วันอังคาร, ธันวาคม 3, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมปลัด ทส. ย้ำหน่วยงานอีสานตอนบนจัดที่ทำกินเขตอนุรักษ์ให้ชาวบ้านอุดรฯยื่นขอ 8,079 ราย

ปลัด ทส. ย้ำหน่วยงานอีสานตอนบนจัดที่ทำกินเขตอนุรักษ์ให้ชาวบ้านอุดรฯยื่นขอ 8,079 ราย

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 11 มิถุนายน 2565 ที่ประชุมรุ่งอรุณ โครงการท่องเที่ยวเชิงนิเวศฝอยลม อ.หนองแสง จ.อุดรธานี นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานการประชุมผู้บริหารหน่วยงานภายในกระทรวงฯ จากสํานักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 10 อุดรธานี โดยมีคณะผู้บริหาร ผู้แทน เจ้าพนักงาน จากจังหวัดอุดรธานี หนองบัวลำภู เลย หนองคาย สกลนคร และนครพนม เข้าร่วมการประชุมฯ

โดยให้แต่ละพื้นที่รายงานการดำเนินงานที่ผ่านมา กิจกรรม โครงการสำคัญ ปัญหาและอุปสรรค ก่อนที่จะมอบนโยบายและแนวทางในการขับเคลื่อนภารกิจ หลังจากนั้นจึงร่วมกันปลูกต้นไม้ เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี วันที่ 3 มิถุนายน 2565

นายจตุพร ฯ เปิดเผยว่า จากนโยบายของกระทรวงที่อยากให้มีการพูดคุยกับหน่วยงานในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับฟังแผนงานที่ดำเนินงานไปแล้ว แผนงานที่กำลังจะพัฒนา ขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาล ให้ไปสู้เป้าหมาย พุ่งเป้าไปที่การแก้ปัญหาความยากจน จากการรับฟังจากพื้นที่ต่างๆก็ดีใจที่หน่วยงานของเราทำงานอย่างเต็มที่ แต่ก็ยังย้ำเตือนว่าเราต้องทำงานอย่างเต็มที่ อย่ามีเกียร์ว่างเด็ดขาด ต้องทำงานให้สุจริตโปร่งใส คำนึงถึงประชาชนเป็นหลัก

“ เราให้ความสำคัญเท่ากันทุกจังหวัด แต่ละพื้นที่มีบริบทที่ต่างกัน นโยบายที่ให้วันนี้เน้นไปที่การจัดที่ทำกินให้กับราษฎร การดำเนินการตาม พ.ร.บ.อุทยานแห่งชาติฉบับใหม่ 64 วรรค 2 การจัดที่ดินทำกินให้กับพี่น้องประชาชนในเขตอนุรักษ์ เรื่องการดูแลสิ่งแวดล้อม น้ำ น้ำบนดิน น้ำใต้ดิน การที่เราเลือกภูฝอยลมจัดการประชุมฯ เราก็มาเน้นเรื่องการเพิ่มพื้นที่สีเขียว พื้นที่นี้ผมมาดูเองหลายครั้งแล้ว ที่นี่มีศักยภาพ และห้วงนี้จะเปิดการท่องเที่ยวหลังจากการระบาดของโควิด-19 ซึ่งได้พูดคุยกับผู้ว่าฯอุดรในเรื่องการพัฒนาพื้นที่ “

นายจตุพร ฯ เปิดเผยอีกว่า ที่นี่มีป่าเขาที่ใกล้เมืองที่สุด เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความสมบูรณ์ วันนี้ได้เน้นย้ำหัวหน้าอุทยาน พัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นเดินเที่ยว การรักษาความสะอาด การดูแลความปลอดภัย ที่สุดแล้วหากการพัฒนาประสบความสำเร็จ ชาวบ้านก็จะมีอาชีพ มีรายได้ พี่น้องประชาชนก็มีความสุข อย่างวันนี้เราไม่ได้แวะรับประทานอาหารที่ไหน เราก็ตรงดิ่งมาที่นี่เลย เราต้องการให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้มีรายได้จากการจัดเตรียมอาหาร ตรงนี้ก็เป็นโยบายของเรา ที่อยากให้ชาวบ้านได้โชว์ฝีมือการทำอาหารในพื้นที่ด้วย เป็นการวางพื้นฐานการบริการด้านอาหารให้นักท่องเที่ยว และวันนี้ที่นี่ก็ทำออกมาได้ดีพอสมควร ซึ่งพรุ่งนี้คณะเราจะไปดูพื้นที่ทะเลบัวแดง อ.กุมภวาปี

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ทสจ.อุดรธานี รายงานในที่ประชุมว่า จ.อุดรธานี มีพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 974,959 ไร่ การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยและที่ทำกินในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ มีเป้าหมาย 8 พื้นที่ ยื่นคำขอ 8,079 ราย 9,677 แปลง รวมพื้นที่จัดสรรที่ยื่นขอ 78,620 ไร่ ตอนนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการตามขั้นตอน

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments