วันจันทร์, พฤษภาคม 20, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคม“บัสซิ่ง ทรานสิท”สนลงทุนอุดรซีตี้บัส

“บัสซิ่ง ทรานสิท”สนลงทุนอุดรซีตี้บัส

“บัสซิ่ง ทรานสิท” กลุ่มสตาร์ทอัพขนส่ง ที่เข้าบริหาร“ขอนแก่นซิตี้บัส”ต่อ ยืนยันพร้อมลงทุนอุดรซิตี้บัส สาย 20 และ 22 หากได้รับการคัดเลือก วิ่งได้ก่อน 1 ธ.ค.ปีนี้

เมื่อบ่ายวันที่ 8 พฤษภาคม 2567 ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุรัตน์ ชั้น 3 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายวันชัย คงเกษม ผวจ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมคณะอนุกรรมการการจัดการจราจรทางบก (อจร.) อุดรธานี มีนายกฤต อรรคศรีวร หน.สานักงานจังหวัดอุดรธานี นำผู้แทนจาก สนง.นโยบายและแผนขนส่งและการจราจร (สนข.) , องค์กรภาคเอกชนอุดรธานี , หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุม และผู้แทนกรมขนส่งทางราง , การรถไฟแห่งประเทศไทย และบางหน่วยงาน ร่วมประชุมทางไกล

ผู้แทนจาก สนง.นโยบายและแผนขนส่งและการจราจร (สนข.) ได้รายงานผลการดำเนินงานและติดตามความคืบหน้า แผนแม่บทการพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะในเขตเมืองอุดรธานี ว่า แผนแม่บทฯมี 8 โครงการ แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 พ.ศ.2563-2569 พัฒนาโครงข่ายขนส่งสาธารณะ 5 สาย ได้แก่ สายสีแดง , สายสีส้ม , สายสีน้ำเงิน , สายสีเขียว และสายสีชมพู โดยให้มีการน้ำร่อง 2 เส้นทาง คือ สายสีแดง และสายสีส้ม ระยะที่ 2 พ.ศ.2570-2582 คือ สายสีเหลือง แต่จากสถานกาณ์โควิด-19 ทำให้การเริ่มต้นล่าช้า จนถึงขณะนี้อยู่ระหว่างประกาศเชิญชวน ให้ผู้มาลงทุนในเส้นทางสายสีแดง และสายสีส้ม ซึ่งจากจำนวนผู้ใช้บริการ ความเหมาะสมจึงเป็นรถประจำทาง ก่อนการพัฒนาเป็นการขนส่งแบบอื่น

นอกจากนี้ยังมีโครงการศูนย์ซ่อมบํารุง , แผนพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งสาธารณะหลักรวมทั้งจุดจอดแล้วจร 4 พื้นที่ รวม 3 โครงการ คือ รอบสถานีขนส่งสาธารณะบริเวณยูดีทาวน , เซ็นทรัลพลาซ่าอุดรธานี , การพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีรถไฟอุดรธานี และการพัฒนาพื้นที่ย่านกลางเมือง ตลอดจนแผนการจัดระบบการจราจรในเขตเมืองอุดรธานี 4 แผนงาน 34 โครงการ วงเงิน 1,010.54 ล้านบาท แก้ปัญหาการจราจรติดขัดเขตเมืองชั้นใน , การจราจรติดขัดหน้าโรงเรียน , การจอดรถสองข้างทางในเขตเมือง , จราจรติดขัดบริเวณจุดตัดทางรถไฟ , ความปลอดภัยในเขตเมือง และอื่น ๆ

ผู้แทน สนง.ขนส่ง จ.อุดรธานี แจ้งว่า รถโดยสารทั้ง 2 สาย จะเป็นรถโดยสารปรับอากาศชั้น 2 จำนวน 21-30 ที่นั่ง รวม 6-10 คัน เดินรถไป-กลับขั้นต่ำวันละ 60 เที่ยว สายที่ 20 (สีแดง) ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซีสาขาอุดรธานี – ท่าอากาศยานอุดรธานี ระยะทาง 15.2 กม. เส้นทางมีดังนี้ ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี-ตลาดเมืองทองเจริญศรี-ตลาดหนองบัว-ยูดีทาวน-สถานีรถไฟ-ห้างเซ็นทรัล-ห้าแยกวุ่นวาย-หอนาฬิกา-สรรพสามิตร-ทุ่งศรีเมือง-ทน.อุดรธานี-ศาลากลาง-ททท.-อบจ.-รร.บ้านเชียง-รร.อุดรพิทย์ฯ-แยกอาชีวะ-แยกวัดโพธิสมภรณ์-ตลาดโพศรี-แยกบ้านเลื่อม-สถานีขนส่งแห่งที่2-ม.กีฬาแห่งชาติ-รร.อุดรพิชัยรักษ์-ท่าอากาศนายนานาชาติ

สายที่ 22 (สีส้ม) วงกลมสถานีรถไฟอุดรธานี – โรงพยาบาลอุดรธานี ระยะทาง 9.80 กม. เส้นทางมีดังนี้ สถานีรถไฟ-รพ.กรุงเทพอุดรฯ-ตามถนนวัฒนานุวงษ์-แยกชลประทาน-ว.เทคนิค-หลังศาลากลาง-รร.เทศบาล2-รพ.วัฒนา-พระตำหนักหนองประจักษ์ฯ-รพ.ศูนย์อุดรธานี-วัดโพธิสมภรณ์-รร.เทศบาล5-แยกคอกม้า-ถนนศรีชมชื่น-กฟภ.-หลังเรือนจำ-ถนนอำเภอ-รร.บ้านหมากแข้ง-ถนนศรีสุข-อนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ฯ-แยกรวมทวี-สถานีขนส่งแห่งที่1-เซ็นทรัล-สถานีรถไฟ ประกาศเชิญชวนผู้ลงทุน ตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน – 17 พฤษภาคม 2567 มีผู้สนใจสอบถามรายลบะเอียด 2 ราย ยังไม่ยื่นเสนอตัวเป็นทางการ

นายภูริภัทร์ ลิมป์นิศากร กรรมการ บ.บัสซิ่ง ทรานสิท จก. สตาร์ทอัพทำโซลูชั่นด้านขนส่ง ที่รับช่วงบริการ “ขอนแก่นซิตี้บัส” บ.ขอนแก่นพัฒนาเมือง จก. เปิดเผยว่า หลังจากอุดรธานีประกาศเชิญชวน ให้ผู้สนใจเข้าไปลงทุนรถโดยสารสาย 20 (สีแดง) และสาย 22 (สีส้ม) เมื่อไปดูรายละเอียดแล้ว มั่นใจว่า “บัสซิ่ง ทรานสิท” จะเสนอตัวลงทุนทั้งสองสาย โดยจะยื่นเอกสาร สนง.ขนส่ง จ.อุดรธานี ภายในวันที่ 17 พฤษภาคม 2567 วันสุดท้ายตามประกาศแน่นอน และหากเราได้รับเลือก เราสามารถเดินรถได้ก่อน 1 ธันวาคมปีนี้

“ บัสซิ่ง ทรานสิท รวมตัวรับช่วงขอนแก่นซิตี้บัส เพื่อต้องการให้ขนส่งสาธารณะขับเคลื่อนได้ เราได้ช่วยกันระดมทักษะและไอเดีย อาศัยเทคโนโลยีที่ประหยัด แต่อำนวยความสะดวกได้จริงบนหลัก 4 ข้อ คือ เรียบง่าย ประหยัด มีประสิทธิภาพ และยืดหยุ่น โดยการเชื่อมต่อรถซิตี้บัสกับระบบ GPS เพื่อเก็บข้อมูลพิกัดของรถแบบ Real-time , สื่อสารกับผู้ใช้บริการผ่าน Live Map ของขอนแก่นซิตี้บัส เพื่อติดตามเส้นทางเดินรถ หรือตำแหน่งรถจะมาถึงจุดที่รอ ตลอดจนข่าวสารต่าง ๆ รวมทั้งการจ่ายค่าโดยสารใช้เทคโนฯผสมผสาน ”

นายภูริภัทร์ ลิมป์นิศากร กล่าวต่อว่า ตนอยู่ในทีมขอนแก่นซิตี้บัสเดิม และเป็นที่ปรึกษาของอุดรซิตี้บัส เมื่อรับช่วงต่อขอนแก่นซิตี้บัส เราช่วยกับพัฒนาระบบราว 2 เดือน ตามที่เราได้กำหนดหลักกา รเอาไว้ ระบบที่เราใช้อยู่มีผู้ประกอบการซิตี้บัส ที่เกิดขึ้นมาในช่วงไล่เลี่ยกัน คือ เชียงใหม่ และภูเก็ต ก็ให้ความสนใจเอาระบบเราไปใช้ ทำให้บัตรค่าโดยสาร ซิตี้บัสขอนแก่น ภูเก็ต และเชียงใหม่ สามารถใช้ด้วยกันได้ สำหรับที่ จ.อุดรธานี หากเราได้รับความไว้วางใจ ก็จะนำเอาระบบเดียวกันมาใช้…..

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments