วันจันทร์, ธันวาคม 2, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมเริ่มสอบขายแมสปลอมให้นครอุดร 2.78 ล้าน

เริ่มสอบขายแมสปลอมให้นครอุดร 2.78 ล้าน

ได้ฤกษ์สอบสวนคดี “ขายแมสปลอมให้นครอุดร” เหตุรอการโยกย้ายล็อตใหญ่ ทำให้โลกออนไลน์ตั้งข้อสังเกต ฉลากข้างกล่องระบุกรองฝุ่นได้ถึง 3 ไมครอน แต่ อย.กำหนดกรองฝุ่นได้ 0.1 ไมครอน น่าจะตรวจสอบคุณภาพเพิ่มเติม

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566 หลังจาก สนง.สาธารณสุข จ.อุดรธานี แจ้งความดำเนินคดีกับ บ.พี รีเทลเลอร์ แอนด์ เซอร์วิส จก. เลขที่ 86/23 ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี แสดงฉลากเครื่องมือแพทย์(หน้ากากอนามัย) ลวงให้เข้าใจผิดเรื่อง ชื่อผู้ผลิต ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวจัดเป็น “เครื่องมือแพทย์ปลอม” เป็นความผิดตามมาตรา 46 (1) โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ พรบ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2551

ระบุว่า บ.พี รีเทลเลอร์ แอนด์ เซอร์วิส จก. ที่ชนะการเสนอราคาขาย “หน้ากากอนามัยทางการแพทย์” ให้ ทน.อุดรธานี ด้วยวิธีเฉพาะเจาะจง จำนวน 31,000 กล่องๆละ 50 ชิ้น วงเงิน 2,780,000 บาท , ส่งมอบสินค้า 20 ส.ค.2564 เป็นหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ยี่ห้อ MA100 ใบจดทะเบียน 122/2563 ผลิตและจำหน่ายโดย บ.พี.เอ.แอล88 (ประเทศไทย) จก. ซึ่งบริษัทฯดังกล่าว ได้เปลี่ยนชื่อเป็นนิติบุคคลอื่นตั้งแต่ 25 ก.พ.2564 และแจ้งยกเลิกการผลิตไปตั้งแต่ 5 มี.ค.2564

จากภาพประกอบข่าวกล่องบรรจุ “หน้ากากอนามัยทางการแพทย์” ที่ส่งมอบให้ ทน.อุดรธานี ถูกเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน ฉลากอยู่ข้างกล่องที่ระบุว่า “ หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ใยสังเคราะห์ 3 ชั้น , แบบสายยางยืดคล้องหู ขนาด 176 คูณ 96 ซม. , สามารถกรองฝุ่นละอองได้ถึง 3 ไมครอน , สวมใส่สบาย หายใจสะดวก ไม่ระคายผิวหนัง , เวลาสวมใส่ให้สีฟ้าหรือสีเขียวอยู่ด้านนอก และผลิต 10 ส.ค.2564 ” ถูกนำมาตั้งข้อสังเกตว่า หน้ากากอนามัยชุดนี้น่าจะต่ำกว่ามาตรฐาน ความสามารถกรองฝุ่นละออง

จากประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ที่ผู้ผลิตหรือนำเข้า (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2563 แยกหน้ากากอนามัยออกเป็น 2 ประเภท คือ หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ใช้ครั้งเดียว มีประสิทธิภาพกรองแบคทีเรีย และอนุภาคความต้านของหลวงซึมผ่าน ตามประกาศ คณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กำหนด และหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ใช้ครั้งเดียว N95 สูงกว่า มีประสิทธิภาพการกรองอนุภาพ ความต้านของเหลวซึมผ่าน ตามประกาศ อย.กำหนด

ขณะที่ประกาศ อย. เรื่อง กำหนดมาตรฐานหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ใช้ครั้งเดียว พ.ศ.2563 ระบุว่า หน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ใช้ครั้งเดียว ต้องมีประสิทธิภาพเป็นไปตามมาตรฐานข้อใดข้อหนึ่ง โดยใน ข้อ 2 กำหนดว่า ข้อกำหนดมาตรฐานสำหรับการปฏิบัติงาน ของวัสดุที่ใช้ในหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ การกรองแบคทีเรีย ประสิทธิภาพการกรองอนุภาคที่ 0.1 ไมครอน แต่ฉลากหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ ที่ ทน.อุดรธานีรับมอบมาระบุว่า สามารถกรองฝุ่นละอองได้ถึง 3 ไมครอน ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ามาตรฐาน อย.กำหนด

พ.ต.ท.สิงหราช แก้วเกิดมี รอง ผกก.สอบสวน สภ.เมืองอุดรธานี เปิดเผยว่า สภ.เมืองอุดรธานี รับหนังสือของ สสจ.อุดรธานี แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ขาย “หน้ากากอนามัยทางการแพทย์” ให้กับ ทน.อุดรธานีแล้ว และมอบให้ พ.ต.ท.นิวัตต์ กุลศรี รอง ผกก.สอบสวน สภ.เมืองอุดรธานี เป็นพนักงานสอบสวนเจ้าของคดี หลังจากที่การแต่งตั้งโยกย้าย รอง ผกก.ฯ และสารวัตร มีผลและมารายงานตัวในวันนี้ หากมีการมอบหมายไปก่อนหน้านี้ อาจต้องมีการเปลี่ยนแปลง

“ ที่ได้รับแจ้งความไว้เป็นเอกสาร ตามข้อกล่าวหาและรายละเอียดเบื้องต้น จะต้องสอบปากคำผู้กล่าวหา คือนายแพทย์สาธารณสุข จ.อุดรธานี หรือผู้รับมอบอำนาจ และต้องสอบปากคำเทศบาลนครอุดรธานี ในการจัดซื้อจัดจ้างหน้ากากอนามัยฯ ซึ่งปกติการจัดซื้อจัดจ้าง มีขั้นตอนระเบียบปฏิบัติอยู่ ได้มีการตรวจสอบอย่างไรหรือไม่ จากข้อกล่าวหาของสาธารณสุข เกี่ยวกับช่วงเวลาการเปลี่ยนชื่อ และยกเลิกการผลิตหน้ากากอนามัยไปแล้ว แต่ยังมีการจัดซื้อจัดจ้าง เทศบาลนครอุดรธานีอาจจะเป็นผู้เสียหายด้วย ”

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments