วันอังคาร, ธันวาคม 3, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมTIA ปลื้ม!! Class Action สัญจร ครั้งที่ 6 จ.อุดรธานี คึกคัก

TIA ปลื้ม!! Class Action สัญจร ครั้งที่ 6 จ.อุดรธานี คึกคัก

สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย (TIA) จัด Class Action สัญจรครั้งที่ 6 ที่ อีสานภาค 4 จังหวัดอุดรธานี พื้นที่ครอบคลุมทนายความอาชีพ ใน 12 จังหวัด เกี่ยวกับการดำเนินคดีแบบกลุ่มคดีเกี่ยวกับหลักทรัพย์ เพื่อเพิ่มความรู้ ให้กับทนายความ และ รับข้อมูลและแนวทางปฏิบัติตรงจากผู้พิพากษาศาลสูง อบรมจบรับวุฒิบัตรทันที ใช้เป็นใบเบิกทางเข้าสู่ทนายความอาชีพที่ผ่านการอบรมความรู้คดี Class Action ด้านตลาดทุน

 

คุณยิ่งยง นิลเสนา นายก สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย(TIA) องค์กรตัวแทนผู้ถือหุ้นรายบุคคล “ทำหน้าที่ สนับสนุนการพัฒนาตลาดทุน เพื่อความยั่งยืน ที่อยู่คู่ตลาดทุนไทยมากว่า 35 ปี เปิดเผยว่า สมาคม ยังคงเดินหน้าให้ความรู้ เรื่อง การดำเนินคดีแบบกลุ่ม (Class Action) อย่างต่อเนื่อง จากที่ผ่านมาดำเนินการมาแล้ว 5 จังหวัด และยังคงได้รับความสนใจจากทนายความอาชีพเข้าร่วมอบรบกว่า 200 ราย ซึ่งรวมกับการสัญจรที่ผ่านมา มีทนายความอาชีพ ผ่านการอบรมเกือบ 800 กว่าคนแล้ว และคาดหวังว่า การฟ้องคดีแบบกลุ่ม – Class Action” จะเป็นเครื่องมือในการปกป้องนักลงทุนที่ให้ได้รับความไม่เป็นธรรมจากการลงทุน

คุณสิริพร จังตระกุล เลขาธิการ สมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย (TIA) กล่าวว่า การจัดสัญจรปีนี้ ทาง TIA ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณทั้งหมดจาก กองทุนส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน (CMDF) เป้าหมายของการจัดสัญจรให้ความรู้เชิงลึกทั้งทางทฤษฎีและแนวทางปฏิบัติและการนำมาใช้ในอาชีพจริง ให้กับทนายความอาชีพทั่วประเทศไทย นำกฎหมาย Class Action มาใช้ในตลาดทุนไทย เพื่อเป็นเครื่องมือในการดูแลและปกป้องนักลงทุน ดังนั้นการเติมความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับธุรกิจหลักทรัพย์ เพื่อเป็นส่วนสำคัญให้การบังคับใช้กฏหมายให้มีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้การมาสัญจรที่อุดรธานี ครอบคลุมพื้นที่ภาคอีสานภาค 4 ที่มี 12 จังหวัดในพื้นที่ มีทั้งห้องค้าหลักทรัพย์ และธุรกิจที่สำคัญ ดังนั้นการให้ความรู้ Class Action กับทนายความจะเป็นกลไกในการดูแลนักลงทุนได้
คุณพิเชฐ คูหาทอง กรรมการบริหาร สภาทนายความภาค4 กล่าวว่า เป็นเรื่องน่ายินดี และต้องขอขอบคุณ ทางสมาคมส่งเสริมผู้ลงทุนไทย ที่มาจัด Class Action เพื่อให้ความรู้กับทนายความอาชีพในพื้นที่อีสานภาค4 เพื่อสามารถนำความรู้ไปช่วยสร้างความยุติธรรม และเป็นธรรมในตลาดทุนและในโลกยุคปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลง การทำธุรกิจจะต้องเชื่อมโยง แลกเปลี่ยนระหว่างกัน ดังนั้นอาชีพทนายความจะต้องมีการเติมความรู้ และมีส่วนร่วมในสร้างความเป็นธรรมและยุติ

ด้านท่านภุชพงศ์ จรัสทรงกิติ ผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ ได้บรรยายให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคดีกลุ่มกับทนายอาชีพที่เข้าร่วมอบรม ว่า การดำเนินคดีแบบกลุ่ม การเขียนคำร้องขออนุญาตในการดำเนินคดีแบบกลุ่มเป็นเรื่องสำคัญและเป็นด่านแรกของการเข้าสู่การดำเนินคดีแบบกลุ่ม ซึ่งถือว่าสำคัญมาก

ซึ่งในขณะนี้ศาลเองก็ได้ให้เ จ้าพนักงานคดีกลุ่ม สามารถให้คำปรึกษาแนะนำ ในประเด็นข้อกฎหมายให้กับทนายโจทก์ ในการเขียนคำร้องขอดำเนินคดีแบบกลุ่ม แต่ไม่ใช่คำแนะนำที่จะก่อให้เกิดความได้เปรียบ เสียเปรียบในการดำเนินคดี

ทั้งนี้คำร้องขอดำเนินคดีแบบกลุ่มจะเป็นการใช้ระบบไต่สวน ศาลจำเป็นต้องสืบค้น และค้นหาความจริงเป็นสำคัญจะไม่ใช้ดูจากข้อมูลที่แนบมาเพียงอย่างเดียว

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันการยื่นขอดำเนินคดีแบบกลุ่มกำลังเกิดขึ้นในคดีที่เกี่ยวข้องกับคอนโดมิเนียม และ ประกันภัยโควิด ที่บริษัทที่ขายประกันไม่ยอมจ่ายให้กับผู้ซื้อ และมีการยื่นคำร้องขอเข้ามา และศาลชั้นต้นพิจารณาให้โอนไปศาลแขวงพระนครเหนือ แต่ด้วยกฎหมายการดำเนินคดีแบบกลุ่มอำนาจจะต้องอยู่ที่ศาลชั้นต้น ศาลแขวงไม่สามารถพิจารณาคดีได้ ศาลอุทธรณ์จึงได้พิจารณาและมีคำสั่งให้โอนมาที่ศาลชั้นต้นทั้งหมด ซึ่งเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่า ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายการฟ้องร้องกลุ่มเกิดขึ้นจริง

“นับตั้งแต่เริ่มที่จะดำเนินคดีแบบกลุ่มขอแนะนำให้ทำรายละเอียดทั้งหมดของกลุ่มบุคคลที่เข้ามา และทำรายการค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการทำคดีทั้งหมด เพราะ เมื่อถึงวันที่ศาลมีคำสั่งให้ดำเนินคดีแบบกลุ่ม ประเด็นเหล่านี้ก็ต้องพร้อมที่จะเปิดเพื่อการพิจารณา เพราะตามกฎหมายนั้นผลตอบแทนของคดีที่จะได้รับ 30% ของมูลฟ้องนั้นทนายความจะต้องถูกนำมาพิจารณาทั้งหมด”

ด้าน ท่านชลวัชร อัศวพิริยอนันต์ รองเลขานุการศาลฎีกา กล่าวว่า การดำเนินคดีแบบกลุ่มจะมีประโยชน์โดยรวมมากเพราะเป็นการดำเนินการครั้งเดียวแต่คำพิพากษาจะครอบคลุมทั้งหมด ทั้งผู้เสียหายที่เป็นสมาชิกกลุ่ม และไม่ได้เป็นสมาชิกกลุ่ม บนสิทธิ และข้อเท็จจริงเหมือนกัน ภายใต้หลักกฎหมายเดียวกัน รวมทั้งมีระยะเวลาที่เร็วกว่า และค่าใช้จ่ายที่ถูกกว่าการดำเนินคดีตามขบวนการปกติ เพราะคำตัดสินของศาลอุทธรณ์ถือว่าเป็นที่สุดแล้ว

ทั้งนี้ การดำเนินคดีแบบกลุ่มในคดีหลักทรัพย์จะมีลักษณะความผิด 2 ลักษณะคือ ผิดสัญญาที่จะครอบคลุมทั้งเรื่องของหุ้น และหุ้นกู้ที่ออกแล้วผู้ออกไม่ทำตามสัญญา ส่วนการละเมิดนั้นคือการบอกกล่าวข้อมูลอันเป็นเท็จ และข้อมูลที่เป็นถูกนำไปใช้ในการวิเคราะห์นำไปเผยแพร่ต่อทำให้เกิดการเข้าใจผิด การสร้างราคาและปั่นหุ้น สามารถดำเนินคดีแบบกลุ่มได้ “การเข้ามาเป็นสมาชิกกลุ่มเมื่อคำตัดสินของศาลออกมาไม่ว่าคดีนั้นจะมีผลชนะหรือแพ้คำตัดสินจะครอบคลุมทั้งหมด และคนที่ไม่เป็นสมาชิกกลุ่มหรือคนที่เป็นสมาชิกกลุ่มก็ไม่สามารถฟ้องในคดีเดียวกันได้อีก”

นอกจากนี้การดำเนินคดีแบบกลุ่มในคดีหลักทรัพย์ การแบ่งกลุ่มเป็นเรื่องสำคัญมากในการทำคดีซึ่งในกรณีซื้อขายหลักทรัพย์จะแบ่งได้ 3 กลุ่มคือ กลุ่มคนที่เข้าซื้อหุ้น และยังคงถือหุ้นอยู่เต็มจำนวนที่ซื้อ 2. กลุ่มที่เข้าซื้อก่อน และระหว่างทางมีการขายออก แต่ไม่ได้ขายทั้งหมดและยังมีหุ้นถืออยู่ ซึ่งกลุ่มนี้จะมีความยากในการคิดและประเมินมูลค่า และ 3. ขายหุ้นออกทั้งหมดแล้ว ซึ่งกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะเป็นนิติบุคคลที่เข้าลงทุนหุ้นที่มีปัญหาซึ่งกลุ่มนี้จะมีการจัดการเพราะมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการจัดการก่อนเมื่อเห็นว่าเกิดปัญหา

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments