วันพุธ, พฤษภาคม 8, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมวัว-ควายตาย 360 ชาวบ้านซื้อหายาเอง อบจ.ซื้อแจก

วัว-ควายตาย 360 ชาวบ้านซื้อหายาเอง อบจ.ซื้อแจก

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 22 มิถุนายน 2564 ที่องค์การบริหารส่วน (อบจ.)อุดรธานี ถ.มุขมนตรี ทน.อุดรธานี อ.เมือง จ.อุดรธานี นายวิเชียร ขาวขำ นายก อบจ.อุดรธานี (เสื้อน้ำเงิน) พร้อมเจ้าหน้าที่มอบเวชภัณฑ์ ป้องกันรักษาโรค “ลัมปี-สกิน” ในพื้นที่ จ.อุดรธานี โดยมีนายพนธ์สมิทธิ์ กลางนภา ปศุสัตว์ จ.อุดรธานี (เสื้อส้ม) และปศุสัตว์อำเภอ 20 อำเภอ รับมอบยา 3 ชนิด คือ ยาแก้ปวดลดไข้ ฟลูนิซิล ชนิดฉีด 380 ขวด , ยาปฏิชีวนะเพนนิซิลลิน และสเต็บโตมัยซีน ชนิดฉีด 340 ขวด และยากำจัดพยาธิภายนอก ฟลูเมทริน 6% จำนวน 790 ขวด วงเงิน 500,000 บาท ตามที่ปศุสัตว์จังหวัดขอรับการสนับสนุน

นายวิเชียร ขาวขำ นายก อบจ.อุดรธานี กล่าวว่า ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก วัว-ควายเกิดโรคระบาด “ลัมปี-สกิน” ได้ปรึกษากับปศุสัตว์ว่ามียารักษา 3 ประเภท จึงได้จัดหาให้กับปศุสัตว์จังหวัด เพื่อนำไปกระจายให้กับประชาชนทั้ง 20 อำเภอ ส่วนปริมาณยาในวันนี้ กับปริมาณวัวที่เป็นโรคลัมปี-สกินในพื้นที่เพิ่มขึ้นวันละ 200-300 ตายไปแล้ว 300 กว่าตัว ได้ทราบจากปศุสัตว์ ปริมาณยาคงจะไม่พอกับวัวที่ติดโรคนี้ คิดว่าจะต้องหายาไปช่วยประชาชน อย่างต่อเนื่องแน่นอน

นายพนธ์สมิทธ์ กลางนภา ปศุสัตว์ จ.อุดรธานี กล่าวว่า โรคลัมปี-สกินระบาดได้ในสัตว์เคี้ยวเอื้อง พบการระบาดครั้งนuhเฉพาะในวัว-ควาย ซึ่งในอุดรธานีมีรวมกว่า 150,000 ตัว สถานการณ์ขณะนี้ระบาดเป็นวงกว้างทั้ง 20 อำเภอ มีสัตว์ที่ติดโรคนี้แล้วเกือบ 8,000 ตัว หายป่วยแล้ว 2,000 กว่าตัว ตายไป 360 ตัว เกือบทั้งหมดเป็นวัว และยังเป็นลูกวัวอายุ 2-6 เดือน ส่วนควายมีเพียงไม่กี่ตัว ตั้งแต่เริ่มพบวัว-ควายป่วย ได้ลงพื้นที่แนะนำเกษตรกรดูแล และการใช้ยาต่างๆ ใน 3 ส่วน คือ ช่วงเริ่มมีอาการ , รักษาแผลที่เกิด และรักษาตามอาการ

“ กรมปศุสัตว์ได้จัดสรรเวชภัณฑ์เบื้องต้น ได้แจกจ่ายไปในทุกอำเภอ แต่ไม่เพียงพอกับวัว-ควายที่ป่วย ชาวบ้านต้องหายารักษากันเอง จากคำแนะนำจากปศุสัตว์อำเภอ บางรายวัว-ควายราคาแพง ก็แนะนำให้ลงทุนกางมุ้งให้ วันนี้ อบจ.อุดรธานี ได้จัดหาเวชภัณฑ์ตามที่ปศุสัตว์ร้องขอ พร้อมกับจัดสรรลงไปในพื้นที่ทุกอำเภอทันที่ แต่ละอำเภอจะได้ 12 ชุดๆหนึ่งจะดูแลจนหายได้ 30-40 ตัว ซึ่งเวชภัณฑ์ชุดนี้จะใช้ได้ราว 1 เดือน โดยนายก อบจ.อุดรธานี ได้สั่งการให้ผู้รับผิดชอบ มาประสานเตรียมจัดหามาเพิ่มเติม ”

ปศุสัตว์ จ.อุดรธานี กล่าวว่า สภาพโรคลัมปี-สกีน กับโควิด-19 มีลักษณะคล้ายกัน คือ ขาดวัคซีนเหมือนกัน แต่ลัมปีสกินหนักกว่า ขาดแคลนยาป้องกัน-รักษาไปด้วย คาดว่าโรคจะระบาดไปอีก 4 เดือน โดยขณะนี้ตัวเลขวัวรักษาหาย ใกล้เคียงกับวัวที่ป่วยเพิ่มแล้ว จากการที่เกษตรกรป้องกันดีขึ้น ต่อไปตัวเลขติดเชื้อจะเริ่มลดลง ตัวเลขรักษาหายก็จะมากขึ้น เป็นการรักษาตามอาการ ขณะวัคซีนที่กรมฯสั่งซื้อมาชุดแรก 60,000 โดส อุดรธานีไม่ได้รับ ชุดที่สองได้รับมาเพียง 671 ตัว เป็นไปตามหลักวิชาการ ที่จะต้องฉีดในพื้นที่ไม่มีโรค ห่างจากจุดพบโรค 5 กม.

นายพนธ์สมิทธ์ กลางนภา ปศุสัตว์ จ.อุดรธานี กล่าวอีกว่า ได้สั่งการปศุสัตว์ทุกอำเภอ ไปคุยกับองค์กรปกครองท้องถิ่น หากพื้นที่ใดมีกำลังเพียงพอ จะจัดหาเวชภัณฑ์เพิ่มเติม หรือการจ่ายชดเชยเยียวยา เกษตรกรที่วัว-ความล้มตาย ตามระเบียบภัยพิบัติโรคระบาด ก็สามารถชดเชยได้ทันที ในอัตราที่ระเบียบกำหนดไว้ คือ รายละไม่เกิน 2 ตัว เป็นพ่อแม่วัว-ควายไม่เกิน 20,000 บาท/ตัว , อายุ 1-3 ปี ตัวละไม่เกิน 8,000 บาท และลูกวัวตัวละไม่เกิน 6,000 บาท หากไม่มีศักยภาพพอให้ปศุสัตว์อำเภอ เสนอขึ้นมายังจังหวัดตามขั้นตอน ตอนนี้อยู่ระหว่างรวม…..

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments