วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคม3องค์กรจับมือป้องกัน-ควบคุมโรคไม่ติดต่อ

3องค์กรจับมือป้องกัน-ควบคุมโรคไม่ติดต่อ

กลุ่มโรคไม่ติดต่อเป็นปัญหาสุขภาพ อันดับหนึ่งในประเทศไทย และเป็นอันดับหนึ่งในพื้นที่ 7 จังหวัดอีสานตอนบน ประชากรที่เป็นกลุ่มเสี่ยง และป่วยด้วยโรคไม่ติดต่อ มีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จึงต้องพัฒนาระบบสาธารณสุข ให้ 3 องค์กรป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อยั่งยืน

เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562 ณ ห้องอุดรดุษฎี โรงแรมเจริญโฮเต็ล อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานการลงนามบันทึกความร่วมมือ พัฒนาระบบบริการสาธารณสุข เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ในพื้นที่อีสานตอนบน ระหว่างนายเสนีย์ จิตตเกษม ประธานอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขตพื้นที่ เขต 8 อุดรธานี , ทันตแพทย์กวี วีระเศรษฐกุล สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เขต 8 อุดรธานี , นายแพทย์สมิต ประสันนาการ สำนักงานเขตสุขภาพที่ 8 และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อุดรธานี สกลนคร นครพนม หนองคาย เลย หนองบัวลำภู และบึงกาฬ

นายเสนีย์ จิตตเกษม ประธานอนุกรรมการหลักประกันสุขภาพระดับเขตพื้นที่ เขต 8 อุดรธานี เปิดเผยว่า การสร้างหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามมาตรา 47 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 กำหนดให้มีความร่วมมือระหว่างสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการจัดตั้งกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ โดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดำเนินงานและบริหารจัดการ และได้รับค่าใช้จ่ายในอัตรา 45 บาท/ประชากรในพื้นที่ จากกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสมทบเงินตามหลักเกณฑ์

ปีงบประมาณ 2563 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ดำเนินการโอนเงินให้กับกองทุนหลักประกันสุขภาพฯ กำหนดเสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2562 จำนวนกองทุน 716 กองทุน 219,781,170 บาท ได้แก่ (1) จังหวัดอุดรธานี 180 กองทุน 63,858,285 บาท , จังหวัดหนองบัวลำภู 67 กองทุน 19,732,860 บาท จังหวัดหนองคาย 67 กองทุน 20,701,530 บาท , จังหวัดสกลนคร 140 กองทุน 44,845,830 บาท , จังหวัดเลย 100 กองทุน 26,726,625 บาท , จังหวัดบึงกาฬ 59 กองทุน 16,501,005 บาท และจังหวัดนครพนม จำนวน 103 กองทุน 27,415,035 บาท โดยกำหนดทิศทางการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน ด้วยการหนุนเสริมการใช้กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ เป็นเครื่องมือสร้างความตระหนักรู้ และความรอบรู้ด้านสุขภาพ เพื่อการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ให้ประชาชนสามารถพึ่งพา และดูแลสุขภาพตนเองได้อย่างยั่งยืน

ซึ่งในระยะแรกของการดำเนินงาน คือ การพัฒนาระบบบริการสาธารณสุข เพื่อป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้น เช่น การควบคุมและป้องกันโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น เพื่อทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขได้อย่างมั่นใจ ทั้งการส่งเสริม การป้องกัน การบำบัดรักษา การฟื้นฟูสมรรถภาพ และการดูแลแบบประคับประคอง โดยมุ่งเน้นหน่วยบริการ สถานบริการ หน่วยงานสาธารณสุข หน่วยงานอื่น องค์กรหรือกลุ่มประชาชน ใช้กองทุนหลักประกันสุขภาพฯ เป็นฐานในการดูแลสุขภาพให้กับชุมชน และเป็นทุนหนุนเสริมสร้างประโยชน์ด้านสุขภาพของประชาชนในพื้นที่

จากข้อมูลการตรวจราชการเขตสุขภาพที่ 8 ประจำปี 2562 พบ ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 1.81 กลุ่มผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ที่ไม่ได้มาจากกลุ่มเสี่ยง ร้อยละ 87.68 ผู้ป่วยเบาหวานที่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ มีเพียงร้อยละ 21 , ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่สามารถควบคุมระดับความดันโลหิตสูงได้ ร้อยละ 49.28 โดยมีอัตราผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ 455.54 ต่อแสนประชากรและอัตราผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ 855.60 ต่อแสนประชากร และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments