ฝุ่นละออง PM 2.5 เป็นนโยบายสำคัญที่รัฐบาล ให้ความห่วงใยพี่น้องประชาชน สั่งการให้เร่งบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน ป้องกันแก้ไขปัญหาโดยเร็ว ช่วงหลายปีที่ผ่านมาอุดรธานี มีรายงานการตรวจวัดของเอกชน ว่าค่า PM.2.5 สูงในระดับต้นๆของภาค ทำให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เลือกอุดรธานีเป็นหนึ่งในเป้าหมาย เข้ามาศึกษาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ซึ่งขณะนี้ก็ยังคงทำการศึกษาอยู่

อุดรธานีได้ระดมทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองท้องถิ่น และประชาชน มารณรงค์แก้ไขต้นเหตุการเกิดฝุ่น PM 2.5 ตั้งแต่ไฟป่าที่เกิดในพื้นที่ป่าอนุรักษ์-ป่าสงวนแห่งชาติ-ป่าชุมชน-ที่สาธารณประโยชน์-สองข้ามทางถนนทุกสาย , งดเผาวัสดุเหลือจากการเกษตรมาเป็นไถ่กลบ , ลดการเผาเพื่อเก็บผลผลิต โดยเฉพาะไร่อ้อยที่อุดรธานี มีโรงงานน้ำตาลมากถึง 3 โรง ด้วยการเพิ่มแรงจูงใจส่งอ้อยสดเข้าโรงงาน ตลอดเผ้าระวังโรงงานอุตสาหกรรม การก่อสร้างขนาดใหญ่ และบ่อขยะของ อปท.

ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ทำให้ที่ผ่านมาอุดรธานีสถานการณ์ PM 2.5 ดีขึ้นตามลำดับ สถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ จ.อุดรธานี ที่ก่อสร้างในตัวเมืองเสร็จมาราว 1 ปีเศษ เห็นได้ชัดว่าคุณภาพอากาศในเมืองดี แต่ภายนอกยังพบมีการเผาพื้นที่เกษตร และไร่อ้อย มีความยินดีที่ภาคเอกชน จะนำเครือข่ายของเครื่องกลเกษตร “คูโบตา” มาร่วมกันลดต้นกำเนิดฝุ่นจากภาคการเกษตรลงอีก เราก็จะต้องทำกันอย่างต่อเนื่อง ไปจนกว่าค่าของฝุ่นจะอยู่ที่ “0”

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments