วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมมท.2 ยกนครศรี-อุดร โมเดลลดอุบัติเหตุบนถนน

มท.2 ยกนครศรี-อุดร โมเดลลดอุบัติเหตุบนถนน

เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร ชั้น 3 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย ร่วมประชุมศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.)อุดรธานี โดยมีนายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผวจ.อุดรธานี นำคณะกรรมการ ส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม รับฟังแผนปฏิบัติการณ์ “อุดรโมเดล” ข้อมูลอุบัติเหตุเชิงลึก และผลการบูรณาการการทำงาน

ศปถ.อุดรธานี รายงานว่า การจัดเก็บข้อมูลสถิติอุดรฯ ยึดข้อมูลจาก 3 ฐาน ตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุไปอีก 30 วัน เพื่อนำข้อมูลสถิติมาวิเคราะห์ ประกอบในการแก้ไขปัญหา โดยการร่วมกันทำงานของ ศปถ.จังหวัด / อำเภอ / ตำบล ในปี 2560 ได้เริ่มดำเนินการตำบลต้นแบบ นำร่องอำเภอละ 2 ตำบล ที่มีสถิติอุบัติเหตุสูงสุด รวม 20 ตำบล ปี 61 เพิ่มขึ้นมาเป็น 112 ตำบล ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตลดลง 120 ราย ในปี 62 ให้แต่ละตำบลดำเนินการเอง ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตขยับสูงขึ้น

“ ในปี 63 เพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น ทำให้เดือนพฤศจิกายน สถิติผู้เสียชีวิตในปีก่อน 56 ราย ขณะนี้เสียชีวิตเพียง 23 ราย แบ่งกลุ่มผู้เสียชีวิตในตำบลเกิดเหตุ 10 ราย มีกลุ่มผู้สูงอายุสูงขึ้น , นอกตำบลในอำเภอเดียวกัน 7 ราย , นอกอำเภอในจังหวัดอุดรธานี 6 ราย และคนนอกจังหวัด 3 ราย ทั้งหมดเกิดขึ้นจากบุคคล จากการขับขี่ จยย., ไม่สวมหมวกกันน็อค และเมาแล้วขับ ”

เป้าหมายปี 63 เสียชีวิตไม่เกิน 20 คนต่อแสนประชากร หรือ 316 คนต่อปี หรือ 26 คนต่อเดือน หรือ 0.9 คนต่อวัน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 62-ปัจจุบัน เสียชีวิตไปแล้ว 53 ราย หรือ 3.35 คนต่อแสนประชากร โดย อ.กุมภวาปี เสียชีวิตสูงสุด 10 คน หรือ 8.05 คนต่อแสนประชากร เนื่องจากเป็นทางผ่านไปหลายจังหวัด อาทิ ถนนมิตรภาพ 26 กม. มีจุดเสี่ยงหลายพื้นที่ รวมทั้งทางลักข้ามต้องรื้อออกถึง 9 จุด มีผู้เสียชีวิต 5 ราย

นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย กล่าวว่า เห็นตัวเลขเสียชีวิตบนถนนทุกเช้า ที่รับรายงานก็ไม่สบายใจ แม้ว่าอันดับการเสียชีวิตของไทย จะลงไปอยู่ที่อันดับ 9 ซึ่งตัวเลขเราไม่ได้ลดลง แต่ตัวเลขประเทศอื่นเพิ่มขึ้น ทำอย่างไรเราจะตายไม่เกิน 16 คนต่อแสนประชากร ตามที่อนามัยโลกเข้ากำหนดไว้ ขณะนี้เราอยู่ที่ประมาณ 33-35 คนต่อแสนประชากร จึงมาช่วยท่านทำร่วมทำบุญ ด้วยการลดจำนวนการตายลง

“ อุดรธานีเป็นจังหวัดที่ทำได้ดี มีการเก็บข้อมูลละเอียดต่อเนื่อง และขอให้ดำเนินการต่อไป และเอาข้อมูลมาวิเคราะห์ใช้ประโยชน์ นำเอาพื้นที่ประสบความสำเร็จ มาเป็นตัวอย่างให้พื้นที่อื่นๆ เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการณ์ เราจะร่วมกันทำงานไปตลอดทั้งปี ไม่ใช่ทำเฉพาะเทศกาลปีใหม่-สงกรานต์เท่านั้น แต่ช่วงนั้นให้เพิ่มความเข้มขึ้น กลไกรต่างๆนำมาใช้ ทั้งชุมชน ท้องที่ ท้องถิ่น อาสาสมัคร ใครมีแรงลงแรง ใครมีงบประมาณลงเอามาลง ”

นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย ได้แสดงความเป็นห่วงช่วงเทศกาลปีใหม่ ด่านชุมชนที่เราเคยใช้กันมา 5-6 ปี เราเคยชินกับทหารออกมาช่วย ยึดรถคนเมาเอาไว้ แต่นั่นเป็นการใช้อำนาจ คสช. ตอนนี้ไม่มีอำนาจนั้นแล้ว ทหารจะออกมาทำแบบนั้นไม่ได้ ขณะที่ตำรวจเองก็ไม่เพียงพอ สภาพด่านชุมชนอาจจะบังคับใช้กฎหมายไม่ได้ ทำอย่างไรกำนัน ผญบ. จะเป็นผู้ช่วยเจ้าพนักงานได้หรือไม่ ให้กลับไปคิดเป็นการบ้าน

นายนิพนธ์ บุญญามณี รมช.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์ว่า วันนี้เราจำเป็นต้องเพิ่มเติมเครือข่าย คือทำอย่างไรจึงจะนำคนในท้องถิ่นพื้นที่ ดูแลความปลอดภัยบนท้องถนนมากขึ้น เพราะถนนที่อยู่ในการดูแลของท้องถิ่น 86% กรมทางหลวงและทางหลวงชนบท 14% เมื่อเมษายนที่ผ่านมากฎหมาย สนช.ได้เพิ่มอำนาจหน้าที่ให้ท้องถิ่น มาดูแลการจราจรได้ การใช้กลไก ศปถ.จังหวัด/อำเภอ/ตำบล จะทำให้การดูแลการจราจร และการดูแลการใช้รถใช้ถนนครอบคลุมพื้นที่ ภาคประชาสังคมต่างๆก็ต้องมีส่วนร่วมกัน

“ อุดรธานีโมเดลเป็นภาคีเครือข่ายเข้มแข็ง ในการดูแลความปลอดภัยบนถนน อยากจะมาให้กำลังใจ และก็อยากจะเชิญชวนทุกภาคีเครือข่าย มาร่วมการดูแลความปลอดภัยบนถนน ต้องการลดการเสียชีวิตจากปีละ 22,000 กว่าราย และพิการอีกเกือบ 50,000 รายต่อปี ตัวเลขเหล่านี้ถ้าเราจะรด ต้องอาศัยความร่วมมือของทุกภาคส่วน ผมคิดว่ามีโมเดลอยู่สองจังหวัดคือ นครศรีธรรมราชและอุดรธานี ที่จะใช้เครือข่ายภาคีเครือข่ายภาคประชาชนชุมชน มาช่วยการดูแลเพราะฉะนั้นผมคิดว่าเราต้องทำอย่างต่อเนื่อง ”

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments