วันจันทร์, ธันวาคม 2, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมพายุฤดูร้อนช่วยอุดรพ้นวิกฤติ PM 2.5

พายุฤดูร้อนช่วยอุดรพ้นวิกฤติ PM 2.5

เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2563 ในการประชุมกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.อุดรธานี ครั้งที่ 1/2564 ที่ห้องประชุมกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม ชั้น 5 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี เพื่อรับมือสถานการณ์ฤดูร้อนในส่วน “ฝุ่นขนาดเล็ก PM2.5” ที่จะเกิดขึ้นตั้งแต่มกราคมของทุกปี ต่อเนื่องไปจนถึงสิ้นฤดูร้อน โดย จ.อุดรธานี มีเครื่องตรวจวัดแบบ “โมบายมาตรฐานกรมควบคุมมลพิษ” ที่ สนง.สิ่งแวดล้อมภาค 9 ส่วนสถานีตรวจวัดมาตรฐาน กำลังก่อสร้างและติดตั้งเครื่อง บริเวณริมหนองประจักษ์ศิลปาคม (ระหว่าง รพ.อุดรฯ-โยธาและผังเมือง)

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทสจ.)อุดรธานี และ สนง.สิ่งแวดล้อม ภาค 9 อุดรธานี รายงานว่า คุณภาพอากาศเริ่มมีปัญหา มาตั้งแต่กลางเดือนธันวาคมเป็นต้นมา คุณภาพอากาศจากดีมากและดี มาที่ระดับพอใช้ จนมาถึงวันที่ 21 มกราคม คุณภาพอากาศมาถึงระดับ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ และต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 27 มกราคม PM 2.5 วัดได้ 64-65-59-64-78-77 จากนั้นคุณภาพอากาศมาอยู่ที่ “อากาศดี” ต่อเนื่องมาจนถึงวันที่ 22 กุมภาพันธุ์ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพอีก และยังต่อเนื่องมาอีก 6 วัน PM 2.5 วัดได้ 61-68-68-69-71-83

จนมาถึงวันที่ 28 กุมภาพันธุ์ คุณภาพอากาศแย่ลงไปอีก จน PM 2.5 วัดได้ 107 ในระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ ( PM 2.5 เกิน 91 ) และยังมีคุณภาพอากาศแย่ลงต่อเนื่องอีก 1 วัน และโชคดีที่เกิดพายุฝน และพายุฤดูร้อนขึ้น คุณภาพอากาศกลับมาอยู่ในระดับ เริ่มมีผลกระทบ-พอใช้-ดี-ดีมาก จนมาในวันที่ 15 มีนาคมที่ผ่านมา กลับมาอยู่ในระดับเริ่มมีผลกระทบ และมีแนวโน้มฝุ่นขนาดเล็ก จะรุ่นแรงขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งคุณภาพอากาศระดับมีผลกระทบต่อสุขภาพ จะต้องมีมาตรการป้องกันผลกระทบ

ขณะที่หลายหน่วยงานได้รายงาน มาตรการลดการเผา ที่เป็นสาเหตุให้เกิดฝุ่นขนาดเล็ก ทั้งพื้นที่ป่าอนุรักษ์ฯ , ป่าสงวนแห่งชาติ , พื้นที่การเกษตร (เฉพาะนาข้าว ไร่อ้อยโรงงานปิดหีบแล้ว) , สองข้างถนน และขยะมูลฝอย ที่พบว่า “จุดความร้อน” ที่ตรวจสอบได้จากดาวเทียมเกิดลดลง จากเป้าหมายให้ลดลงกว่าปีก่อน 30 เปอร์เซนต์ โดยวันที่ 15 มีนาคมนี้ พบเพียง 13 จุดเท่านั้น นอกจากนี้ยังมีมาตรการของอุตสาหกรรมจังหวัด ในเรื่องโรงงานก่อนเกิดฝุ่น 45 โรง และขนส่งจังหวัด ตรวจสอบรถควันดำ

นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวว่า เรื่องของฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5 เกิดขึ้นตามฤดูกาล ทุกหน่วยงานก็มีมาตรการรองรับ และมีผลในการปฏิบัติ ตั้งแต่การรายงานผลการตรวจวัด เพื่อประชาสัมพันธ์เตือนประชาชน ตลอดจนการทำงานเชิงรุกเรื่องลดการเผา ปัญหาสำคัญน่าจะอยู่ที่ภาคการขนส่ง ที่ฝุ่นเกิดจากเครื่องยนต์ดีเซล รายละเอียดการแก้ไขปัญหา จะต้องมีการพูดคุยกันเฉพาะ เพราะจะมีผลกระทบต่อภาคการท่องเที่ยว….

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำนักบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย เขต 5 รายงานการแก้ไขปัญหา “เผาไร่อ้อย” เพื่อเก็บผลผลิตส่งโรงงาน ซึ่งในปีการผลิตก่อนสูงถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ในปีนี้ในภาพรวมลดลงมาเหลือ 40 เปอร์เซ็นต์ โดยโรงงานน้ำตาลในพื้นที่ จ.อุดรธานี มีรายงานการหีบอ้อยสด-อ้อยเผาชัดเจน ประกอบด้วย โรงงานน้ำตาลกุมภวาปี อ้อยสด 478,662 ตัน อ้อยเผา 238,200 ตัน , โรงงานน้ำตาลเกษตรผล อ้อยสด 513,926 ตัน อ้อยเผา 243,807 ตัน , โรงงานน้ำตาลไทยอุดร อ้อยสด 785,144 ตัน อ้อยเผา 679,120 ตัน และโรงงานน้ำตาลเริ่มอุดม อ้อยสด 355,337 ตัน อ้อยเผา 383,760 ตัน

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments