วันจันทร์, กันยายน 9, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมกรอ.อุดรฯค้านรอบสองทางพาดรถไฟบ้านจั่น

กรอ.อุดรฯค้านรอบสองทางพาดรถไฟบ้านจั่น

มติ กรอ.อุดรธานียืนยันรอบสอง ขอให้ รฟท.ทบทวนแบบรถไฟจุดตัดทางหลวง 216 เอื้อประโยชน์โรงปูน ทีพีไอ. ขนปูนวันละ 1 เที่ยว ไม่สนรถวิ่งผ่านวันละ 3 หมื่น ทล.พร้อมออกแบบยกระดับใหม่ หลังผู้ว่าการรถไฟฯแจ้งไม่ทบทวน เหตุควักเงินเพิ่ม 2 พันล้าน และทำแผนงานล่าช้า

ผู้สื่อข่าวรายจาก จ.อุดรธานี (20 ก.ย.65) ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตน์ ชั้น 3 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ (กรอ.) อุดรธานี มีนายวันชัย จันทร์พร รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานฯ โดยมีคณะกรรมการจากภาครัฐ และเอกชนให้ความสนใจ เพื่อติดตามความคืบหน้า “ กรอ.อุดรธานี ขอให้ รฟท.ทบทวนแก้ไขรูปแบบรถไฟทางคู่ บริเวณทางพาดรถไฟตัดกับทางหลวง 216”

(ผ้าพื้นเมืองสีชมพูลายยาว) พ.ท.วรายุส์ ตรีวัฒนสุวรรณ ประธานสภาอุตสาหกรรม จ.อุดรธานี กล่าวว่า กรอ.อุดรธานีมีมติครั้งแรก (6 พ.ค.65) ขอให้ รฟท.ทบทวนรูปแบบรถไฟทางคู่ ทางพาดรถไฟจุดตัดทางหลวง 216 ก่อนเข้าเมืองอุดรธานี ให้รถไฟรางคู่ยกระดับข้าม เหมือนกับรถไฟความเร็วสูง ซึ่งผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี ได้รายงานตามสายงานจนล่าสุด 9 ก.ย.ที่ผ่านมา (4 เดือน) นายนิรุฒ มณีพันธุ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ทำหนังสือตอบกลับมา ยืนยันยังจะใช้ตามรูปแบบเดิม

“ ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.)อุดรธานี สัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีมติอีกครั้งคัดค้านรูปแบบเดิมของรถไฟ เพราะความจริงบอกอยู่ว่า รถในระดับพื้นดินวิ่งผ่านทุกวินาที แต่รถไฟไปส่งปูนฯมีวันละเที่ยว อยากให้เห็นความสำคัญของประชาชน ไม่อยากให้มองเรื่องงบประมาณ หรือหากแก้ไขแล้วจะล่าช้า เราพร้อมจะให้ล่าช้าเพื่อคนรุ่นต่อไป เพราะเมื่อมีการก่อสร้างไปแล้ว ชาวอุดรฯต้องใช้ไปมากกว่าร้อยปี หรือตลอดไป ถ้าไม่ทบทวนแก้ไขก็เหมือนได้ทุขลาภมา ”

(เสื้อสูทสีดำ) นายสุรชัย ทวีแสงสกุลไทย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านเศรษกิจ อดีตประธานหอการค้าอุดรฯ กล่าวว่า เริ่มต้นมีความชัดเจนอยู่แล้ว ว่ารถไฟทางคู่-รถไฟความเร็วสูง จะต้องยกข้ามเมืองทั้งหมด ไม่รู้ว่ามีการแก้ไขตอนไหน แล้วมาให้ความสำคัญกับโรงปูน ที่ไม่รู้จะอยู่ที่นี่ไปอีกนานเท่าไหร่ เพราะการยกข้ามทางพาดนี้ นอกจากปัญหาการจราจร ยังจะช่วยให้มีทางระบายน้ำ ป้องกันน้ำท่วมเมือง และทำให้มีถนนนาดทางรถไฟ เพิ่มศักยภาพเมืองมากขึ้นด้วย ขอให้พิจารณาทบทวนใหม่

(เสื้อสูทสีดำหน้ากากฟ้า)นายชัยฤทธิ์ เขาวงศ์ทอง ส.อบจ. อ.เมืองอุดรธานี กล่าวว่า มีรถผ่านทางพาดนี้วันละ 3 หมื่นคัน รฟท.ยืนยันสร้างรถไฟทางคู่ระดับพื้น กรมทางหลวงจำเป็นต้องออกแบบยกระดับยาว 980 ม. รถจักรยาน , จักรยานยนต์ , สามล้อ จะไปยังไง รวมทั้งทางขึ้น-ลงระหว่าง สี่แยกอุดร-ขอนแก่น กับทางพาดรถไฟก็มีปัญหา ถ้ารถออกจากอุดรฯเลี้ยงซ้าย รถจากขอนแก่นเลี้ยงขวา เพื่อไป จ.หนองคาย หรือ จ.สกลนคร รถทุกคันจะแย่งกันขึ้นทางยกระดับ ที่ห่างจากสี่แยกเพียง 30 ม. จะเกิดปัญหาการจราจร และอุบัติเหตุ ไม่นับการเผาผลาญน้ำมัน สร้างมลพิษควันและเสียง ในช่วงการเร่งเครื่องยนต์วิ่งขึ้น

“ ล่าสุดกรมทางหลวงมีหนังสือแจ้งว่า พร้อมจะออกแบบให้ใหม่ ในรูปแบบที่ รฟท.จะยกระดับรถไฟทางคู่ และความเร็วสูง ข้ามทางพาดรถไฟจุดนี้ พร้อมส่งแบบร่างมาให้ด้วย ซึ่งรถทุกคันทุกประเภท ก็จะวิ่งลอดใต้ทางรถไฟไป หลายเดือนที่ผ่านมา สภา อบจ.อุดรฯ มีมติเต็มสภาฯให้ รฟท.ทบทวนรูปแบบ ผมกับกลุ่มเพื่อนชาวอุดรฯ ได้ยื่นเรื่องผ่านประธานรัฐสภา ให้ กมธ.การคมนาคม ติดตามเรื่องนี้แต่ก็ไม่มีการประชุม โดยประธาน กมธ.ตอบความเห็นของ รฟท.มาว่าไม่ทบทวน จึงขอเสนอให้ กรอ.อุดรฯขอเข้าพบ รมว.คมนาคม หากท่านฯยังยืนยัน ก็จะขอความยุติธรรมจากศาลปกครอง ”

(ผ้าพื้นเมืองย้อมคราม) นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย รองประธานหอการค้าไทย อดีตประธานหอการค้า จ.อุดรธานี กล่าวว่า เรื่องนี้มีการคุยในที่ประชุมคณะทำงาน เขาให้เห็นผลว่าเป็นโครงการหลัก มีแผนการดำเนินโครงการแล้ว ว่าจะต้องเร่งรัดให้เชื่อมทางรถไฟกับ สปป.ลาว หากมีการทบทวนรูปแบบ จะทำให้แผนงานล่าช้าออกไป ส่วนตัวก็เห็นเหมือนภาคเอกชนอุดรธานี ถ้าจะทบทวนรูปแบบแล้วล่าช้าก็ต้องทบทวน โดยให้แจ้งผลการประชุม กรอ.วันนี้ไปตามขั้นตอนอีกครั้ง

(เสื้อคอจีนสีดำ) นายวันชัย จันทร์พร รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวสรุปว่า ตามความเห็นของภาคเอกชน และคณะกรรมการฯไม่มีความเห็นอื่น ถือเป็นมติของ กรอ.อุดรธานี ที่ต้องการ รฟท.ทบทวนรูปแบบทางรถไฟ บริเวณจุดตัดทางหลวง 216 ให้เป็นรูปแบบทางยกระดับ ทั้งรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง ข้ามทางพาดรถไฟดังกล่าว เพื่อส่งเรื่องไปยังผู้รับผิดชอบตามขั้นตอน

ผู้สื่อข่าวร่ายงานเพิ่มเติมว่า นายนิรุฒ มณีพันธุ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย มีหนังสือถึง ผวจ.อุดรธานี ยืนยันจะทำตามแบบเดิม เพราะต้องให้บริการขนส่งปูนซิเมนต์ของ บ.ทีพีไอ.จก.(มหาชน) การขอให้ยกระดับทางรถไฟก่อนเข้าเมือง จะมีผลกับการบริการผู้โดยสาร และขนส่งสินค้า ซึ่งการก่อสร้างทางรถไฟลดระดับ จะต้องออกแบบการส่งปูนฯ และสถานีรถไฟหนองขอนกว้างใหม่ ต้องใช้งบประมาณกว่า 2,000 ล้านบาท อีกทั้งกรมทางหลวงได้ออกแบบทางข้ามแล้ว และ รฟท.ได้เสนอขออนุมัติโครงการต่อกระทรวงคมนาคมแล้ว หากทบทวนจะกระทบการแผนงาน…

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments