วันอังคาร, ธันวาคม 3, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมรง.ยางเครปหนองหาน ขอเดินเครื่องหาเงินปรับปรุงระบบ

รง.ยางเครปหนองหาน ขอเดินเครื่องหาเงินปรับปรุงระบบ

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 18 มีนาคม 2562 นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริง ปัญหาการร้องเรียน และให้ข้อเสนอแนะ โรงงานยางเครป บ.ปริ้นซ์ รับเบอร์ จก. บ.ป่าก้าว ม.12 ต.ผักตบ อ.หนองหาน จ.อุดรธานี พร้อมกับ ว่าที่ รต.รักชัย เลิศสุบิน นอภ.หนองหาน , นายชัชพงษ์ ศิริรักษ์ หน.กลุ่มโรงงานฯ สนง.อุตสาหกรรมอุดรธานี ผู้แทน สนง.สิ่งแวดล้อมภาค 9 , สนง.ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมอุดรธานี , นายก ทต.ผักตบ , ตัวแทนชาวบ้าน โดยมีนางปรินดา สุวรรณสว่าง เจ้าของโรงงาน เข้าร่วมประชุมและนำตรวจพื้นที่ ขณะที่มีชาวบ้านบางส่วนชุมนุมรอนอกโรงงาน

นายชัชพงษ์ ศิริรักษ์ หน.กลุ่มโรงงานฯ สนง.อุตสาหกรรม จ.อุดรธานี กล่าวว่า เมื่อ 8 ม.ค. 62 ชาวบ้านได้รวมตัวร้องเรียนโรงงานฯ ลักลอบปล่อยน้ำเสียลง “ลำห้วยยาง” จนเน่าเสียส่งกลิ่นเหม็น เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบ พบระบบบำบัดน้ำเสียมีปัญหา , วัตถุดิบกองบนลานคอนกรีตเปิดโล่งส่งกลิ่นเหม็น , มีการต่อท่อขนาด พีวีซี 4 นิ้ว จากบ่อบำบัดน้ำเสียออกนอกโรงงาน จึงมีคำสั่งตาม ม.37 ให้โรงงานจัดการกองวัตถุดิบ , ระบบบำบัดน้ำเสีย ไม่ให้ออกสู่พื้นที่ภายนอก ตลอดจนรื้อถอนท่อขนาด พีวีซี.

“ การเก็บตัวอย่างน้ำที่บำบัดแล้ว และในลำห้วยยางนอกโรงงาน ส่งศูนย์วิจัยและเตือนภัยมลพิษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าเกินกว่ากำหนดมาฐานน้ำทิ้ง จึงขอความร่วมมือโรงงาน งดรับวัตถุดิบยางก้อนถ้วย และขนยางเครปออกจากโรงงาน ทำให้โรงงานไม่มีการผลิต ไม่รับซื้อวัตถุดิบเพิ่ม ไม่มีกองยางเครป และรื้อถอนท่อ พีวีซี.ออก หลังจากทางราชการขอความร่วมมือ หลังปรับปรุงโรงงานได้นำระบบกรองน้ำ มาเพิ่มเติมจากการเต็มอากาศ แต่ยังไม่สามารถมีความเห็น ว่าระบบที่ปรับปรุงจะแก้ไขปัญหาได้ ต้องรอผลการส่งน้ำไปตรวจวิเคราะห์รอบสอง ”

นายสายัณต์ หมีแก้ว นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการ สนง.สิ่งแวดล้อมภาค 9 กล่าวว่า ไม่มีข้อกฎหมายหรือระเบียบ ว่าบ่อบำบัดน้ำเสียต้องอยู่ห่าง “ลำห้วยสาธารณะ” เท่าใด แต่การอยู่ใกล้ก็มีความเสี่ยงมาก หากระดับน้ำในบ่อบำบัดสูง จะซึมออกไปยังพื้นที่ภายนอก หรือลำห้วยสาธารณะได้ ทั้งนี้จากการตรวจสอบน้ำทั้งใน และนอกโรงงานพบว่า น้ำในโรงงานออกไปปนเปื้อนด้านนอก มีค่า บีโอดี.สูงเกินมาตรฐาน 3 เท่า และยังมีค่าความเป็นกรด ลำห้วยยางจะต้องได้รับการฟื้นฟู จึงจะสามารถนำนำไปใช้ได้

นายชาติชาย จันทรเสนา อดีต ผญบ.บ้านป่าก้าว ตัวแทนชาวบ้าน กล่าวว่า หลังโรงงานหยุดการผลิต ไม่มีรถขนยางก้อนถ้วยวิ่งผ่านหมู่บ้าน กลิ่นเหม็นจากน้ำยางที่หยดลงถนนไม่มี แต่ตอนกลางคืนยังคงได้กลิ่นเหม็นจากโรงงานอยู่ ที่สำคัญคือยังไม่พอใจการปรับปรุง เชื่อว่ายังจะมีผลกระทบอีก ทั้งรถขนส่งทำน้ำเหม็นหยด และบ่อบำบัดน้ำเสีย ที่เพียงเอาปูนซีเมนต์มาเททับขอบบ่อเดิม น้ำเสียยังซึมออกไปลำห้วยได้ ซึ่งขณะนี้ “ลำห้วยยางเป็นอัมพาตแล้ว” ถ้าเลิกโรงงานได้ก็ขอให้เลิก

นางปรินดา สุวรรณสว่าง เจ้าของโรงงาน กล่าวว่า หลังจากชาวบ้านร้องเรียน ก็ได้ทำตามคำแนะนำทันที ด้วยการหยุดการผลิตเพื่อปรับปรุง ต้องยกเลิกสัญญาส่งยางเครป ไม่มีรายได้จากโรงงานมากว่า 2 เดือน เงินทุนที่มีอยู่ก็ใช้กับการปรับปรุง ขณะที่ต้องคุยกับสถาบันการเงิน เพื่อยืดการชำระหนี้ และขอรับการสนับสนุนทุน เข้ามาปรับปรุงโรงงานเพิ่มอีก ในข้อจำกัดเรามีพื้นที่เพียง 7 ไร่เศษ ขอความเห็นใจจากทางราชการ และชาวบ้าน จะขอเดินเครื่องจักรผลิตอีก และขอเวลาปรับปรุงอีก 1-2 เดือน

ที่ประชุมสรุปว่า โรงงานฯอยู่ในคำสั่ง ม.37 ให้ปรับปรุงในหลายส่วน หากจะดำเนินการต่อขอให้โรงงาน 1.ไม่นำน้ำเสียออกจากโรงงานโดยเด็ดขาด 2.เมื่อมีการเดินเครื่องจักร จะต้องนำวัตถุดิบเข้า โรงงานต้องจัดการกลิ่นเหม็นให้ได้ , 3.โรงงานจะต้องปรับปรุงระบบน้ำเสีย ไม่ว่าจะเป็นระบบคอนกรีต หรือแผ่นยางรองก้นบ่อ ไม่ว่าผลการตรวจน้ำครั้งที่สอง จะออกมาอย่างไร เมื่อครบ 1 เดือนจะต้องตรวจคุณภาพน้ำอีกครั้ง หากคุณภาพน้ำยังมีปัญหา อาจจะมีคำสั่ง ม.39 สั่งหยุดการผลิต หรือสั่งเพิกถอนใบอนุญาต , 4.ขอให้โรงงานทำความเข้าใจชาวบ้าน

นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวว่า ขอให้โรงงานเร่งรัดปรับปรุงบ่อบำบัดน้ำเสีย ให้มีประสิทธิภาพตามระเบียบ และเสร็จสิ้นโดยเร็วไม่น่าจะเกินเมษายนนี้ ซึ่งจะมี สนง.อุตสาหกรรมจังหวัด เจ้าหน้าที่จาก สนง.สิ่งแวดล้อมฯ และ อปท. มาช่วยให้คำแนะนำด้านเทคนิค หากโรงงานจะดำเนินการขนวัตถุดิบเข้ามา ขอให้อยู่ในปริมาณที่ไม่มาก และใช้อุปกรณ์คลุมป้องกันกลิ่นไปทำชาวบ้านเดือดร้อน และให้โรงงานเข้มงวดกับการขนส่ง ไม่ให้น้ำเหม็นจากยางก้อนถ้วย หยดเรี่ยราดตามถนนถนน โดยชาวบ้านช่วยกันเป็นหูเป็นตา…

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments