วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคม“อ่างห้วยหลวง”ยืนยันไม่ระบายน้ำทำท่วม

“อ่างห้วยหลวง”ยืนยันไม่ระบายน้ำทำท่วม

ลำน้ำห้วยหลวงน้ำยังสูงขึ้นต่อเนื่อง อ่างฯห้วยหลวงไม่ได้ระบายน้ำออก น้ำที่ไหลมาหนองนามลจาก 3 ลำห้วย ประตูน้ำหัวขัวช่วยหน่วงน้ำไว้ อดีต ผญบ.ช่วยยืนยันอีกคน ถ้าเปิดจริงชาวบ้านหาปลาเต็มหนอง ตอนนี้ “ยอ” ยังยกค้างไว้เหนือน้ำ

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2562 ว่าฝนยังตกในทุกพื้นโดยเฉพาะต้นน้ำห้วยหลวง วัดได้ที่ อ.กุดจับ 25.0 มม. , อ.เมือง 23.4 มม. ส่งผลให้ประตูน้ำ บ.หัวขัว อ.กุดจับ เปิดประตู 1 บาน สูง 1 ม. , อ่างบ้านจั่นน้ำล้นปลินเวย์ ระบายน้ำเพิ่มจากวันละ 4.3 แสน ลบม.เป็นวันละ 6.6 แสน ลบม. และอ่างฯหนองสำโรง เปิดประตูน้ำทุกบาน ทำให้ระดับน้ำที่ประตูน้ำสามพร้าว อ.เมือง ระดับน้ำช่วงเช้าสูงขึ้น 15 ซม. เที่ยวอีก 2 ซม. และเย็นอีก 10 ซม. รวมเป็น 102 ซม. โดยชาวบ้านเข้าใจว่า “เกิดจากอ่างฯห้วยหลวง” ระบายน้ำ

สำหรับอ่างห้วยหลวง ที่ชาวบ้านเชื่อว่าน้ำท่วม เพราะอ่างฯห้วยหลวงระบายน้ำ พบว่าไม่มีการระบายน้ำ ซึ่งอ่างฯมีความจุ 135 ล้าน ลบม. เก็บกักน้ำไว้ได้แล้ว 84.3 ล้าน ลบม.หรือ 62.21 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ประตูระบายน้ำ บ.หัวขัว ม.11 ต.กุดจับ อ.กุดจับ จ.อุดรธานี ที่สร้างขวางลำน้ำห้วยหลวง มีน้ำเก็บกักไว้ใน “หนองนามล” 1.9 ล้าน ลบม. ประตูน้ำขนาดใหญ่ 3 บานถูกยกขึ้นเปิดออก 1 บาน สูงราว 1 เมตร ระบายน้ำไม่ให้ล้นประตูน้ำ จะทำให้ประตูไม่มีความมั่นคง

นายสุวัฒน์ วัฒนคนที อายุ 57 ปี อดีต ผญบ.บ้านหัวขัว เปิดเผยว่า ประตูน้ำบ้านหัวขัว หรือทุ่งหนองนามล เดิมเป็นหนองน้ำและมีฝายกั้น ต่อมาครั้งแรกมีการสร้างประตูน้ำแทน และทำการขุดลอกหนอง ก่อนที่จะมีการก่อสร้าง “อ่างห้วยหลวง” ที่บ้านโคกสะอาด จากนั้นก็มีการปรับปรุงเป็นระยะ สภาพปัจจุบันของหนองนามล จะมีต้นน้ำเล็กๆชาวบ้านเรียก “กุดน้ำเค็ม” อยู่เหนือลำห้วยหลวง

“ สำหรับลำห้วยหลวงสายหลัก จะไหลมาจากอ่างฯห้วยหลวง ก่อนจะมาถึงประตูน้ำบ้านหัวขัว หรือหนองนามล จะมีลำห้วยอีก 3 สาย คือ ลำห้วยลี , ลำห้วยเชียง หรือลำห้วยแก้งกา , ลำห้วยกระติบ ไหลเข้ามารวมกับลำห้วยหลวง ปีไหนที่อ่างฯห้วยหลวงระบายน้ำ จะทำให้ชาวบ้านจับปลาได้ตัวใหญ่ และมาก ล่าสุดมีปลามาจับให้มากคือปี 60 ปีก่อนและปีนี้ปลามีไม่มาก เพราะไม่ปล่อยน้ำออกจากอ่างฯใหญ่ จึงเห็นว่าชาวบ้านต้องยกยอขึ้น ”

นายสุวัฒน์ วัฒนคนที กล่าวต่อว่า น้ำที่ไหลมารวมที่หนองนามล เป็นน้ำจาก 3 ลำห้วย ที่ไม่ได้ไหลลงอ่างฯห้วยหลวง ไหลมามากเกิดระดับเก็บกัก ก็ต้องเปิดประตูระบายออก ถ้าไม่เปิดก็จะท่วมพื้นที่เหนืออ่างๆ ในปีนี้ประตูน้ำบ้านหัวขัว ก็มีการเปิดปิดเพื่อระบายน้ำเป็นช่วงๆ ไม่ให้น้ำไปท่วมเหนือหนองฯ แต่หากท้ายน้ำไม่เดือดร้อน อ่างฯห้วยหลวงเปิดประตูน้ำระบายออกมา ชาวบ้านก็จะจับปลาได้มาก แต่ถ้าไม่เปิดก็ไม่เป็นไร

นายวิชัย จาตุรงค์กร ผอ.โครงการส่งน้ำบำรุงรักษาห้วยหลวง เปิดเผยว่า “หนองนามล” มีความจุเพียง 1.9 ล้าน ลบม. มีน้ำไหลเข้าจากลำห้วยหลวง จากอ่างฯห้วยหลวง และละห้วยอื่นอีก 3 สาย โดยมีประตูควบคุมที่บ้านหัวขัว เพื่อใช้บริหารจัดการน้ำในส่วนนี้ ให้มีน้ำในการผลิตประปา และสามารถหน่วงน้ำลงลำน้ำห้วยหลวง ไม่ให้น้ำไหลออกมากหรือน้อยเกินไป เมื่อหลายปีก่อนในเวทีฟังความเห็น ชาวบ้านให้เปิดประตูตลอดฤดูฝน และปิดไว้ก่อนเข้าฤดูแล้ง

“ โครงการฯได้ทำตามความต้องการชาวบ้าน แต่ได้ใช้วิธีนี้เพียงปีเดียวเท่านั้น ชาวบ้านขอเปลี่ยนให้ใช้แนวทางเดิม คือใช้เป็นประตูเพื่อหน่วงน้ำเหมือนเดิม และในปีนี้ก็ยังคงใช้ประตูฯบริหารจัดการน้ำ ซึ่งจะเกิดประโยชน์ให้ชาวบ้าน ยืนยันว่าในปีนี้อ่างฯห้วยหลวง ยังไม่เปิดระบายน้ำออกมาแม้แต่ครั้งเดียว ยังคงเก็บน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด ตามหลักการบริหารจัดการน้ำ มั่นใจว่าปีนี้จะไม่ระบายน้ำออก ”

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments