วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมร้อง“ปธ.ชวน”เรียกคุยแก้ทางพาดบ้านจั่น

ร้อง“ปธ.ชวน”เรียกคุยแก้ทางพาดบ้านจั่น

ค้านทางพาดรถไฟบ้านจั่น เชิญ รฟท.มาชี้แจงหลายครั้งเงียบ ภาคประชาชนบุกรัฐสภา ยื่นหนังสือถึงประธาน “ชวน หลีกภัย” เรียกผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดมาคุย

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 12 พฤษภาคม 2565 ที่รัฐสภา นายอัครเดช แพ่งศรีสาร อดีตรองประธานสภา ทน.อุดรธานี นายยศวัฒน์ กีรติรัฐวัฒน์ ส.อบจ.อ.เมืองอุดรธานี ตัวแทนภาคประชาชนจังหวัดอุดรธานี
ยื่นหนังสือถึงนายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา โดยมี นพ. สุกิจ อัถโถปกรณ์ ที่ปรึกษาประธานรัฐสภา มารับมอบหนังสือ ขอความอนุเคราะห์เชิญหน่วยงานหารือแนวทาง การแก้ไขแบบรถไฟทางคู่ บริเวณจุดตัดทางหลวง 216 (แยกบ้านจั่น) โดยขอให้ยกระดับทางรถไฟตั้งแต่นอกเมือง เหมือนเช่นรถไฟความเร็วสูง

พร้อมเอกสารประกอบ 7 รายการ คือ 1.รูปแบบรถไฟทางคู่ระยะที่ 2 ขอนแก่น-หนองคาย , 2.รูปแบบโครงการสำรวจออกแบบ ทางต่างระดับจุดตัดทางหลวงหมายเลข 2 กับทางหลวง 216 (แยกบ้านจั่น) , 3.รูปแบบทางยกระดับบริเวณแยกบ้านจั่น ในกรณีที่รถไฟทางคู่ยกระดับบริเวณจุดตัด 216 , 4.สำเนาหนังสื่อ สภา อบจ.อุดรธานี ขอให้แก้ไขรูปแบบ , 5.สำเนาหนังสือ จว.อุดรธานี แจ้งให้ ทน.อุดรธานี จัดประชาคมรับฟังความเห็น , 6.สำเนาหนังสือ ทน.อุดรธานี แจ้งผลการทำประชาคม และ 7.รายชื่อประชาชนขอให้การรถไฟแก้ไขรูปแบบ

โดยขอให้ประธานรัฐสภา ให้กรรมธิการของรัฐสภาที่เกี่ยวข้อง กับการรถไฟแห่งประเทศไทย และกรมทางหลวง เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมด มาหารือแนวทางการแก้ปัญหารถไฟทางคู่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ 1.การรถไฟแห่งประเทศไทย , 2.กรมทางหลวง , 3.จังหวัดอุดรธานี , 4.เทศบาลนครอุดรธานี , 5.ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี , 6.ประธานหอการค้าจังหวัดอุดรธานี , 7.นายชัยฤทธิ์ เขาวงศ์ทอง ส.อบจ.อ.เมืองอุดรธานี , นายอิทธิพนธ์ ตรีวัฒนสุวรรณ ตัวแทนภาคประชาชน และ 9.บริษัท ปูน ทีพีไอ.จำกัด (มหาชน)

นายอัครเดช แพ่งศรีสาร อดีตรองประธานสภา ทน.อุดรธานี ตัวแทนภาคประชาชน ชี้แจงสื่อมวลชนหลังมอบหนังสือว่า บริเวณทางพาดรถไฟตัดทางหลวง 216 มีรถยนต์ผ่านบริเวนนี้ไปยัง จ.สกลนคร และ จ.หนองคาย แต่การออกแบบของ รฟท. กลับมีรูปแบบรางรถไฟทางคู่ของ รฟท. อยู่ในระนาบพื้นเดิม แต่รถไฟความเร็วสูงยกสูงขึ้น แทนที่จะมีรูปแบบยกทางรถไฟขึ้นทั้ง 2 เส้นทาง ทำให้การออกแบบทางต่างระดับ ของที่ปรึกษากรมทางหลวง มีรูปแบบทางยกระดับข้ามรถไฟทางคู่ และลอดใต้รถไฟความเร็วสูง

“ รูปแบบดังกล่าวกระทบต่อรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และรถขนส่งพืชผลการเกษตร ที่ผ่านบริเวณนี้มากกว่าวันละ 15,000 คัน ซึ่งภาคประชาชน ภาคเอกชน และ ส.อบจ.อุดรธานี ไม่เห็นด้วยและเรียกร้องให้ยกทางรถไฟขึ้นทั้ง 2 เส้นทาง โดยขอให้ รฟท.มาชี้แจงเหตุผลหลายครั้ง แต่ที่ผ่านมา รฟท.ไม่ส่งผู้ใดมาชี้แจงเหตุผล จึงต้องเดินทางมาขอให้ประธานรัฐสภาฯ เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มาร่วมแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้ ” ….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments