วันอังคาร, มีนาคม 19, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมอุดรธานีได้เฮทำ“ฝนหลวง”ตกบ้างแล้ว

อุดรธานีได้เฮทำ“ฝนหลวง”ตกบ้างแล้ว

ฝนตก 2 วันเป็น “ฝนหลวง” ใช้ บน.23 เป็นสถานีเติมสารเคมี ผู้ว่าฯนำทีมเยี่ยมให้กำลังใจ พร้อมตั้งคณะทำงานติดตามสถานการณ์น้ำแล้ง-น้ำท่วมใหล้ชิด

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2562 นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี มีคำสั่งตั้งศูนย์ติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง เพื่อรวบรวมข้อมูลจากส่วนต่างๆทุกวัน ซึ่งล่าสุดมีปริมาณฝนตกสะสม 1 ม.ค.62-21 ก.ค.62 รวม 517.4 มม. น้อยกว่าช่วงเดียวกันในปีที่แล้วถึง 183.1 มม. โดย อ.ศรีธาตุ มีฝนสะสมต่ำสุด 244.6 มม. อ.เพ็ญมีฝนสะสมสูงสุด 630.0 มม. ขณะน้ำในอ่างฯห้วยหลวง แหล่งน้ำดิบผลิตประปาเมืองอุดรธานี ความจุ 135 ล้าน ลบม.มีน้ำอยู่เพียง 29.42 ล้าน ลบม. หรือเพียง 21.7 เปอร์เซนต์ ต้องงดส่งน้ำในเกษตรกร

เวลา 11.30 น. นายวัฒนา พุฒิชาติ ผวจ.อุดรธานี ได้เดินทางตรวจเยี่ยมศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง ที่มาตั้งเป็นศูนย์เติมสารเคมี ภายในกองบิน 23 อุดรธานี โดยมีขณะที่ น.อ.ชนาวีร์ กลิ่นนารี ผบ.บน.23 นำตรวจเยี่ยม ซึ่งวันนี้มีเครื่องบินแบบคาซ่า มาเติมสารเคมีแคลเซี่ยมออกไซด์ เตรียมบินขึ้นทำฝนหลวงอีก 1 เที่ยวบิน หลังจากที่มีการร้องขอฝนหลวงในพื้นที่ อ.เมือง เพื่อเติมน้ำเข้าอ่างเก็บน้ำห้วยหลวง

นายวัฒนา พุฒิชาติ ผวจ.อุดรธานี เปิดเผยว่า อุดรธานีได้ประเมินสถานการณ์ฝน สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ สถานการณ์พืชผลทางการเกษตร โดยมีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกวันอังคาร โดยแต่ละอำเภอยังไม่มีรายงาน ผลกระทบของพืชผลทางการเกษตร แต่อาจจะกระทบหากฝนทิ้งช่วงไปอีก 2 สัปดาห์ ซึ่งเราได้เตรียมการให้แต่ละอำเภอ ดูว่ามีแหล่งน้ำไหนบ้างที่จะนำน้ำไปช่วยได้ แต่ไม่ให้กระทบน้ำอุปโภคบริโภค ในขณะเดียวกันหน่วยงานต่างๆ พร้อมทั้ง ปภ.จังหวัดและเขต หน่วยทหารในพื้นที่ จะดูในเรื่องเครื่องสูบน้ำ รถบรรทุกน้ำ เข้าไปช่วยเหลือประชาชนได้ทันที

“ ส่วนน้ำในอ่างฯห้วยหลวง ที่ใช้อุปโภค บริโภค ทำน้ำประปาในเขต อ.เมือง ถ้าไม่มีน้ำฝนเติมลงอ่าง จะสามารถใช้ได้อีก 3 เดือน ซึ่งเรื่องนี้ยังไม่ได้วิตกมาก แต่ทั้งนี้ก็ขอความร่วมมือจากประชาชน ให้ช่วยกันประหยัดน้ำไว้ก่อน ขณะที่เกษตรกรควรงดการปลูกพืชผักต่าง ๆ ที่ต้องใช้น้ำมาก แต่ทั้งนี้ทางรัฐบาลมีความห่วงใยประชาชนเรื่องของภัยแล้ง และต้องการแก้ปัญหาให้เกษตรกร และสถานการณ์น้ำตามอ่างเก็บน้ำต่าง ๆ จึงให้มีการทำฝนหลวงตามศาสตร์ของพระราชา ในพื้นที่ที่ประสบปัญหาในขณะนี้ ”

นายวัฒนาฯ กล่าวอีกว่า หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ตั้งอยู่ภายในกองบินที่ 23 อุดรธานี มาตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมาแล้ว แต่มาช่วงนี้มีการปฏิบัติการเพิ่มเติมจากเดิม เพื่อช่วยให้ประชาชนมั่นใจได้ว่า ทางรัฐบาลได้ดำเนินการตามมาตรการต่าง ๆ ที่จะช่วยเหลือประชาชน ที่ได้รับผลกระทบ โดยมีหน่วยฝนหลวงเข้ามาปฏิบัติการในพื้นที่ จ.อุดรธานี และใกล้เคียง

นายอนุชิต สุขนรินทร์ นักวิชาการชำนาญการพิเศษ ประจำหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงขอนแก่น เปิดเผยว่ามีการตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ต่าง ๆ ของภาคอีสาน เพื่อช่วยสถานการณ์ฝนทิ้งช่วงในพื้นที่ 4 หน่วย คือ ขอนแก่น นครราชสีมา สุรินทร์ และอุบลราชธานี และมีการปรับแผนตั้งฐานเติมสารทำฝนหลวงอีก 2 แห่ง คือ อุดรธานี และบุรีรัมย์ ตั้งแต่วันที่ 20 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยอุดรธานีมีหลายอำเภอที่ร้องขอฝนหลวง ทั้งพื้นที่การเกษตร อ่างฯห้วยหลวง

“ วันนี้เราวางแผนช่วยเหลือทำฝนหลวงอุดรธานี โดยในช่วงเช้าได้วางแผนสร้างเมฆบินขึ้นทำฝนหลวงไปแล้ว 1 เที่ยวบิน และช่วงบ่ายจะบินทำภารกิจอีก 1 เที่ยวบิน ทั้งนี้เมื่อ 2 วันที่ผ่านมา เราบินทำภารกิจสำเร็จไปแล้ว ที่มีฝนตกค่อนข้างดี และเรายังมีสถานีเรดาห์ตรวจสภาพอากาศที่ อ.บ้านผือ ที่ตรวจอากาศและตรวจฝน เพื่อเป็นข้อมูลของหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง ในการบินทำฝนหลวงได้ รวมทั้งมีกองบิน 23 ที่ร่วมปฏิบัติการ สนับสนุนเครื่องบินอัลฟ่าเจ็ต บินปราบลูกเห็บในพื้นที่ฝนตก ที่ได้ผลอย่างดี ”

น.อ.ชนาวีร์ กลิ่นนารี ผบ.บน.23 เปิดเผยว่า เครื่องบินอัลฟ่าเจ็ตที่สนับสนุนการทำฝนหลวง หลักๆแล้วมีหน้าที่ทำลายพายุลูกเห็บ ซึ่งพายุฝนที่ลมแรงปีนี้จะมีลูกเห็บน้อยมาก ที่เราสามารถสลายพายุลูกเห็บได้ถึง 70-80 เปอร์เซนต์ จากสถานีเรดาห์ตรวจอากาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ อ.บ้านผือ ที่เราบินขึ้นทำลาย 26 เที่ยวบิน 29 ชั่วโมงบิน ถือว่าประสบความสำเร็จอย่างสูง โดยเราสแตนบายเครื่องอัลฟ่าเจ็ตที่หน่วยหลัก 1 ลำ และที่เชียงใหม่ 2 ลำ…

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments