วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมผู้ว่าฯประชุมด่วนรับมือคำเตือนฝนหนัก

ผู้ว่าฯประชุมด่วนรับมือคำเตือนฝนหนัก

เมื่อเวลา 16.00 น.วันที่ 20 พฤษภาคม 2565 นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เรียกประชุมด่วนหลังจาก มีประกาศเตือนน้ำท่วมฉับพลัน ในพื้นที่ จ.อุดรธานี เป็น 1 ใน 34 จว. เป็นพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม ในช่วง 20-25 พ.ค.นี้ ตามประกาศเตือนกรมอุตุนิยมวิทยา โดยมีนายวันชัย จันทร์พร , นายนิติพัฒน์ ลีลาเลิศแล้ว รอง ผวจ.อุดรธานี นำป้องกันบรรเทาสาธารณภัย จ.อุดรธานี ชลประทาน จ.อุดรธานี , หน่วยงานที่เกี่ยงข้อง  และองค์กรปกครองท้องถิ่น เข้าร่วมหารือเพื่อรับมือ

นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวว่า ปีนี้คาดหมายว่าจะมีฝนตกหนัก มากกว่าปี่ที่ผ่านมาพอสมควร ซึ่งคำว่าฝนตกหนักไม่เหมือนเดิม มีการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ อาจจะมีฝนตกหนักมาก ๆ ลักษณะตกลงที่ที่จุดเดียวไม่ไปไหน ปริมาณน้ำฝนมากกว่า 200-300 มม. ทำให้น้ำท่วมสูงมากกว่า 2 ม. เหมือนที่ตนเคยรับราชการที จ.สมุทรสาคร ทำให้เราต้องเตรียมพร้อมรับมือ กับปริมาณน้ำฝนมากแบบผิดปกติ จึงเชิญทุกฝ่ายมาร่วมประชุม เพื่อรายงานความพร้อม ปัญหา อุปสรรค ให้หน่วยงานรับผิดชอบรับรู้ หรือแลกเปลี่ยนนำไปแก้ไข

ผวจ.อุดรธานี กล่าวว่า ขอให้ อปท.ทุกแห่ง จัดทำแผนป้องกันแก้ไขปัญหา และติดตามสถานการณ์ 24 ชม. เพื่อเข้าแก้ไขได้ทันที หากมีอุปสรรคให้รายงานจังหวัด ในฐานะผู้ว่าฯเป็น ผอ.ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย พร้อมใช้อำนาจออกคำสั่งขุดทำลาย พื้นที่ปิดกั้นทางน้ำไหล ที่เป็นสาเหตุทำให้น้ำท่วมขัง ขอให้เฝ้าติดตามพื้นที่มีปัญหา เตรียมเครื่องจักรเข้าทำงานทันที โดยเฉพาะในเขตเมืองจะให้ท่วมไม่ได้ เพราะเรามีงานใหญ่ที่จะต้องจัด จะทำให้คนขาดความเชื่อมั่นไม่ได้

ชลประทาน จ.อุดรธานี (ใหม่) รายงานว่า ฝนที่ตกลงมาในต้นฤดูมากกว่าปกติ อ่างฯส่วนใหญ่ยังรับน้ำได้อีกมาก มีเพียงบางแห่งต้องระบายน้ำออก อาทิ อ่างฯบ้านจั่นช่วงฝนตก มีปริมาณน้ำถึง 80 %  ได้เปิดประตูระบายออกจนเหลือ 60 % เช่นเดียวกับประตูระบายน้ำสามพร้าว ได้เปิดประตูระบายน้ำผ่านวันละ 1 ล้าน ลบม. ในลักษณะให้ประตูน้ำสามพร้าว บริหารจัดการน้ำในลำห้วยหลวง ให้น้ำไหลผ่านในปริมาณพอดี ให้มีน้ำในลำห้วย และไม่มากจนเสี่ยงน้ำหนุนเข้าเมือง

นายธนาดร พุทธรักษ์ นายก ทน.อุดรธานี สรุปว่า ได้ตรวจติดตามแนวป้องกันน้ำจากภายนอก ไม่ให้ไหลเข้ามาในเมืองทุกทาง มีการขุดลอกทางระบายน้ำแล้ว ทั้งภายนอกและภายใน รวมไปถึงเช็คความพร้อมสถานีสูบน้ำทุกจุด พบมีปัญหาอยู่ในส่วนประสิทธิภาพเครื่อง ที่ลดลงมาเนื่องจากใช้งานมานาน และจะมีปัญหาหากไฟฟ้าดับ ขอรับการสนับสนุนเครื่องปั่นไฟจาก กฟภ.ไว้ด้วย  ใน ทน.อุดรธานี มีพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม 8 จุด หากมีปริมาณน้ำฝนตกหนักต่อเนื่อง คือ ถนนศรีชมชื่น , ถนนพรหมประกาย , ถนนนิตโย , ถนนพิบูลย์ , ถนนโพศรี , ซอยมิตรประชา , ซอยหนองเหล็ก และวัดโพธิวราราม ได้เตรียมความพร้อมระบายน้ำเพิ่ม โดยขอรับการสนับสนุนเครื่องสูบน้ำจาก อบจ.อุดรธานี และ ปภ.มาสแตนบายเพิ่ม

นายจันทบาล อายุวัฒน์ นายก ทม.หนองสำโรง รายงานว่า น้ำท่วมในพื้นที่เกิดขึ้นได้ในกรณี ฝนที่ตกลงมาอย่างหนักต่อเนื่อง ต้องใช้เวลาระบายน้ำออก แต่ที่มีปัญหาคือน้ำที่ระบาย หรือสูบออกจาก ทน.อุดรธานี หนักเบาอยู่ที่ปริมาณน้ำระบายออกมา ไม่สามารถไหลลงลำห้วยดานได้สะดวก จากพื้นที่รับน้ำหายไปจากเมืองเติบโต และทางระบายน้ำถูกบุกรุกจนคับแคบ บางจุดท่อระบายน้ำของเอกชนเล็ก ไม่เพียงพอกับการระบาย

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ที่ประชุมยังไม่มีการพูดถึง การบริหารจัดการน้ำในนครอุดรธานี ในภาวะมีประกาศเตือนฝนตกหนัก ต้องบริหารจัดการแก้มลิงธรรมชาติ ประกอบด้วย การพร่องน้ำในพื้นที่ บน.23 ด้วยการระบายน้ำออกก่อนฝนตก และชะลอระบายน้ำช่วงฝนตก และการเร่งระบายน้ำออกจากห้วยหม ากแข้ง เพื่อเป็นที่รองรับฝนที่จะตกลงมา  และพื้นที่สำคัญที่เคยเกิดน้ำท่วม อาทิ ลำห้วยขุ่นไหลล้นตลิ่งเข้าท่วม ถ.มิตรภาพ ในเขต ทต.บ้านจั่น ก่อนเข้าตัวเมืองอุดรธานี , น้ำในลำห้วยรินไหลล้น ถ.อุดรธานี-หนองบัวลำภู ก่อนถึงบ้านปากดง ต.นิคมสงเคราะห์ หรือน้ำลำห้วยหลวง และลำห้วยโซ่ ไหลล้นตลิ่งที่บ้านท่าตูม ต.กุดสระ อ.เมือง….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments