วันจันทร์, กันยายน 9, 2024
Google search engine
หน้าแรกท่องเที่ยวสวล.9สร้างเครือข่ายเฝ้าคำชะโนด-ทะเลบัวแดง

สวล.9สร้างเครือข่ายเฝ้าคำชะโนด-ทะเลบัวแดง

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 20 สิงหาคม 2563 ที่ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร 17 มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผวจ.อุดรธานี เป็นประธานเปิดการประชุมฝึกอบรม เครือข่ายรักษ์สิ่งแวดล้อม รักษ์ทะเลบัวแดงและคำชะโนด มีนายสายัณห์ หมีแก้ว ผอ.ส่วนควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อม สนง.สิ่งแวดล้อม ภาค 9 กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ โดยมีเครือข่ายประชาชนในพื้นที่ จาก “หนองหานกุมภวาปี” และ “คำชะโนด” เข้าร่วมฝึกอบรม 200 คน

นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผวจ.อุดรธานี กล่าวว่า ตอบรับมาเปิดงานนี้ทันทีที่เห็นหัวข้อ เพราะทั้งหนองหานกุมภวาปี หรือทะเลบัวแดง กับวังนาคินทร์คำชะโนด เป็นสถานที่มีชื่อเสียง และมีความสำคัญมากทางเศรษฐกิจ เพราะทุกปีจะมีนักท่องเที่ยว ผู้แสวงบุญเดินทางมาจำนวนมาก สร้างงานสร้างรายได้ให้ชุมชน เพราะไม่อยากเห็นชาวบ้านก้มหน้าก้มตา หาแต่ผลประโยชน์จากสถานที่เท่านั้น แต่อยากเห็นการออกมาร่วมกัน ดูแลรักษาปกป้องปัญหาสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดความยั่งยืนตลอดไป

“ ผมไปรับฟังปัญหาในพื้นที่ แล้วไปหางบประมาณมาช่วย ตัวอย่างที่ทะเลบัวแดง รับรู้ว่าอยากได้ถนนลาดยางรอบ ก็ได้ไปของบได้มากว่า 50 ล้านบาท ก่อสร้างได้ครบทั้งหมดในงบปี 64 ขณะที่คำชะโนดปัญหาการตื้นเขินหนองน้ำ ได้สร้างประตูควบคุมน้ำ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ และมีแผนจะขุดลอกหนองเมือง (ตะวันออกคำชะโนด) คนในพื้นที่จะต้องช่วยกันดูแล ไม่ใช่แค่น้ำเสียเท่านั้น แต่รวมถึงการทำให้บ้านเมืองสะอาด ถนนทุกเส้นทางเข้าสู่พื้นที จะต้องสวยงามประทับใจ อาจจะมีชื่อด้วยอาทิ นาคาโรด และโลตัสโรด ”

ขณะที่ปฏิบัติการณ์สร้างเครือข่ายรักษ์สิ่งแวดล้อม ได้นำเสนอข้อมูลทางวิชาการของ “ทะเลบัวแดง” ในแง่มุมทางวิชาการ ผลงานวิจัย “หนองหานกุมภวาปี” โดยนายสันติภาพ ศิริวัฒนไพบูลย์ ภาควิชาสิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มรภ.อุดรธานี เรื่องผลการศึกษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมและปัจจัยที่มีผลกระทบสิ่งแวดล้อมทะเลบัวแดง และคำชะโนด ระบุว่า “หนองหานกุมภวาปี” ขึ้นทะเบียนเป็นพื้นที่ชุมน้ำระดับชาติ มีมติ ครม.คุ้มครองด้วยข้อปฏิบัติ 17 ข้อ

อ.สันติภาพฯ ระบุด้วยว่า งานวิจัยฯทำให้ปี 2547 รายงานมีพื้น 29,000 ไร่เศษ มีลำห้วย 11 สายไหลลง พบนกร้อยกว่าชนิด ที่ถือว่ามีเป็นแหล่งนกมากสุดในอีสาน , พบสายพันธุ์ปลาและสิ่งมีชีวิตสำคัญ ถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิตหายาก , พบพืชน้ำที่มีความหลากหลายนานาชนิด และอื่นๆ ซึ่งศักยภาพที่พบ สามารถประกาศให้หนองหานกุมภวาปี เป็นพื้นที่ชุมน้ำระดับนานาชาติได้ แต่ก็ยังเป็นข้อถกเถียงกันอยู่

นายโนรี ตะถา หน.หน่วยห้ามล่าทะเลบัวแดง บรรยายเรื่องแนวทางการอนุรักษ์และพัฒนาพื้นที่ทะเลบัวแดง ว่า เขตพื้นที่ห้ามล่าหนองหานกุมภวาปี เกิดจากจากวิจัยของ อ.สันติภาพฯ ที่ต้องปฏิบัติตามมติ ครม. 17 ข้อ และเมื่อมีการตั้งหน่วยในพื้นที่ ได้ทำการรังวัดพื้นที่มีอยู่ราว 24,000 ไร่ ในการสำรวจนกประจำถิ่น และนกอพยพเพิ่มขึ้นเป็น 204 ชนิด และยังพบนกที่หายากใกล้สูญพันธ์ด้วย ขณะที่รอบๆหนองหานกุมภวาปี ยังมีศักยภาพรับนักท่องเที่ยว อาทิ ตำนานรักผาแดง-นางไอ่ , โบราณสถาน , วิถีชีวิต และอื่นๆ…

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments