วันพุธ, ตุลาคม 9, 2024
Google search engine
หน้าแรกธุรกิจประชุมชาวไร่อ้อยอีสาน น้ำมัน-ปุ๋ย-เคมี ทำอ้อยขอราคาเบื้องต้นเพิ่ม

ประชุมชาวไร่อ้อยอีสาน น้ำมัน-ปุ๋ย-เคมี ทำอ้อยขอราคาเบื้องต้นเพิ่ม

ชาวไร่อ้อยอีสานประชุมใหญ่ หลังห่างหายเพราะโควิดไป 2 ปี นายกสมาคมฯขอราคาเพิ่ม อ้างน้ำมัน-ปุ๋ย-เคมีฯราคาพุ่งสูง ขณะ “อีโต้-ธีระชัย” แจง พรบ.อ้อยใหม่ยังไม่ทันปีนี้ รอลุ้นคุยโรงงานที่ไม่พอใจ เอา “กากอ้อย” มาใส่ในส่วนแบ่งชาวไร่อ้อย

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 16 ตุลาคม 2565 ที่สมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานชมรมกลุ่มสมาคมชาวไร่อ้อยภาคอีสาน 20 องค์กร ว่าที่ผู้สมัคร ส.ส.อุดรธานี เขต 7 พรรคเพื่อไทย เป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่ สมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สามัญประจำปี 2565 โดยมีนายไพบูลย์ ธิติศักดิ์ นายกสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำผู้ทรงคุณวุฒิ , คณะกรรมการฯ และสมาชิก เข้าร่วมประชุมกันอย่างคึกคัก

นายไพบูลย์ ธิติศักดิ์ นายกสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้การประชุมใหญ่สมาคมฯ ห่างหายไปเป็นเวลา 2 ปี เป็นโอกาสดีจะเปิดหีบอีกไม่กี่เดือน สมาชิกฯได้มาร่วมประชุมกัน ซึ่งในปีที่ผ่านมาราคาอ้อยขั้นต้น 1,070 บาท/ตัน ที่ค่าความหวาน 10 ซีซีเอส. เมื่อโรงงานทั่วประเทศปิดหีบลง ได้มีการคำนวณราคาอ้อนขั้นสุดท้าย ชาวไร่อ้อยภาคอีสานจะได้เงินเพิ่มไม่ต่ำกว่า 50 บาท/ตัน และเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล แก่ผู้ตัดอ้อยสดส่งโรงงาน 120บาท/ตัน โดยในปีนี้น่าจะได้อ้อยเบื้องต้นไม่ต่ำกว่า 1,100 บาท แต่จากราคาน้ำมัน ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืช มีราคาสูงขึ้น ทางองค์กรชาวไร่อ้อย ได้ทำตัวเลขคณะกรรมการอ้อยพิจารณาที่ 1,400-1,500 บาท/ตัน

นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานชมรมกลุ่มสมาคมชาวไร่อ้อยภาคอีสาน 20 องค์กร กล่าวว่า สมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกิดขึ้นเป็นสมาคมแรกของภาคอีสาน นายกสมาคมนี้ในอดีต ได้เริ่มก่อตั้ง “ชมรมกลุ่มสมาคมชาวไร่อ้อยฯ” เพื่อร่วมกันผลักดันแก้ไขปัญหา และล่าสุดจากที่เราใช้ พรบ.อ้อยและน้ำตาลบเดิมมาตั้งแต่ปี 2527 ในปี 2561 ชาวไร่อ้อยทั่วประเทศได้แก้ไข พรบ.นี้ใหม่ เป็น พรบ.ที่เกิดจากชาวไร่อ้อยเอง ขณะนี้ผ่านความเห็นของ 2 สภาฯแล้ว รอขั้นตอนประกาศใช้ต่อไป

“ ขอให้สมาชิกชาวไร่อ้อยเชื่อมั่น ที่จะให้สมาคมฯเคียงคู่ไปด้วยกัน นอกจากกฎหมายใหม่ที่เราทำขึ้น ถือเป็นฉบับแรกของชาวไร่อ้อย เรายังจะต้องต่อสู้และพัฒนาตัวชาวไร่อ้อยเอง จากราคาอ้อยและน้ำตาลขึ้นกับตลาดโลก กฎระเบียบกติกาของต่างประเทศ มีผลมาบังคับเรามากขึ้นกว่าเดิม ทำให้เราจะต้องเร่งพัฒนาตัวเราเอง ให้ทันกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป โดยสมาคมฯจะทำหน้าที่ให้ดีที่สุด ”

นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานชมรมกลุ่มสมาคมชาวไร่อ้อยภาคอีสาน 20 องค์กร ให้สัมภาษณ์ว่า พรบ.อ้อยและน้ำตาล (ฉบับใหม่) ยังไม่สามารถนำมาใช้ในปีการผลิต 2565-66 ได้ คงจะต้องรอฤดูการผลิตหน้า ระหว่างนี้ก็จะได้มีการพูดคุย ปัญหาที่โรงงานน้ำตาลไม่พอใจ ในประเด็นการเอา “กากอ้อย” ที่เดิมต้องเอาไปเผาทิ้ง ตอนนี้เอาไปผลิตไฟฟ้าหรืออื่น ๆได้ เข้ามาคิดคำนวณเป็นสัดส่วนของชาวไร่อ้อย

“ สมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยทั่วประเทศ ได้ร่วมกันยกร่าง พรบ.อ้อยและน้ำตาล เสนอไปยังรัฐบาล ทางรัฐบาลก็เสนอฉบับรัฐบาล พรรคการเมืองต่าง ๆ ก็เสนอมาเข้าเช่นกัน ซึ่งในการพิจารณาในสภาฯ มีตัวแทนของชาวไร่อ้อยเข้าร่วม 20 คน ซึ่งที่สุดก็ผ่านสภาฯไปทั้งหมด โดยสาระสำคัญของชาวไร่อ้อยอยู่ครบ สำหรับเรื่องกากอ้อย สภาฯยังยืนยันให้นำมาคิดคำนวณ ก็คงจะต้องมีการพูดคุย ในขั้นตอนการออกระเบียบปฏิบัติ มั่นใจว่ายังคุยกันได้ ”

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments