วันอังคาร, ธันวาคม 3, 2024
Google search engine
หน้าแรกการเมือง“เปรมชัย”บอก“นายก”แบงค์หนุนเหมืองโพแทช

“เปรมชัย”บอก“นายก”แบงค์หนุนเหมืองโพแทช

นายกฯลงดูพื้นที่จุดสร้าง “ปากอุโมงค์” เหมือนโพแทชใต้ดิน “เปรมชัย” นำทีมอิตาเลียนไทยมาเอง ยืนยันมีสถาบันการเงินในประเทศ ให้การสนับสนุนเงินทุน ขณะกลุ่มต้านก็มาแสดงจุดยืน คุยนายกฯขอให้หยุดไว้ก่อน อยากให้ไปดูผลกระทบ จากเหมืองโพแทชที่ อ.บำเหน็จณรงค์ และ อ.ด่านขุนทด

เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2567 นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง พร้อมคณะ เดินทางตรวจติดตามแผนงานมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม โครงการเหมืองแร่โพแทช ของ บ.เอเชีย แปรซิกฟิก โปแตซ คอร์เปอร์เรชั่น จก. (เอพีพีซี.) ในเครือ “อิตาเลี่ยนไทย” บริเวณพื้นที่จะสร้างอุโมงค์ลงเหมืองใต้ดิน บ.หนองต ะไก้ ต.หนองไผ่ อ.เมือง จ.อุดรธานี มีนายณัฐพล รังสิตพล ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นายอดิทัต วะสินนท์ อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ นายวันชัย คงเกษม ผวจ.อุดรธานี นำภาคเอกชน องค์กรปกครองท้องถิ่น และภาคประชาชนให้การต้อนรับ

ขณะเดียวกันมีกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จ.อุดรธานี นำโดยนางมณี บุญรอด อายุ 76 ปี ที่ต่อต้านเหมืองมากว่า 25 ปีแล้ว นำสมาชิกมาปักหลักชูป้าย และปราศรัยต่อต้านเหมืองบริเวณทางเข้า ซึ่งเป็นจุดตั้งด่านคัดกรองผู้เข้าไปในพื้นที่ โดยขอเข้าไปยื่นหนังสือร้องเรียน กับนายกรัฐมนตรีด้วยตัวเอง เจ้าหน้าที่ขอให้จัดตัวแทนเข้าไปยื่น 10 คน ด้วยผ่านการตรวจคัดกรอง และจัดรถตู้โดยสารนำเข้าพื้นที่ ห่างจากประตูทางเข้าประมาณ 1 กม.

นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บ.เครืออิตาเลี่ยนไทย ที่เดินทางมาต้อนรับนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ด้วยตนเอง ได้ให้นายวรวุฒิ หิรัญย์ไพศาลสกุล ผู้จัดการใหญ่ บ.เอพีพีซี.จก. ผู้ได้รับประทานบัตร รายงานความก้าวหน้าการนำแร่โพแทช ที่มีปริมาณและคุณภาพดีที่สุดของประเทศ เป็นหนึ่งในธาตุอาหารสำคัญของปุ๋ย สามารถลดการนำเข้า และส่งออกนำรายได้เข้าประเทศ มีเป้าหมายร่วมกับทุกภาคส่วน ให้สามารถนำแร่ขึ้นมาใช้ได้โดยเร็ว

“ โครงการนี้เริ่มในปี 2527 บริษัทได้ทำสัญญากับรัฐบาลไทย สำรวจและดำเนินการตามขั้นตอนขอประทานบัตร รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังถือหุ้น 10% เดิมมีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็นต่างชาติจากแคนาดา ต่อมาปี 2549 บ.อิตาเลียนไทยฯ ได้ซื้อหุ้นจากต่างชาติทั้งหมด เข้ามาเป็นบริษัทของคนไทย และได้ดำเนินการตามขั้นตอนการขอประทานบัตร จนได้รับประทานบัตร 4 แปลง (โครงการอุดรใต้) เมื่อเดือนตุลาคม 2565

นายวรวุฒิ หิรัญย์ไพศาลสกุล ผู้จัดการใหญ่ บ.เอพีพีซี.จก. ได้รายงานถึงแผนงานอยู่ระหว่าง การสำรวจออกแบบและปรับพื้นที่ กำหนดให้บริเวณนี้เป็นการเริ่มต้น “อุโมงค์” จะเจาะเป็นทางลาด 13 องศา ลงไปจนถึงระดับความลึก 350 เมตร ในปี 2566-2567 อยู่ในขั้นตอนการเตรียมการ นำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ ตามมาตรการเหมืองแร่สีเขียว ที่ไม่มีผลกระทบต่อ สิ่งแวดล้อม ตามมาตรการ EIA ทุกขั้นตอน การสร้างอุโมงค์ , การทำเหมือนเว้นระยะเป็นเสาค้ำยัน , การกองกากแร่ และอื่น ๆ

“ เอพีพีซี.ได้ขับเคลื่อนโครงการอย่างยังยืน เชื่อมโยงเศรษฐกิจฐานรากผ่านนโยบาย 4 มิติ คือ 1 ความสำเร็จทางธุรกิจ เมื่อผลิตได้ประเทศไทยจะมีบทบาทในฐานะผู้ผลิตรายใหญ่อันดับ 6 ของโลก , 2.การดูแลสังคมโดยรอบเหมืองแร่โพแทช , 3.การรักษาสิ่งแวดล้อม มีมาตรการป้องกันสิ่งแวดล้อมจากข้อห่วงใยของประชาชน และ 4.การกระจายรายได้สู่ชุมชน และอยู่ร่วมกับชุมชนอย่างยั่งยืน ”

ผู้จัดการใหญ่ บ.เอพีพีซี.จก. กล่าวต่อว่า นอกจากการจ้างงานตรงในพื้นที่ ยังจัดตั้งกองทุนให้กับประชาชนโดยตรง เช่น ค่าทดแทน 1,200 ล้านบาท , เงินช่วยเหลือครัวเรือนในเขตประทานบัตร 1,040 ล้านบาท , ทุนการศึกษา 60 ล้านบาท , กองทุนช่วยเหลือค่าปุ๋ย 100 ล้านบาท , กองทุนเฝ้าระวังสุขภาพ 100 ล้านบาท , กองทุนสวัสดิการชุมชน 200 ล้านบาท กองทุนพัฒนาหมู่บ้านรอบเหมือง 300 ล้านบาท

การกระจายรายได้ในรูปภาษีและค่าภาคหลวง เป็นภาษีเงินได้นิติบุคคล 37,481 ล้านบาท เงินปันผลจากหุ้นของรัฐบาล 10 % 10,494 ล้านบาท ค่าภาคหลวง ส่วนกลาง 40 % 11,419.2 ล้านบาท และค่าภาคหลวงของท้องถิ่น 60 % 17,128.8 ล้านบาท อบจ.อุดรธานี 20 % 5,709.6 ล้านบาท , ท้องถิ่นในเขตประทานบัตร 6 แห่ง 20 % 5,709.6 ล้านบาท, ท้องถิ่นอื่นในจังหวัด 10 % 2,854.8 ล้านบาท และท้องถิ่นอื่นทั่วประเทศ 10 % 2,584.8 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาสัมปทาน 25 ปี

ช่วงท้ายนายเศรษฐาฯ นายกรัฐมนตรี สอบถามถึงเรื่อง “เงินทุน” บอกว่าเพื่อสร้างความมั่นใจในโครงการนี้ หลังจากฟังคำชี้แจงเบื้องต้น นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บ.เครืออิตาเลี่ยนไทย ได้ลุกจากเก้าอี้มายืนยันด้วยตนเอง ว่าการเจรจากับสถานการเงิน และได้รับการยืนยันจาก(ธนาคารกรุงเทพฯ) สถาบันการเงินในประเทศแล้ว

จากนั้นนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ไปพบกับนางมณี บุญรอด แกนนำกลุ่มอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จ.อุดรธานี พร้อมคณะ ซึ่งนางมณี กล่าวก่อนยื่นหนังสือว่า ชาวบ้านต่อสู้มา 25 ปี ไม่เคยมีนายกรัฐมนตรีลงมาพื้นที่ จะมาเล่าให้นายกฯฟังว่าเป็นยังไง ชาวบ้านได้รับผลกระทบแผ่นดินก็จะทรุดบ้านก็พัง เพราะมาขุดใต้บ้านของเรา และจะมีปัญหาตามมาอีก ตนก็เลยอยากให้นายกฯ ยกเลิกเรื่องละเมิดสิทธิชุมชนให้ทำใหม่ และเรื่อง EIA ชาวบ้านไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ก็อยากให้นายกฯ บอกบริษัทฯให้ยกเลิกไปก่อน แล้วให้ทำตาม พรบ.เหมืองแร่ปี 2560 นายกฯเป็นนักธุรกิจใหญ่ ถ้าจะทำเหมืองแร่ก็อยากให้นายกฯ ไปดูที่ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ และ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ที่ลงมือทำมาแล้วมีผลกระทบอย่างไรบาง ส่วน จ.อุดรธานีก็อยากให้นายกฯ ยกเลิกไปก่อน

แม่มณี เปิดเผยอีกว่า ดีใจนิดหน่อยไม่ดีใจมากเท่าไหร่ เพราะนายกฯ มีเวลาน้อย ไม่อยากรับคำพูดของประชาชนมากเกินไป หลังจากนี้เรายังจะสู้ต่อไป ซึ่งหนังสือที่ยื่นไปให้นายกฯ มีรายละเอียดทั้งหมด ถ้านายกฯ ได้อ่านก็จะรู้รายละเอียดของโครงการเหมืองแร่โพแทช ถ้าทำตามที่ประชาชนเรียกร้องก็ดี แต่ถ้าไม่ทำตามก็จะด่านายกฯอีก ซึ่งตนก็ยังไม่คิดว่านายกฯ จะฟังเสียงของประชาชน และทำตามคำเรียกร้อง ขอให้ยกเลิกของ จ.อุดรธานีไปก่อน หรือว่าหยุดทำก่อน แล้วไปดูที่ อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ และ อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา โดยตอนนี้กลุ่มคัดค้านยื่นต่อศาลปกครอง เรื่องก็ยังอยู่ในขั้นตอนของศาล และขอเลื่อนการตัดสินออกไปในเดือนมีนาคมนี้….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments