วันจันทร์, กันยายน 9, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมวิจัยปลูกกัญชง“ปิดทองห้วยคล้าย”สดใส

วิจัยปลูกกัญชง“ปิดทองห้วยคล้าย”สดใส

ปิดทองหลังพระบ้านโคกล่าม-แสงอร่าม อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี ทดลองปลูกพืชมูลค่าสูง “กัญชง” สายพันธุ์จากต่างประเทศ ได้ค่าสาร CBD และน้ำหนักมาตรฐาน เตรียมขยายผลเกษตรกรในพื้นที่

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 บริเวณแปลงปลูกกัญชงพื้นที่ต้นแบบ บ้านโคกล่าม-แสงอร่ามอ่างฯห้วยคล้ายอันเนื่องจากพระราชดำริ ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี นายนพวัชร สิงห์ศักดา อดีต ผวจ.อุดรธานี และที่ปรึกษาสถาบันปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ พร้อมคณะ ผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภาคีเครือข่าย ร่วมลงพื้นที่ติดตามโครงการวิจัยเชิงพัฒนาการปลูกพืชมูลค่าสูง “กัญชง” มีนายวรากร วงศ์สิทธิ ผู้จัดการโครงการฯ นำนักวิจัยฯ ผู้ช่วยนักวิจัย รายงานและนำชมแปลงทดลอง

ซึ่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ร่วมกับ บ.TNR Bioscience , จังหวัดอุดรธานี และสถาบันส่งเสริมและพัฒนากิจกรรมปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ดำเนินโครงการในพื้นที่ต้นแบบบ้านโคกล่าม-บ้านแสงอร่าม เพื่อพัฒนาให้เกษตรกรได้เรียนรู้ และฝึกปฏิบัติไปพร้อมการศึกษาวิจัย เพื่อเป็นต้นแบบการปลูกพืชกัญชงเชิงพาณิชย์ ซึ่งโครงการวิจัยมีกิจกรรม 2 ลักษณะ คือ การปลูกกัญซงในพื้นที่กลางแจ้ง (Outdoor) และในโรงเรือน (Indoor) เพื่อเปรียบเทียบ และมีผลเป็นที่น่าพอใจ

นายวรากร วงศ์สิทธิ ผู้จัดการโครงการฯ นำนักวิจัยฯ และผู้ช่วยฯ ชี้แจงว่า แปลงวิจัยปลูกกัญชงมี 3 แปลง ขนาด 1 ไร่ , 2 งาน และ 1 งาน ด้วยสายพันธุ์จากต่างประเทศ ให้สาร CBD สูง 12-13 % ระบุว่ามาตรฐาน 1 ต้นจะได้ช่อดอก 250 กรัม ได้รับอนุญาตตามกฎหมายก่อนที่จะเปิดเสรี มีเกษตรกรเจ้าของพื้นที่เป็น “ผู้ช่วยนักวิจัย” ได้รับประสบการณ์นำไปต่อยอดได้ เริ่มปลูกลงแปลง 26 ต.ค.65 รดน้ำและให้ปุ๋ยด้วยระบบน้ำหยด ตามแผนงานที่กำหนด ทำให้เติบโตดีสมบูรณ์

“ การเตรียมเก็บช่อดอกกัญชง ต้องตรวจดูไตรโคม หรือกะเปาะเก็บสารที่ช่อดอก ว่ามีความสมบูรณ์เต็มที่หรือยัง หากเต็มที่จะมีสีเหลืองอัมพัน ตอนนี่ยังเป็นสีขาว คาดว่าจะเก็บผลผลิต 8 มี.ค.นี้ ตั้งแต่ 24.00 น.- ก่อน 08.00 น. ที่โบราณเรียกว่าก่อนยาม 4 ซึ่งก่อนเก็บต้องริใบออกให้หมด เหลือแต่ก้านช่อดอก และเก็บเอาเฉพาะส่วนนั้น จากนั้นเองมาเลาะช่อดอกออกไปขาย คาดว่าเราจะได้ช่อดอกแห้งต้นละ 350 กรัม หรือสูงกว่าค่ามาตรฐาน ”

นายวรากร วงศ์สิทธิ ผู้จัดการโครงการฯ อธิบายว่า แปลงวิจัยขนาด 1 ไร่ ของนายผอง สิงห์คำป้อง รวม 890 ต้น ใช้เงินลงทุนเตรียมพื้นที่ และระบบต่าง ๆราว 300,000 บาท สามารถใช้ได้หลายรอบปลูก ขณะต้นทุนการปลูกและการดูแลตลอด 120 วัน มีค่าจ่ายต้นละ 675 บาท ขณะที่ราคาผลผลิตขึ้นกับคุณภาพ CBD และน้ำหนัก อยู่ระหว่าง กก. ละ 5,000-9,000 บาท หากเป็นไปตามเป้าที่คาดกาล ครั้งแรกก็ได้ค่าอุปกรณ์และระบบคืนแล้ว แต่ก็ยังต้องรอสรุปผลวิจัย หลังจากเก็บผลผลิตแล้ว

ขณะที่ตัวแทนเกษตรกร หรือ “ผู้ช่วยนักวิจัย” ยืนยันว่า จากการที่คลุกคลีกกับโครงการ ทุกวันตั้งแต่เริ่มต้นมั่นใจว่า สามารถปลูกต้นกัญชงแบบ “ประณีต” ได้ แต่ที่ติดปัญหาคือการลงทุนสูง และยังมีความเสี่ยงเรื่องของ “ศัตรูพืช” ที่ยังจะต้องมีพี่เลี้ยงในช่วงแรกๆ

นายนพวัชร สิงห์ศักดา อดีต ผวจ.อุดรธานี และที่ปรึกษาสถาบันปิดทองหลังพระสืบสานแนวพระราชดำริ กล่าวว่า ความร่วมมือจากหลายฝ่าย ทำให้การทดลองหรือวิจัยได้ผลดี จนจะมีการเก็บเกี่ยวกันเร็วๆนี้ ทำให้เห็นว่าพื้นที่อีสานปลูกได้ดีจริง ชาวบ้านที่มาร่วมงาน ก็มีประสบการณ์จากของจริง เชื่อว่าจะสามารถต่อยอด หรือถ่ายทอดไปให้รายอื่นได้ ปิดทองหลังพระเองก็ยังไม่หยุดนิ่ง จะดูด้วยว่าวัสดุปลูกที่ใช้แล้ว สามารถนำไปต่อยอดอื่นได้หรือไม่….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments