ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา (5 มิถุนายน 2562) กระทรวงสาธารณสุข ออกมาแถลงสถานการณ์ไข้เลือดออก แสดงความเป็นห่วงเป็นใยประชาชน จะต้องเฝ้าระวังการระบาเของไข้เลือดออก เพราะมีจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงมาก ซ้ำร้ายยังเป็นการระบาดของเชื้อที่รุนแรง กว่าเชื้อไข้เลือดออกทั่วไป ซึ่งมีชื่อว่า “สายพันธุ์เดงกี่” ทำให้มีผู้เสียชีวิตตั้งแต่ต้นปี-5 มิ.ย.ทั่วประเทศ 41 รายแล้ว ส่งผลให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น มีคำสั่งการมายังองค์กรปกครองท้องถิ่นทั่วประเทศ เร่งรัดให้จัดการกับยุงลาย และลูกน้ำยุงลายเช่นกัน
โดยประเทศไทยมีผู้ป่วยแล้ว 26,430 ราย คิดเป็น 40.01 คนต่อแสนประชากร เสียชีวิต 41 ราย ในภาคอีสานเสียชีวิต 14 ราย ในพื้นที่ สนง.สาธารณสุข เขต 8 เสียชีวิต 1 ราย โดยที่ จ.อุดรธานี ยังไม่มีผู้เสียชีวิต โดยมีผู้ป่วยแล้ว 407 ราย ครอบคลุมทั้ง 20 อำเภอ คิดเป็น 25.63 ต่อแสนประชากร อยู่ในลำดับที่ 54 ของประเทศ รักษาหายดำเนินชีวิตปกติแล้ว 393 ราย นอนพักรักษาตัวอยู่ รพ.14 ราย อาการไม่รุ่นแรง แยกเป็น อ.บ้านดุง 4 ราย , อ.บ้านผือ 4 ราย , อ.สร้างคอม 2 ราย , อ.เมือง 2 ราย และ อ.เพ็ญ 1 ราย
ทั้งนี้ยังพบว่า จ.อุดรธานี จะมีผู้ป่วยสูงในเดือน พ.ค.-มิ.ย.-ก.ค. โดยจำนวนผู้ป่วยปี 62 สูงกว่าค่าเฉลี่ยปี 57-61 แม้จะต่ำกว่าปี 61 แต่ก็มีอัตราการเพิ่มอย่างน่าเป็นห่วง คือเดือน มี.ค. 83 ราย , เม.ย. 93 ราย และ พ.ค. 112 ราย ซึ่ง อ.บ้านดุง และ อ.ศรีธาตุ มีอัตราการป่วยสูงเกิน 50 คนต่อแสนประชากร รองลงมาก็จะเป็น อ.สร้างคอม , ทุ่งฝน , เพ็ญ ประจักษ์ และไชยวาน อยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเฝ้าระวัง ทุกบ้าน ทุกชุมชน ทุกหมู่บ้าน ต้องช่วยกันกำจัดยุง และลูกน้ำยุงลาย ตามที่มีการรณรงค์ทำกันทุกวันศุกร์ ….