วันอังคาร, ธันวาคม 3, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมอุดรจ่อประกาศห้ามเผาแก้ PM 2.5

อุดรจ่อประกาศห้ามเผาแก้ PM 2.5

อุดรธานีเตรียมประกาศห้ามเผา 1 มี.ค.-30 เม.ย.66 รับมือสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 พร้อมออกมาตรการเชิงรุก นำข้อมูลอากาศ+ฝุ่น คำนวณคาดกาลล่วงหน้า สถานการณ์ฝุ่นรายอำเภอ งัดกฎหมายทุกฉบับขึ้นมาจัดการล่วงหน้า

เมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธุ์ 2566 ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตต์ ชั้น 3 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายเจนเจตน์ เจนนาวิน รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมคณะทํางานติดตามสถานการณ์ไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง ขนาดเล็ก PM 2.5 มีหน่วยที่เกี่ยวข้องเข้าประชุม และประชุมทางไกลกับ 20 อำเภอ ในการนำข้อมูลที่มีอยู่ มาคาดกาลสถานการณ์ PM 2.5 รายอำเภอในช่วง 7 วันข้างหน้า เพื่อเตรียมรับมือลดปัญหาฝุ่นที่จะเกิดขึ้น

ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด (ปภ.) , ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) , สถานีตรวจอากาศจังหวัด , ทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 , พื้นที่อนุรักษ์ 10 , ตำรวจภูธรจังหวัด , ขนส่งจังหวัด และป้องกันจังหวัด รายงานสถานการณ์ว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ ของกรมควบคุมมลพิษ (แอร์4ไทย) อยู่ในระดับดีมาก-ปานกลาง (ฟ้า-เหลือง) แต่ในแอพพิเคชั่น “เช็คฝุ่น” (ความร่วมมือพัฒนาของดาวเทียมจีสด้า+ม.เกษตร+ทส.) ที่รายงานคุณภาพอากาศรายอำเภอว่าอยู่ในระดับ “ปานกลาง” (เหลือง) โดยแนวสัปดาห์ข้างหน้าไม่รุ่นแรง ขณะที่แผนการนำข้อมูลที่มีอยู่ มาพยากรณ์หรือคาดกาลคุณภาพอากาศรายอำเภอ อยู่ระหว่างการศึกษากับผู้เชี่ยวชาญ ยังไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้

การรายงานยังระบุด้วยว่า ต้นกำเนิดของ PM 2.5 ที่ต้องจัดการป้องกันก่อนเกิด ในช่วงเดือนนี้จนถึงสิ้นเมษายน ในส่วนของการเผาในที่โล่ง ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์มีแนวโน้มมากกว่าปีที่ผ่านมา แต่ก็เป็นพื้นที่เกิดไม่ต่อเนื่อง สำหรับจุด “ฮอตสปอต” จากดาวเทียมจีสด้าพบทั้งเกิดในพื้นที่ป่า+ที่สาธารณะ+พื้นที่นาข้าว+พื้นที่ไร่อ้อย เกิดมากที่สุดในพื้นที่ อ.วังสามหมอ , ศรีธาตุ , บ้านดุง , บ้านผือ , น้ำโสม , นายูง ที่ทุกจุดที่เกิดขึ้นตรวจสอบได้ ผ่านไลน์กลุ่มปัญหาฝุ่นอุดรธานี ที่สามารถระบุจุดไฟไหม้ได้ใน “กูเกิ้ลแม็บ” เพื่อลงไปสอบสวนหาสาเหตุ หรือดำเนินคดี

ที่ประชุมยังรายงานด้วยว่า การเผาในที่โล่งแจ้งที่มีปัญหา แบ่งเป็น 2 เหตุการณ์ กรณีแรกเผาเพื่อเก็บผลผลิตเข้าโรงงานคือ “เผาไร่อ้อย” กรณีที่สองคือเผาหลังจากเก็บผลผลิตคือ “นาข้าว” วันอาทิตย์ที่ผ่านมามีเรื่องน่าเศร้า ที่ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นอีก จากเหตุการณ์เจ้าของไร่อ้อย (นายจันทร์ คำภา อายุ 76 ปี เลขที่ 68 ม.2 ต.ศรีสำราญ อ.น้ำโสม จ.อุดรธานี) ถูกไฟคลอกเสียชีวิต จากเหตุไฟไหม้ไร่อ้อยของเข้าเอง ที่อยู่ระหว่างการสอบสวนว่า ตัว เองเผาหรือใครเผา เมื่อเกิดไฟไหม้ไร่อ้อย ไปได้ลามไปที่ “สวนยางพารา” ผู้เสียชีวิตพยายามจะเข้าไปดับ แต่ก็ถูกไฟคลอกเสียชีวิต

นายเจนเจตน์ เจนนาวิน รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี ชี้แจงพร้อมข้อสั่งการว่า อุดรธานีเตรียมประกาศกองอำนวยการป้องกัน และบรรเทาสาธารณภัยอุดรธานี เรื่องมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) ควบคุมการเผา และห้ามเผาเด็ดขาด ในที่โล่งและพื้นที่เกษตร 90 วัน เริ่ม 1 มี.ค.-30 เม.ย.66 เพื่อให้ศูนย์ระดับอำเภอประกาศมาตรการเดียวกัน รวมไปถึงนายก อปท.เสนอสภาท้องถิ่นบังคับใช้ด้วย

มีกฎหมายหลายฉบับเข้าไปเกี่ยวข้อง ทุกหน่วยงานต้องบังคับใช้กฎหมาย จัดการกับต้นตอของฝุ่น PM 2.5 เมื่อมีการคาดกาลในช่วง 7 วันข้างหน้า พบว่าในอำเภอใดมีแนวโน้มเกิดมาตรฐาน หน่วยงานรับผิดชอบต้องลงพื้นที่นั่นล่วงหน้า ประกอบด้วย สนง.ขนส่ง จ.อุดรธานี ร่วมกับหน่วยเกี่ยวข้อง ต้องลงไปตรวจจับรถควันดำในพื้นที่ , สนง.อุตสาหกรรม ต้องตรวจโรงงานที่มีหม้อต้ม 150 โรงในจังหวัด , สนง.โยธาธิการและผังเมือง ร่วมกับหน่วยเกี่ยวข้อง ตรวจการก่อสร้างถนน-อาคาร ไม่ให้เกิดฝุ่น

สำหรับการเผาในที่โล่งแจ้ง ให้อำเภอนั้น ๆ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และองค์กรปกครองท้องถิ่น จัดการกับการเผาทั้ง 5 ประเภท คือ การเผาในที่เอกชน , การเผาในที่สาธารณะ , การเผาในพื้นที่ริมทาง , การเผาในพื้นที่ป่าไม้ และการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม ด้วย พรบ.สาธารณสุข 2535 , พรบ.ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย 2550 , พรบ.ปกครองท้องที่ 2457 , พรบ.ขั้นตอนการกระจายอำนาจให้ อปท. 2542 , พรบ.ป่าไม้ 2484 , พรบ.ป่าสงวนฯ 2507 , พรบ.อุทยานฯ 2504 และพรบ.คุ้มครองสัตว์ป่า 2562 ………

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments