วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมชื่นชม“ภูพระบาท”จัดการได้ดีทันสมัย

ชื่นชม“ภูพระบาท”จัดการได้ดีทันสมัย

2 อดีตปลัดกระทรวง นำคณะ คตป.ตรวจประเมิน “ภูพระบาท” ช่วงทำข้อมูลเสนอเป็นมรดกโลก และเตรียมเปิดศูนย์บริการ นทท.ใหม่ 15 ล้าน เอ่ยปากชื่นชมจัดการได้ดีทันสมัย รับนักท่องเที่ยวคนรุ่นใหม่ ขณะอดีตอธิบดีกรมศิลป์ เล่าเมื่อครั้งเป็นนักศึกษา เป็นคณะแรกที่มาพบ “ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์”ที่นี่

เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 ที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี คณะกรรมการตรวจสอบการประเมินผล (คตป.) ประจำกระทรวงวัฒนธรรม นำโดยนายพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย , นางปริศนา พงษ์ทัดศิริกุล อดีตปลัดกระทรวงวัฒนธรรม , นายสหวัฒน์ แน่นหนา อดีตอธิบดีกรมศิลปากร , นายพีระศักย จันทวรินทร์ อดีตเอกอัครราชทูตประจำกระทรวง และคณะ มาตรวจประเมินผล ประเด็นการพัฒนาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน ขณะที่เป็นช่วงเดียวกับการเตรียมข้อมูล เสนอให้ภูพระบาทเป็นมรดกโลก

โดยมีนายธีทัต พิมพา วัฒนธรรม จ.อุดรธานี และนายมนตรี ธนภัทรพรชัย หน.อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท นำคณะเข้าเยี่ยมชมโบราณสถาน ที่มีการดัดแปลงเพิกผาหินทราย ให้เป็นศาสนสถาน ประดิษฐานพระพุทธรูป ลายล้อมด้วยใบเสมา เป็นกลุ่มกระจายอยู่ทั่วภูพระบาท โดยนั่งรถไฟฟ้าเข้าไปถึงหอนาอุษา ก่อนเดินชมพื้นที่โดยรอบ อาทิ ถ้ำช้าง , ถ้ำพระ , หีบศพพ่อตา-ท้าวบารส-นางอุษา , วัดพ่อตา , วัดลูกเขย และพื้นที่ใกล้เคียง ตลอดเส้นทางเดินถูกปรับแต่งให้สะดวก พร้อมป้ายอธิบายความเป็นมา รวมทั้งป้ายต้นไม้ตลอดทาง

จากนั้นกลับมาเข้าชมศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ที่ได้รับงบประมาณกว่า 15 ล้านบาท เป็นอาคารภายนอกโปร่งแสง-ทึบแสง เพื่อจัดแสดงนิทรรศการหลายรูปแบบ ตั้งแต่การใช้บอร์ด-วัตถุโบราณ-มีเดียทันสมัย เรียงลำดับจาก ด้านธรณีวิทยาเกิดเพิกผาหิน , ภาพเขียนสีเกิดจากมนุษย์ก่อนประวัติศาสตร์ , เพิงผาหินทรายที่ถูกดัดแปลงหลายยุค , พระพุทธรูปถูกสลักในหินทราย พระพุทธรูปหินทรายสมัยทวาราวดี-ลานช้าง และใบเสมารายล้อมเพิกผาหิน ที่กำลังจะถูกนำเสนอเป็น “มรดกโลก” เพราะไม่เคยพบที่ไหนมาก่อน ตลอดจนศาสนา-วัฒนธรรมต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

นายมนตรี ธนภัทรพรชัย หน.อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ชี้แจงว่า นักท่องเที่ยวลดลงตามสถานการณ์ ได้เน้นการตลาดใช้กลยุทธผ่านโซเซียน โดยศูนย์บริการนักท่องเที่ยวใหม่ กำลังจะเปิดอย่างเป็นทางการ จะทำให้มีผู้สนใจเดินทางมามากขึ้น เพราะนิทรรศการเป็นรูปแบบทันสมัย พร้อมกับสิ่งอำนวยความสะดวก โดยจะมีการเพิ่มเติมความเป็นท้องถิ่น และร้านกาแฟ เริ่มจากช่วงบางวัน หรือวันมีนัดหมายล่วงหน้า ขณะเรื่องระบบไฟฟ้า-น้ำประปา ที่ใช้มาหลายหลายสิบปี ได้รับงบประมาณมา 12 ล้าน อยู่ระหว่างการดำเนินการ ที่จะทำให้ “ภูพระบาท” มีศักยภาพมากขึ้น

นายธีทัต พิมพา วัฒนธรรม จ.อุดรธานี กล่าวว่า มีแผนจัดกิจกรรมที่ภูพระบาท หลังจากไม่ได้จัดมาพอสมควร โดยรื้อฟื้นกิจกรรมที่เคยทำ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องเป็น “ประเพณี” คือการสวดมนต์และปฏิบัติธรรม อยู่ภายในพื้นที่โบราณสถาน “ภูพระบาท” ที่มีหลักฐานทางโบราณคดี ว่าเป็นพื้นที่ประกอบพิธีกรรมมาในอดีต ขณะนี้อยู่ในระหว่างของบประมาณ และเตรียมความพร้อม

นายสหวัฒน์ แน่นหนา อดีตอธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า เมื่อปี 2515 ขณะยังเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัย ในภาคฤดูร้อนเคยมาเก็บข้อมูล ช่วงศึกษาการสร้างเขื่อนผามอง มาพักที่ อ.บ้านผือ นั่งรถมาที่พระพุทธบาทบัวบก เดินขึ้นมาบนภูพระบาท จนถึงหอนางอุษา ใช้เวลากว่า 1 ชม.เศษ ได้พบกับ “สหาย” ทำให้ได้ข้อมูลสำรวจพบ “ภาพเขียนสีก่อนประวัติศาสตร์” กระจัดกระจายคลอบคลุมทั้งภูพระบาท ตอนนั้นไม่ได้สนใจเรื่อง “ใบเสมา” ต่อมาได้มารับราชการ ท่านอธิบดีสุวิชย์ฯ ตอนเป็นรองอธิบดี มาที่ภูพระบาทจึงเริ่มงานจริงจัง

“ ท่านให้ผมมาติดตามสำรวจจริงจัง เราได้พบหลักฐานโบราณคดีมากมาย จนน่าจะพัฒนาเป็นอุทยานประวัติศาสตร์ได้ ความทราบถึงกรมสมเด็จพระเทพฯ ขณะเป็นอาจารย์สอนที่ จปร. นำนักศึกษามาศึกษาดูงานในพื้นที่จริง จึงเกิดเส้นทางใหม่เข้ามาหนองนางอุษา ช่วงนั้นยังเป็นถนนลูกรัง และเมื่ออุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท ทำการพัฒนาเพื่ออนุรักษ์จนแล้วเสร็จ ได้กราบบังคบทูลกรมสมเด็จพระเทพฯ มาเป็นองค์ประธานเปิดเมื่อ 26 มิ.ย.2535 หลังเกษียณอายุก็กลับมาที่นี่หลายครั้ง ดีใจว่ามีการพัฒนาไปไม่หยุด ของเชิญชวนให้มาเยือนภูพระบาท ”

นายพงศ์โพยม วาศภูติ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า ทุกกระทรวงฯจะมีคณะกรรมการตรวจสอบและประเมินผล ไม่ได้สังกัดกระทรวงฯ มาจากคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (กพร.) มาดูการพัฒนาของกระทรวงต่าง ๆ ไม่ได้มาตรวจเรื่องการเงิน แต่มาตรวจผลการดำเนินงาน ไปรายงานให้รัฐบาลผ่าน กพร.แล้วมีข้อเสนอแนะ ที่ภูพระบาทปีนี้มีแผนปรับปรุงไฟฟ้า-ประปา ที่ใช้งานมานานายสิบปีแล้ว และได้มาดูสภาพทั่ว ๆไป ก็รู้สึกชื่นชมดำเนินการไปได้ดี มีทั้งเรื่องความเก่าแก่ก่อนประวัติศาสตร์ และความทันสมัยที่นักท่องเที่ยวรุ่นใหม่ๆ ที่จะเดินทางเข้ามาสัมผัส….

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments