วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
Google search engine
หน้าแรกธุรกิจ2 ปริศนาภูฮ่อม ยังไม่ขอใช้ป่า-ภาคหลวงคนละครึ่ง

2 ปริศนาภูฮ่อม ยังไม่ขอใช้ป่า-ภาคหลวงคนละครึ่ง

ยังต้องหาคำตอบ 2 ปริศนา 13 ปีก๊าซธรรมชาติแหล่งสินภูฮ่อม จ.อุดรธานี และ จ.ขอนแก่น ยังไม่ได้รับอนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวน จี้เร่งรัดให้ดำเนินการก่อมีปัญหา ขณะการจัดสรรคค่าภาคหลวง ได้รับคำตอบเพียงว่าทำถูกต้องแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานจากด จ.อุดรธานี (13 มี.ค.64) ในการประชุมคณะกรรมการติดตามตรวจสอบ โครงการพัฒนาแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อม จ.อุดรธานี ครั้งที่ 32 (1/2564) มีนายนิติพัฒน์ ลีลาเลิศแล้ว รอง ผวจ.อุดรธานี เป็นประธานฯ โดยบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จก.รายงานผลการดำเนินงานในปี 2563 และแผนงานในปี 2564 หลังจากแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติสินภูฮ่อม เริ่มผลิตก๊าซมาตั้งแต่ปี 2550 จนถึงปี 2563 รวม 13 ปี ดำเนินการผลิตใน 3 ฐานผลิต ฐาน A หลุมภูฮ่อม 5 , ฐาน B หลุมภูฮ่อม 3 และฐาน C ภูฮ่อม 4-11-13-15 และปี 64 จะเจาะเพิ่มที่ ฐาน B หลุมภูฮ่อม 16 และฐาน D หลุมภูฮ่อม 14

ตลอด 13 ปีที่ผ่านมา มี อบต.อยู่ในพื้นที่สัมปทาน 16 แห่ง ที่จะได้รับค่าภาคหลวง แยกเป็น จ.อุดรธานี 11 แห่ง จ.ขอนแก่น 5 แห่ง แต่ละ อบต.ได้รับค่าภาคหลวงมาแล้วรวม 228.96 ล้านบาทเท่า ๆกัน ซึ่งปีล่าสุด 2563 ได้รับค่าสภาคหลวง อบต.ละ 9.9 ล้านบาท ส่วน อบจ.อยู่ในพื้นที่สัมปทาน 2 จังหวัด คือ จ.อุดรธานี และ จ.ขอนแก่น ที่จะได้รับค่าภาคหลวงคนละครึ่ง ทั้งหมดได้รับค่าภาคหลังรวมแห่งละ 1,197.75 ล้านบาท โดยปีล่าสุด 2563 ได้รับค่าภาคหลวงแห่งละ 54.2 ล้านบาท

นายเวทิน พุ่มอินทร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทสจ.) อุดรธานี กล่าวว่า รู้สึกเป็นห่วงประเด็นข้อกฎหมาย เนื่องจากพื้นที่โครงการอยู่ในพื้นที่ป่าสงวนฯ การเข้าไปทำกิจกรรมในพื้นที่ จะต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่ก่อน สำหรับโครงการนี้แม้จะมีมติ ครม. ให้เข้าสำรวจและผลิตก๊าซได้ก่อน เพื่อความมั่นคงด้านพลังงาน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เมื่อเข้ามาดำเนินการแล้วจะไม่ต้องขออนุญาต ยังต้องขออนุญาตและได้รับอนุญาตอยู่ และจนถึงขณะนี้ผ่านมา 13 ปี โครงการนี้ยังไม่ได้รับอนุญาต

“ อยากจะให้เร่งรัดดำเนินการขออนุญาต เพราะที่ผ่านมามีมติ ครม.ออกมาอีกหลายฉบับ ไม่แน่ใจว่ามติ ครม.เดิม ยังคงมีผลบังคับอยู่หรือไม่ เกรงว่าหากไม่มีผลไปแล้ว โครงการสินภูฮ่อมจะต้องหยุด ไปจนกว่าจะได้รับอนุญาตจากเจ้าของพื้นที่ก่อน รวมไปถึงการจะต้องเจาะสำรวจใหม่ 2 หลุม อยู่ในพื้นที่แผนงานเดิมหรือไม่ และการวางท่อก๊าซที่จะต้องใช้พื้นที่ป่าสงวน ก็มีกฎหมายระเบียบปฏิบัติไว้เช่นเดียวกัน ”

นายสมัคร บุญปรก รองนายก อบจ.อุดรธานี กล่าวว่า ประชาชนสอบถามมาว่าทำไม การจัดสรรค่าภาคหลวงก๊าซภูฮ่อมไม่เป็นธรรม ทั้งที่ฐานการผลิตก๊าซ และหลุดเจาะก๊าซ ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ของ จ.อุดรธานี (พื้นที่ จ.ขอนแก่น อยู่ในเฉพาะฐาน A เฉพาะหลุมภูฮ่อม 5 ขณะที่อุดรธานี มีฐานะผลิต B , C , D หลุมเจาะภูฮ่อม 3 , 4 , 11 , 13 , 15) แต่กลับต้องแบ่งภาคภาคหลวงคนละครึ่ง โดยการประชุมปีก่อนได้สอบถามแล้ว และในปีนี้ยังจะมีการเจาะอีก 2 หลุม ซึ่งอยู่ในฐาน B , D และอยู่ในพื้นที่ จ.อุดรธานี

นายปรศักดิ์ งามสมภาค หัวหน้ากลุ่มกำกับกิจการปิโตรเลียม กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ชี้แจงว่า โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนน้ำพอง เป็นโรงไฟฟ้าเดียวในภาคอีสาน เพื่อรักษาความมั่นคงไฟฟ้าภาคอีสาน โดยใช้ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งสินภูฮ่อม หากขาดก๊าซที่ภูฮ่อมความมั่นคงจะมีปัญหา จึงจำเป็นต้องเจาะสำรวจเพิ่มเติม และวางท่อก๊าซส่งก๊าซไปผลิตไฟฟ้าที่ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น ให้เพียงพอกับความต้องการ ส่วนปัญหาเรื่องการขออนุญาต ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เท่าที่ติดตามเรื่องคาดว่าต้องใช้เวลาราว 1 ปีเศษ

“ ยอมรับว่าฐานเจาะก๊าซสินภูฮ่อมส่วนใหญ่อยู่ใน จ.อุดรธานี มีเพียงฐานเจาะ A บางส่วนอยู่ในพื้นที่ จ.ขอนแก่น และแต่ละหลุมเจาะก็มีเครื่องวัดปริมาณ ก่อนส่งไปโรงแยกก๊าซ อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น แต่การคิดคำนวณค่าภาคหลวง เป็นเรื่องกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งได้สอบถามไปแล้ว ได้รับคำตอบกลับมาว่า การคิดคำนวณภาคภาคหลวงถูกต้องแล้ว ในลักษณะการคิดคำนวณในภาพรวม คิดรวมในพื้นที่สัมปทานทั้งหมด จึงแบ่งค่าภาคหลวงในสัดส่วนคนละครึ่ง ”

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ยังมีคำถามที่ยังรอความชัดเจน ทั้งเรื่องการขออนุญาตใช้พื้นที่ป่าสงวน ว่าสาเหตุเกิดขึ้นจากอะไร ระหว่างหน่วยงานหรือข้อกฎหมาย รวมทั้งปัญหาเกิดขึ้นจากใคร ระหว่างหน่วยงานของรัฐ หรือผู้รับสัมปทาน การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าจะทำอย่างไร ขณะเรื่องการจัดสรรค่าภาคหลวง ที่ระบุว่าเป็นหน้าที่ของ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ที่ระบุเพียงว่าดำเนินการถูกต้องแล้ว แต่ก็ยังไม่ชี้แจงรายละเอียด ของกฎหมาย ระเบียบขั้นตอน การจัดสรรให้ชัดเจน….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments