วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมตามหาที่มา 2 สาร VOC รอบฐานเจาะภูฮ่อม

ตามหาที่มา 2 สาร VOC รอบฐานเจาะภูฮ่อม

คุยก๊าซภูฮ่อมมีทั้งข่าวดี-ข่าวร้าย เริ่มข่าวดีผลเจาะก๊าซปีนี้พบก๊าซ 40 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน ยังไม่พบผลกระทบช่วงแฟร์ก๊าซ ขณะข่าวร้าย2สารVOC อันตรายเกินค่ามาตรฐาน ที่พบครั้งก่อนยังไม่รู้ที่มา

เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2566 ที่ห้องประชุมโรงแรมเซ็นทาราคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ อ.เมือง จ.อุดรธานี นายสุรศักดิ์ อักษรกุล รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการติดตามตรวจสอบ โครงการแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อม จ.อุดรธานี ครั้งที่ 2/2566 (พิเศษ) มีนายเสถียร ดวงจำปา พลังงาน จ.อุดรธานี นำคณะกรรมการภาครัฐ , องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) , เครื่อข่ายภาคประชาชน ,ภาคประชาชน เข้าร่วมประร่วมกับคณะผู้แทน บ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จก.(มหาชน) นำโดยนายชาญศิลป์ แก้วเวชวงศ์ ผจก.อาวุโส โครงการผลิตบนฝั่ง-ประเทศไทย ปตท. และมีตัวแทนอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เข้าร่วมประชุมด้วย

ที่ประชุมรายงานว่า การประชุมวันนี้สืบเนื่องจากการประชุมครั้งก่อน 7 มีนาคม 2566 เพื่อติดตามข้อซักถามจากที่ประชุม อาทิ มติ ครม.ที่ให้ใช้พื้นที่ป่าสงวนฯ เป็นพื้นที่ตั้งฐานเจาะก๊าซแหล่งสินภูฮ่อม ยังสามารถดำเนินการไปได้ต่อเนื่อง จนกว่า ครม.จะมีมติยกเลิก หรือมีมติเป็นอย่างอื่น , ค่าภาคหลวง 20 % ที่แบ่งครึ่งให้ อบจ.อุดรธานี และ อบจ.ขอนแก่น และค่าภาคหลวง 20 % แบ่งให้ 10 อปท.อุดรธานี และ 1 อปท.ขอนแก่น เป็นไปตามระเบียบที่ใช้นานกว่า 20 ปี หลายพื้นที่ขอให้ปรับปรุงแก้ไข ได้ส่งเรื่องขึ้นไปแล้วแต่ไม่กลับมา

บ.ปตท.สผ.จก. แจ้งว่า ช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ปตท.สผ.ได้ทำการขุดเจาะก๊าซเพิ่มอีก 1 หลุม บริเวณฐานเจาะภูฮ่อม 4 ได้ทำการทดสอบปริมาณก๊าซ หรือ “แฟร์” ต้นเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เป็นช่วงที่กระแสลมไม่พัดเข้าชุมชน ซึ่งจำเป็นต้องแฟร์ต่อเนื่อง ขณะนี้ได้หยุดแฟร์ก๊าซไปแล้ว ตลอดเวลาการแฟร์ก๊าซไม่พบปัญหา ยังต้องรอผลการตรวจจากแลป ทั้งนี้หลุมดังกล่าวได้ปริมาณก๊าซ 40 ล้าน ลบ.ฟุตต่อวัน

ก๊าซที่ได้จากแหล่งสินภูฮ่อม เป็นก๊าซบริสุทธิมากกว่าแหล่งอื่น เป็นมีเทนถึง 96.52 % การเจาะและแฟร์ก๊าซครั้งนี้ ได้เพิ่มจุดตรวจวัดคุณภาพอากาศ 1 จุด และเครื่องวัดคุณภาพอากาศเรียวไทมที่วัดภูสังโฆ 1 จุด จากการตรวจวัดคุณภาพอากาศครั้งก่อน พบสารอินทรีย์ระเหยง่าย (วีโอซี.) 2 ชนิด คือ อะครอลีน (สารกำจัดเชื้อรา และศัตรูพืช) ที่วัดป่าบ้านทับไฮ และ ครอโรมีเทน (สารกำจัดสี และสารขับเพื่อพ่นสารกำจัดแมลง) ที่วัดป่าภูสังโฆ เกินกว่ามาตรฐาน ปตท.สผ.ยืนยันว่าไม่เคยใช้สารชนิดนี้

ที่ปรึกษา ปตท.สผ. ชี้แจงว่า สำหรับการเก็บตัวอย่างอากาศ 5 จุด รอบฐานเจาะขณะแฟร์ก๊าซ ครั้งนี้จะต้องรอผลจากแลปที่ กทม. ทั้งนี้ส่วนประกอบของก๊าซที่แหล่งสิอนภูฮ่อม ไม่มีสารทั้ง 2 ชนิด และในกระบวนการเจาะ และแฟร์ก๊าซ ก็ไม่ได้ใช้สารทั้ง 2 ชนิด จึงน่าจะเกิดจากสภาพพื้นที่ และกิจกรรมที่มีขึ้นโดยรอบจุดเก็บตัวอย่าง จากข้อมูลทางวิชาการของประเทศแคนนาดา ที่ตีพิมพ์ไปเมื่อไม่กีปีที่ผ่านมา ระบุว่ากิจกรรมการประกอบอาหาร หรือการไหม้ของต้นไม้ก็เกิดสารนี้ได้

ขณะที่ประชุมมีความเป็นห่วง การตรวจสอบพบ “อะครอลีน” และ “ครอโรมีเทน” ในระดับเกินมาตรฐาน จะมีผลกระทบกับมนุษย์ทันที ตั้งแต่การคลื่นไส้อาเจียน และสะสมในร่างกาย วันนี่เรายังไม่รู้ ว่ามันมาจากไหน น่าจะต้องหาว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร อาจจะเกิดจากการสันดาป ของสารที่มีในองค์ประกอบ จนกลายเป็นสารใหม่ได้หรือไม่ เมื่อยังไม่รู้น่าจะต้องมีมาตรการในการเฝ้าระวัง ติดตามผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น แม้การพบครั้งนี้เป็นช่วงเวลาสั้นๆก็ตาม

หลังจากการหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็น สนง.สิ่งแวดล้อมภาค 9 เสนอว่า ให้ติดตามผลการตรวจสอบ การเก็บตัวอย่างอากาศ 5 จุด รอบฐานเจาะที่จุดแฟร์ก๊าซครั้งล่าสุด ว่าจะมีผลออกมาอย่างไร พบสารทั้ง 2 ชนิดอีกหรือไม่ และกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เสนอว่า ให้ทำการเก็บตัวอย่างอากาศ 5 จุด รอบฐานเจาะที่จุดแฟร์ก๊าซ หลังจากหยุดแฟร์ก๊าซไปแล้ว 1-2 สัปดาห์ เพื่อนำผลการตรวจวิเคราะห์ทั้ง 2 ครั้ง มาร่วมพิจารณาน่าจะได้ข้อมูลเพิ่ม ขณะที่ สนง.สาธารณสุข จ.อุดรธานี เสนอให้ระหว่างนี้ติดตามเฝ้าระวัง….

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments