วันพุธ, กันยายน 18, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมปรับปรุงห้วยหมากแข้งช้าหวั่นทำน้ำท่วม

ปรับปรุงห้วยหมากแข้งช้าหวั่นทำน้ำท่วม

โครงการก่อสร้างระบบระบายน้ำ และปรับปรุงภูมิทัศน์ “ห้วยหมากแข้ง” ทน.อุดรธานี ระยะที่ 1 ตามมติคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ (จ.เพชรบูรณ์ ก.ย.61) เพื่อคืนคลองธรรมชาติให้ชุมชน , ระบายน้ำป้องกันน้ำท่วมไปพร้อมกัน นำร่องความยาว 936 ม. วงเงิน 148.4 ล้าน ผ่านมาแล้ว 1 ปี 3 เดือน แต่เพิ่งเริ่มผูกเหล็กขยายรางยู น้ำที่กักไว้เริ่มส่งกลิ่นเหม็น ซึ่งมีเวลาอีก 3 เดือนเศษฝนก็จะมา หวั่นโครงการปิดทางน้ำไหล เสี่ยงน้ำท่วมซ้ำรอยในอดีต

กรมโยธาธิการและผังเมือง เข้ามารับหน้าที่ปรับปรุงรูปแบบ รวมไปถึงควบคุมกำกับดูแลทั้งโครงการ ซึ่งต้องใช้เวลาจนถึงปลายปี 2564 กรมโยธาธิการและผังเมือง ได้ทำสัญญาว่าจ้าง บ.เอส ซีจี.1995 จก. เริ่มโครงการ 3 ธ.ค.64 สิ้นสุดสัญญา 21 ม.ค.67 หรือกว่า 780 วัน แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะแรก ตั้งแต่ ถ.ประจักษ์ศิลปาคม-ถ.อุดรดุษฎี ระยะทาง 936 เมตร งบผูกพัน 3 ปี 148.40 ล้านบาท ( ปี 64/30 ล้านบาท , ปี 65 / 56.36 ล้านบาท , ปี 66 /67.05 ล้านบาท)

แผนงานแบ่งออกเป็น ขยายทางระบายน้ำเพิ่มขึ้นเป็น 5.20 ม. , วางท่อระบายน้ำเสีย HDPE ขนาด 1,000 มม. ความยาว 1,000 เมตร , ท่อ HDPE ขนาด 400 มม. ความยาว 626 เมตร , สร้างประตูระบายน้ำ 2 แห่ง (หัว-ท้าย) , อาคารสถานีสูบ (จากหนองประจักษ์ฯ) 1 แห่ง ที่เหลือเป็นการปรับปรุงภูมิทัศน์ ขณะระยะที่สอง ตั้งแต่ ถ.ประจักษ์ฯ ย้อนกลับไปถึง ถ.สี่ศรัทธา ระยะทาง 777 ม. วงเงิน 80 ล้านบาท และระยะอื่น ๆอยู่ระหว่างการเสนอออกแบบ

เวลาผ่านมาแล้วมากกว่า 1 ปี 3 เดือน ยังไม่มีความคืบหน้าตามแผน แต่ก็คงเกิดจากปัญหาเริ่มโครงการ ถูกทักท้วงในเรื่องของ 1.การปรับภูมิทัศน์ 2.การใช้ประโยชน์ โดยไม่การทักท้วง “ช่วงเวลาทำงาน” มีแผนการทำงานอย่างไร เพื่อรับมือกับ “ฤดูฝน” ที่ ทน.อุดรธานี จะต้องใช้ลำห้วยหมากแข้งในการระบายน้ำ ซึ่งอยู่ในช่วงการก่อสร้าง จะมีแผนการรับมืออย่างไร ทั้งในสถานการณ์ปกติ และสถานการณ์พิเศษ

โดยถึงขณะนี้ผู้รับเหมาได้จัดการทางน้ำไหล ทำการปิดกั้น “ลำห้วยหมากแข้ง” บริเวณถนนประจักษ์ศิลปาคม วางท่อระบายน้ำขนาด 1 เมตร บายพาดน้ำในลำห้วยลักษณะน้ำล้น ให้ไหลขนานไปกับลำห้วยเดิม ทำให้น้ำในลำห้วยยกระดับสูงขึ้น น้ำจะมีสีดำเริ่มส่งกลิ่นเหม็น จากนั้นจะมีการปิดกั้นลำห้วยเป็นระยะ เพื่อเปลี่ยนทิศทางน้ำไหล ในจุดที่มีการก่อสร้าง บางจุดน้ำยังไหลอยู่ในลำห้วย สลับไปมาจนไปถึงจุดสิ้นสุดโครงการ บริเวณถนนอุดรดุษฎี (หากมีฝนตกลงมาเกรงจะมีปัญหา)

ขณะการก่อสร้างเริ่มที่สะพานถนนประจักษ์ฯ ไปจนถึงหน้าร้านหลังบ้าน ได้ทำการทุบพนังคอนกรีตฝั่งซ้าย เพื่อทำการขยายขนาดห้วยออกไป 1 เมตร ความยาวทำไปไม่ถึง 50-60 เมตร มีเครื่องจักรทำงานเพียง 2 คัน คือรถแบคโฮเล็กทุบสกัดคอนกรีต 1 คัน ที่ทำงานร่วมกับคนงานอีก 4 คน จากนั้นไปอีก 100 เมตร พนังคอนกรีตยังไม่ทุบ และรถแบคโฮที่ใช้เคลียทางน้ำ 1 คัน มีเศษดินและวัสดุปิดกั้นลำห้วยจำนวนมาก

ในส่วนพื้นที่บริเวณ “เวดแลนด์เดิม” หรือ “บึงประดิษฐ์” หรือ “ลานกิจกรรม 1” ได้ทำการทุบพนังคอนกรีตออกทั้ง 2 ฝั่ง ระยะทางราว 150 เมตรเศษ เพื่อสร้างพนังคอนกรีตขึ้นใหม่ ที่มีขนาดกว้างกว่าของเดิม แต่งานก็มีความคืบหน้าเพียง การใช้แรงงานผูกเหล็กโครงสร้าง ความยาวไม่ถึง 50 เมตร เท่านั้น

เข้าสู่ลานกิจกรรม 2 ไปจนถึงถนนอธิบดี หรือแดงแหนมเนือง ในลำห้วยยังไม่ได้ดำเนินการอะไร มีเพียงการปรับพื้นที่ เพื่อวางท่อน้ำเสีย HDPE ขนาด 1,000 มม. ขนานกับลำห้วยมาทางด้านซ้าย โดยงานหยุดชะงักมานานพอสมควร เห็นได้ชัดจาก “บ่อพัก” เหล็กถูกทิ้งไว้จนขึ้นสนิมขึ้น ซึ่งบริเวณนี้ยังไม่ดำเนินการ วางท่อน้ำจากสถานีสูบน้ำจากหนองประจักษ์ฯมา

จากนั้นเป็นช่วงจากถนนอธิบดี ไปจนถึงจุดสิ้นสุดโครงการ บริเวณถนนอุดรดุษฎี บางส่วนยังไม่ได้ดำเนินการอะไร มีเพียงช่วงปลายกำลังวางท่อน้ำเสีย HDPE ขนาด 1,000 มม. ตามแบบแปลนช่วงนี้ก็ยังต้องแผน สร้างพนังคอนกรีตเสริมเหล็กกว่า 5.20 ม. สูง 2.50 ม. ปิดท้ายด้วยประตูควบคุมน้ำ ที่ยังไม่เรามดำเนินการเลย ซึ่งเหลือเวลาอีก 11 เดือนจะสิ้นสุดสัญญา

ความล่าช้าของโครงการ ผู้รับจ้างอาจจะมีข้ออ้างได้ว่า เกิดจากความล่าช้าของ การส่งมอบพื้นที่ให้ผู้รับแจ้ง และการขอแก้ไขแบบของผู้จ้างเอง ซึ่งน่าจะสามารถขอขยายเวลาออกไปได้ เมื่อสิ้นสุดสัญญา 21 ม.ค.2567 แม้ไม่น่าจะขัดเรื่องการ “ต่อสัญญา” แต่ที่น่าเป็นห่วงมาก คือ จะเข้าสู่ฤดูฝนอีก 3-4 เดือนข้างหน้า ระหว่างการก่อสร้าง จะสามารถคืนพื้นที่ “การระบายน้ำ” ให้กับห้วยหมากแข้งได้หรือไม่

“ลำห้วยหมากแข้ง” ถือเป็นทางระบายน้ำสำคัญที่สุดของ ทน.อุดรธานี โดยน้ำฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ 47.7 ตร.กม. จะระบายออกจากนอกเมือง จากลำห้วยหมากแข้ง , ลำห้วยมั่ง และสถานีสูบน้ำเกือบ 20 สถานี โดยห้วยหมากแข้งถือเป็นทางระบายน้ำหลัก ทำหน้าที่ระบายน้ำออกได้กว่า 60 % หากไม่สามารถระบายน้ำได้มากขึ้น หรือเท่าเดิม น้ำรอการระบายจะใช้เวลามากขึ้น

จังหวัดอุดรธานี , ทน.อุดรธานี , โยธาธิการและผังเมือง และผู้รับจ้างฯ น่าจะต้องนำเรื่องนี้มาคุยกัน เตรียมความพร้อมในอีก 3-4 เดือนข้างหน้า 1.ทำอย่างไรให้ห้วยหมากแข้ง สามารถระบายน้ำในศักยภาพเดิมได้ก่อน , 2.ถ้าไม่สามารถทำได้ หรือพยายามแล้วทำไม่ได้ จะมีแผนสำรองที่เรียกว่า “แผนฉุกเฉิน” แบบไหนได้บ้าง , 3.มีแผนงานใหม่นอกเหนือจากแบบแปลนโครงการหรือไม่ และ 4.น่าจะรีบดำเนินการทันที

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments