สภานครอุดรฯผ่านใช้เงินสะสม ปรับปรุงถนน บขส.1-ศูนย์เมืองอัจฉริยะ-ระบบแสงสว่าง-ระบายน้ำ-ถนนแอสฟัลท์ติก รวม 36.24 ล้าน แต่ขอกู้เงิน กสท.ปรับปรุงสนามเวสสุวัณ สนามฟุตบอล-ฟุตซอล-บาส-เทนนิส ใช้งานมานาน 13 ปี ทรุดโทรมหนัก ไม่ได้มาตรฐานแข่งระดับชาติ 89 ล้าน แต่สภาฯไม่ให้ 11 ต่อ 12 เหตุอัฒจันทร์-ตึกเอนกประสงค์-ห้องน้ำ จะถูกทุบทิ้งสร้างใหม่แทน แต่ยังหนุนเฉพาะการปรับปรุง
เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2567 ที่ห้องประชุมสภาเทศบาลนครอุดรธานี มีการประชุมสภาเทศบาลนครอุดรธานี สมัยสามัญ สมัยที่ 3 ครั้งที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2567 นายธนดร พุทธรักษ์ นายก ทน.อุดรธานี นำคณะผู้บริหาร เสนอญัตติเข้าสู่การพิจารณา 12 ญัตติ เป็นญัตติที่ 68-79 ท่ามกลางการจับตามอง หลังจากสมาชิกสภา ทน.อุดรธานี ของฝ่ายบริหารออกจากกลุ่ม 3 คน ทำให้เสียงฝ่ายบริหารมี 11 เสียง ทำให้ฝ่ายเสียงข้างน้อยเดิมมีเพิ่มเป็น 12 คน ทำให้ การประชุมสภาฯครั้งก่อนญัตติว่าจ้างเก็บขนขยะผูกพัน 3 ปี 233 ล้านบาท
ในการประชุมสภา ทน.อุดรธานี ครั้งนี้สภาผ่านความเห็นชอบเกือบทุกญัตติ ไม่ว่าจะเป็น 1.ขอจ่ายเงินสะสมก่อสร้างปรับปรุงผิวจราจรแอสฟัลท์ติกคอนกรีตแบบโอเวอร์เลย์ สถานีขนส่งแห่งที่ 1 วงเงิน 2.2 ล้านบาท (น่าจะซ่อมคอนกรีตเพราะใช้งานหนัก) , 2.ขอจ่ายเงินสะสมปรับปรุงอาคารและจัดซื้อครุภัณฑ์ “ศูนย์ปฏิบัติการเมืองอัจฉริยะ” วงเงิน 2.15 ล้านบาท (อาคาร เซเวน-11 เดิม) , 3.ขอใช้เงินสะสมก่อสร้างปรับปรุงผิวจราจรแอสฟัลท์ติกคอนกรีตแบบโอเวอร์เลย์ , ปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่าง และระบบระบายน้ำ 31.89 ล้านบาท , ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียดปรับปรุงระบบระบายน้ำ , ขอแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำชี้แจงงบประมาณระบบระบายน้ำ และขอยกเลิกการใช้จ่ายเงินสะสมซื้อรถดูดฝุ่น 15 ล้านบาท (เคยถูกอภิปรายรถมีเกินพนักงานขับ)
ขณะมีญัตติขอกู้เงินจากกองทุนส่งเสริมกิจการเทศบาล (กสท.) ก่อสร้างตามโครงการปรับปรุงสนามกีฬา ทน.อุดรธานี ไม่ผ่านความเห็นชอบด้วยคะแนน 11-12 คะแนน โดยฝ่ายบริหารชี้แจงว่า ศูนย์กีฬาประชาชน ทน.อุดรธานี สร้างจากเงินกู้ กสท. 150 ล้านบาท ระหว่างปี 2553-2554 จนถึงขณะนี้ใช้งานมากกว่า 13 ปี มีสภาพชำรุด ทรุดโทรม ทั้งอาคาร สนามฟุตบอลหญ้าเทียม สนามเทนนิส สนามฟุตซอล และทัศนีย์ภาพ เพื่อให้สนามมีสภาพพร้อมใช้งาน และเป็นสนามกีฬามาตรฐาน รองรับการแข่งขันระดับประเทศ สอดคล้องกับอุดรธานีเป็น “สปอตซิตี้” ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์จังหวัด อีกทั้งถูกบรรจุในแผนพัฒนา ทน.อุดรธานี 2566-2570 (ญัตติ 70) วงเงิน 89 ล้านบาท
นายธนดรฯ นายก ทน.อุดรธานี ได้แจกจ่ายเอกสารเพิ่มเติมกลางสภาฯ และเปิดเทป วีดีโอ.สภาพสนาม และความต้องการชาวบ้านให้ซ่อมสนาม พร้อมกล่าวว่า สนามกีฬานี้รับไม่ได้หลายเรื่อง เห็นแล้วรู้สึกรู้สึกอายเขา นอกจากจะชำรุดทรุดโทรม ยังเป็นสนามที่ไม่ได้มาตรฐาน ใช้แข่งขันในระดับชาติ ที่ผ่านมาจึงไม่มีการแข่งขันรายการสำคัญ ตอนเข้ามาบริการช่วงแรก มีตั้งงบประมาณเปลี่ยนหญ้าเทียม 17 ล้านบาท จึงไม่ได้นำมาใช้ใช้ปรับปรุง แต่ได้ว่าจ้างที่ปรึกษา 2 ล้านบาทเศษ มาศึกษาออกแบบใหม่ให้มีมาตรฐานการแข่งขันระดับชาติ ซึ่งผลการศึกษาได้ให้ คกก.ระดับจังหวัดพิจารณาก็เห็นด้วย และยังอยากให้ ทน.อุดรธานี สร้างโรงยิมเนเซียมขนาด 5,000 ที่นั่ง ซึ่งยังไม่ได้ตอบรับเพราะงบประมาณสูง
แผนงานระบุว่าจะมีการรื้อถอน 7 ส่วน คือ อาคารอัฒจันทร์ -อาคารเอนกประสงค์-อาคารสโมสร-อาคารห้องน้ำ-สนามฟุตบอลเดิม-ลานเอ็กซ์ดรีม-โครงสร้างเดิม (รื้อสนามฟุตซอล2สนาม) เพื่อสร้างอัฒจันทร์ประธาน(ขยายยาว-ปรับสโลป)-สร้างอัฒจันทร์ฝั่งตรงข้าม (ขยายสนามออกไปจากการรื้อสนามฟุตซอล)-ห้องน้ำ-รั้วด้านหน้า-รั้วด้านข้าง และปรับปรุงอาคารเอนกประสงค์-อาคารสโมสร-สนามฟุตซอล-สนามบาส-สนามเทนนิส-สนามเอ็กซ์ดรีม-ลู่วิ่งออกกำลังกาย-ลานเอนกประสงค์-ถนน-ทางเท้า-ปลูกต้นไม้จัดสวน นอกจากนี้ยังมีงานระบบไฟฟ้า-ระบบระบายน้ำ-ระบบป้องกันอัคคีภัย-ระบบระบายอากาศ-ครุภัณฑ์
เทศ
ขณะที่สมาชิกสภา ทน.อุดรธานี ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยให้เหตุผลว่า ที่ดินผืนนี้เดิมเป็นของสรรพสามิตร 32 ไร่ ผู้บริหารในอดีตได้เข้าขอใช้ โดยแลกกับการสร้างอาคารที่พักอาศัย(แฟลต) ให้กับข้าราชการ เจ้าหน้าที่ ของสรรพสามิตร(ข้างห้วยหมากแข้ง ถ..ประจักษ์ฯ) ตามแผนงานสนามกีฬา 4 มุมเมืองบริการประชาชน คือ สนามวิทยาลัยพลอุดรธานี , สนาม มทบ.24อุดรธานี , สนามเวสสุวัณ และสนาม ท.6 (เหลืองเพียง ท.6) , โดยสนามเวสสุวัณเน้นบริการประชาชน บางส่วนประชาชนจองคิวขอใช้สนาม และยินยอมจ่ายค่าบำรุงรักษา ขณะที่สนามมาตรฐานแข่งขัน มีอยู่แล้วหลายแห่ง อาทิ สนาม วพ.อุดรธานี , สนาม กกท. , สนาม มรภ.(ในเมือง-สามพร้าว) และสนาม อบจ.อุดรธานี ขณะนี้สนามเวสสุวัณใช้งานมา 13 ปี ช่วงหลายปีที่ผ่านมาขาดการปรับปรุงบำรุงรักษา จึงมีสภาพทรุดโทรมมาก เห็นด้วยกันการปรับปรุง แต่ไม่เห็นด้วยกับการรื้อถอนทิ้ง…