วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมทางแยก3ระดับอุดร-หนองคายเสร็จ พ.ย.นี้

ทางแยก3ระดับอุดร-หนองคายเสร็จ พ.ย.นี้

ยืนยันทางแยกอุดรธานี-หนองคาย 3 ระดับสร้างพร้อมกันแห่งแรกในอีสาน มูลค่า 1,048 ล้านบาท เสร็จตามสัญญาเปิดใช้งานได้ใน พ.ย.นี้

เมื่อเวลา 09.09 น. วันที่ 21 กันยายน ที่โครงการก่อสร้างทางแยกต่างระดับ จุดตัดทางหลวงหมายเลข 2 กับถนนวงแหวนรอบเมืองอุดรธานี (ด้านเหนือ) หรือ 4 แยกบายพาสอุดรธานี-หนองคาย อ.เมือง จ.อุดรธานี นายจรัล ดำรงรัตน์ ประธานในเครือ บ.กำแพงเพชรวิวัฒน์ก่อสร้าง จก. ผู้รับจ้างฯ พร้อมคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนงาน สํานักก่อสร้างสะพาน กรมทางหลวง ประกอบพิธีทางศาสนา “เทคอนกรีตมงคล” จุดเชื่อมสุดท้ายโอเวอร์พาต พร้อมตรวจความเรียบร้อย ให้คำยืนยันพร้อมเปิดใช้ในงานภายใน พ.ย.นี้

นายจรัล ดำรงรัตน์ ประธาน บ.นภาก่อสร้าง เปิดเผยว่า โครงการเริ่มมาตั้งแต่ เม.ย. 2560 งบประมาณ 1,048 ล้านบาท เป็นงบผูกพันปี 60-62 ระยะเวลาก่อสร้าง 900 วัน สิ้นสุดสัญญา 30 ก.ย.2562 และได้รับการขยายสัญญาไปอีก 84 วัน ชดเชยการย้ายสิ่งสาธารณูปโภคล่าช้า ให้สิ้นสุด 24 พ.ย. 2562 นี้ คาดว่าจะแล้วเสร็จตามสัญญาแน่นอน รู้สึกยินดีกับชาวอุดรธานี และจังหวัดใกล้เคียง ที่จะมีจุดเชื่อมโยงการคมนาคมสะดวกปลอดภัย เป็นเส้นทางสำคัญของภูมิภาคนี้

“ โครงการฯนี้ก่อสร้างด้วยความยากลำบากมาก เพราะเป็นแบบพิเศษมีก่อสร้างพร้อมกัน 3 ระดับ ทั้งใต้ดิน ผิวการจราจรปกติ และสะพานข้ามแยกที่เป็นทางโค้ง ถือเป็นแห่งแรกของภาคอีสาน เราก่อสร้างงานประเภทนี้มาทั่วประเทศ งานนี้เป็นงานที่ท้าทายของเรามาก แต่เราก็ได้ร่วมแรงร่วมใจกันก่อสร้างจนลุล่วงไปด้วยดี โดยไม่ได้คิดว่าจะมีกำไรหรือขาดทุนมากน้อยแค่ไหน เพราะอยากให้เสร็จทันตามสัญญา และเกิดประโยชน์กับพี่น้องประชาชนให้มากที่สุด ”

นายสุเทพ บุณตะโก นายช่างควบคุมโครงการฯ กรมทางหลวง เปิดเผยว่า การก่อสร้างเสร็จไปแล้ว 92 เปอร์เซ็นต์ ช้ากว่าเป้าหมายเล็กน้อย การขยายสัญญา 84 วัน เป็นเรื่องของการย้ายสาธารณูปโภคที่ล่าช้า อย่างตอนนี้เราก็รอให้การไฟฟ้าฯ เข้ามาดำเนินการย้ายไฟแรงสูงบริเวณสะพานลอยหน้าหมู่บ้านเทพปราณี หรือฝั่งขาออก ทน.อุดรธานี และสะพานลอยหน้า สนง.ประกันสังคม

“ ระบบไฟฟ้า ไฟส่องสว่าง สัญญาณไฟจราจร ระบบระบายน้ำ ระบบระบายอากาศในอุโมงค์ การติดตั้งเรียบร้อยดี เหลือเพียงการทดสอบระบบทั้งหมดพร้อมกัน เช่น เครื่องสูบน้ำในอุโมงค์ 4 เครื่อง ขนาด 300 คิวต่อเครื่องต่อชั่วโมง ซึ่งมีการต่อท่อสูบส่งน้ำไปลงที่ลำห้วยหมากแข้ง และเครื่องระบายอากาศในอุโมงค์ 8 ตัว พร้อมเซ็นเซอร์ ทั้งหมดนี้จะมีห้องควบคุมอยู่บริเวณ 4 แยก ฝั่งขาเข้า ทน.อุดรธานี ซึ่งก็ต้องรอให้ทุกอย่างพร้อมทั้งหมดจึงจะเริ่มทดสอบได้ ”

นายสุเทพ บุณตะโก ตอบข้อซักถามว่า การก่อสร้างได้แก้ไขปรับปรุง ในการนำเอาเอกลักษณ์ท้องถิ่น เข้ามาตกแต่งเพิ่มเติมในบางส่วน อาทิ ผนังอุโมงค์ทั้ง 2 ด้าน จะตกแต่งด้วยศิลปะลายผ้าหมี่ขิด เป็นลาย “ขันหมากเบ็ง” ทำการติดตั้งไปแล้ว จากนั้นก็จะเป็นศิลปะนูนต่ำไหบ้านเชียง ไปประดับไว้ที่เสาโอเวอร์พาต ส่วนปติมากรรม 2 ด้าน ปากอุโมงค์ 2 ด้าน ที่อุดรธานีเสนอรูปแบบเป็น “ท้าวเวสสุวัณ” หรือ “ไหบ้านเชียง” รูปแบบยังไม่สรุป การก่อสร้างจึงใช้รูปแบบเดิมไปก่อน เป็นปติมากรรมไหบ้านเชียง ที่ใช้โลหะในการถักทอ….

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments