ผู้ว่าอุดรฯสั่ง 10 ข้อ ร่วมแก้ไขปัญหาหมอกควัน และ PM 2.5 หลังคาดการอาการหนาว เชื้อเพลิงมีมาก เอลนิโยเสริม ไฟป่าจะมากกว่าปีก่อน และแนวโน้มจะเริ่มรุนแรงหลังปีใหม่
เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2565 ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร ชั้น 3 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองขนาดเล็ก(PM2.5) จ.อุดรธานี ปี 2565-2566 มี นายนิติพัฒน์ ลีลาเลิศแล้ว รอง ผวจ.อุดรธานี นำหัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมประชุม และประชุมทางไกลกับศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ไฟป่า หมอกควันและฝุ่น และฝุ่นละอองขนาดเล็กทุกอำเภอ
ที่ประชุมได้รายงานสถานการณ์ หมอกควันและฝุ่น และอองขนาดเล็ก(PM2.5) ในพื้นที่ จ.อุดรธานี จะเกิดความรุ่นแรงในช่วงมกราคม-เมษายนของทุกปี จากต้นกำเนิดหมอกควันและฝุ่น เพิ่มขึ้นจากไฟไหม้ในพื้นที่ป่า ไหม้ในพื้นที่สาธารณะ และการเผาวัสดุการเกษตร หรือการเผาเพื่อเก็บผลผลิต ขณะเดียวกันมีปัจจัยจากของความกดอากาศต่ำ และกระแสลม ทำให้หมอกควันและฝุ่น ไม่กระจายตัวออกไปพื้นที่อื่น โดย จ.อุดรธานี ได้ออกประกาศ ห้ามเผาป่า ห้ามเผาในที่โล่ง และบทลงโทษ มีผล 1 ม.ค.-30 เม.ย.66
จากนั้นได้รายงานคาดการณ์ สภาพภูมิอากาศของอุดรธานี ว่าในปีนี้อุณหภูมิของอุดรธานี จะต่ำกว่าปีที่ผ่านมาเล็กน้อย บางพื้นที่อยู่ในระดับใกล้เคียง 10 องศาฯ ขณะที่ค่าเฉลี่ยตลอด 3 เดือน 18.7 องศาฯ โดยในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ 2566 อุณหภูมิจะสูงขึ้นเหนือค่าเฉลี่ย และในช่วงเดือนธันวาคม 2565 – กุมภาพันธุ์ 2566 อาจจะมีฝนฟ้าคะนองและลูกเห็บตก ประชาชนควรติดตามข่าว พยากรณ์อากาศอย่างใกล้ชิด
สำหรับการเผาพื้นที่การเกษตร ได้จัดกิจกรรมถ่ายทอดความรู้ , พัฒนาศักยภาพการเกษตร และส่งเสริมการรวมกลุ่มสร้างเครือข่ายเกษตรปลอดการเผา ในพื้นที่ อ.เมือง , บ้านดุง , กุมภวาปี , หนองหาน , วังสามหมอ , ศรีธาตุ และ อ,เพ็ญ ตลอดจนการจัดพื้นที่จุดสาธิต อ.หนองหาน การทำเวทีชุมชน 2 ครั้ง การสนับสนุนปัจจัยการผลิตส่งเสริมเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ กิจกรรม ไถกลบตอซัง , จัดเก็บฟางมาใช้ประโยชน์ และขณะนี้ประสานเอกชนรับซื้อใบอ้อยตันละ 700 บาท (ปีที่แล้ว 3 รง.รับซื้ออ้อย 5.97 ล้านตัน เป็นอ้อยไฟไหม้ 2.64 ล้านตัน)
ส่วนสถานการณ์ไฟป่า ปีนี้ในการตรวจติดตาม “จุดความร้อน” ผ่านทางดาวเทียม ยังไม่มีเกิดไฟป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ และพื้นที่ป่าสงวน พบการเกิดจุดความร้อนในพื้นที่เกตรกรรม และแม้ว่าในปีที่ผ่านมาจุดความร้อยละลดลงกว่า 48 % แต่จากคาดการณ์สภาพอากาศ การสำรวจปริมาณเชื่อเพลิง และสถานการณ์ของปรากฎกาลเอลนิโย โอกาสจะเกิดไฟป่าจะมีมากขึ้น จึงกำหนดแผนเตรียมการ-ปฏิบัติการ-ฟื้นฟู
และการถอดบทเรียน “ลดการเผา” ใน 5 หมู่บ้าน คือ ต.เสอเพลอ อ.กุมภวาปี , บ.นาเตย ต.โนนทอง อ.บ้านผือ , ต.กุดหมากไฟ อ.หนองวัวซอ , บ.คีรีวงกต ต.นาแค อ.นายูง และต.ทับกุง อ.หนองแสง ซึ่งแต่ละพื้นที่มีปัจจัยแตกต่างกัน อาทิ ค่าแรงงาน , ค่าเครื่องจักร , ผลตอบแทนที่ได้รับ และวิถีชีวิตและชุมชน จึงต้องมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงาน-ดึง อปท.เข้ามามีบทบาท และเสริมศักยภาพความร่วมมือ โดยจะขยายไปพื้นที่ใกล้เคียง
นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี มีข้อสั่งการ 10 หัวข้อ ประกอบด้วย
1.ให้อำเภอและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนเผชิญเหตุพื้นที่ เสี่ยง-ป่า-การเกษตร-ริมทาง-ชุมชน จัดเตรียมเครื่องมือ และกำลังพล ,
2.ให้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามในระดับพื้นที่ เฝ้าระวัง-ป้องปราม การลักลอบเผา ,
3.เน้นย้ำหน่วยงานมีอำนาจตามกฎหมาย การป้องกันไม่ให้เกิดมลพิษจากต้นทาง ,
4.ถ้าพบการเผาในพื้นที่การเกษตร ให้ประสานงานไปยังหน่วยงานกระทรวงเกษตรฯ ใช้กลไกรการรณรงค์ลดการเผา นำวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรมาใช้ประโยชน์ ,
5.ให้หน่วยงานทีเกี่ยวข้องสร้างการรับรู้ ถึงสถานการณ์ มาตรการ ข้อกฎหมาย ข้อมูลสุขภาพกระทรวงสาธารณสุข และผลของการปฏิบัติ ,
6.หากสถานการณ์ PM 2.5 สูงเกินมาตรฐาน ให้บูรณาการยกระดับการป้องกันแก้ไขปัญหา และบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ,
7.การปฏิบัติหน้าที่ในพื้นที่เสี่ยง ให้เน้นย้ำความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ อาสาสมัคร จัดหาอุปกรณ์ป้องกัน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ,
8. ให้เฝ้าระวังดูแลสุขภาพประชาชน กลุ่มเสี่ยง กลุ่มเปาะบาง อย่างใกล้ชิด ภายใต้มาตรการของสาธารณสุข ,
9.ให้อำเภอเลือกพื้นที่จัดกิจกรรมคิกออฟรณรงค์ลดการเผา ,
10.ให้ ปภ.อุดรธานี และเกี่ยวข้อง ติดตามสถานการณ์รายงานให้จังหวัดทราบต่อเนื่อง…