วันศุกร์, มีนาคม 29, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมอุดรพบเพิ่ม 12 ทางพาดรถไฟเถื่อน

อุดรพบเพิ่ม 12 ทางพาดรถไฟเถื่อน

จากอุบัติเหตุรถไฟชนรถบัสแสวงบุญ บนทางพาดรถไฟ “ลักผ่าน” พื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา เสียชีวิต 19 ศพ ทำให้ปลายเดือนตุลาคม 2563 อุดรธานีได้ประชุมติดตามค้นหาพื้นที่เสี่ยง เพื่อหาหนทางในการแก้ไข ซึ่งเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องใหม่ของอุดรธานี เพราะเมื่อปลายปี 2557 (ผู้ว่าฯนพวัตร สิงห์ศักดา/รองณรงค์ พลละเอียด/ต่อเนื่อง…) อุดรธานีมีอุบัติเหตุ บริเวณทางพาดรถไฟ มีผู้เสียชีวิตติดต่อกันหลายครั้ง จึงเกิดการเรียกร้องให้แก้ไข ซึ่งการสำรวจพบว่ามีทางพาดรถไฟหลัก

โดยพบจุดตัดทางรถไฟมาตรฐานความปลอดภัย แบ่งเป็นหลายลักษณะ แบบแรก ก1/ก2 ชนิดคาน ทำงานด้วยไฟฟ้า มีพนักงานเฝ้า (ป้อม) มี 4 แห่ง และมือหมุน 1 แห่ง ตัวอย่างที่ทางพาดรถไฟถนนวงแหวนด้านทิศใต้ ใกล้กับแยกบายพาตอุดรธานี-ขอนแก่น มีป้ายเตือนทั้ง 2 ด้าน ก่อน 50 เมตร มีไฟกระพริบเตือน และมีไฟแสงสว่าง ถ้ากระแสไฟฟ้าขัดข้อง และระบบหมุนขัดข้อง จะใช้การลากแผงกั้นมาแทน มีป้ายแจ้งให้รถหยุด แต่รถเพียงแค่ชะลอเท่านั้น

แบบ ก3 ชนิดยกตรง มีพนักงานเฝ้า (ป้อม) ในอุดรธานี มี 5 แห่ง ตัวอย่างที่ทางพาดรถไฟซอยสมิตโยธิน ทน.อุดรธานี มีป้ายเตือนทั้ง 2 ด้าน ก่อน 50 เมตร มีไฟกระพริบเตือน และมีไฟแสงสว่าง ถ้ากระแสไฟฟ้าขัดข้อง และระบบหมุนขัดข้อง จะใช้การลากแผงกั้นมาแทน มีป้ายแจ้งให้รถหยุด แต่รถเพียงแค่ชะลอเท่านั้น ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางพาดหลักที่มีมานาน นอกจากนั้นยังมีทางข้ามอีก 23 แห่ง

ทั้งนี้ช่วงปลายปี 2557 ยังพบว่ามีทางพาดไม่มีอุปกรณ์กั้นจำนวนมาก ทั้งที่เป็นทางมาตรฐาน และเป็นทาง “ลักผ่าน” ศูนย์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนน จึงสั่งการไปยังหน่วยงานข้าวของถนน และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เข้ามาแก้ไขเป็นการเฉพาะหน้า ตามคำนำของ จนท.การรถไฟในพื้นที่ อาทิ ติดตั้งไฟแสงสว่าง-ไฟประพริบ-ไฟวาบๆ-ป้ายเตือนหยุด-ทำลูกระนาด และการจัดเวรยาม ด่านปลอดภัย ในช่วงเทศกาล มีการตรวจติดตามให้ครบแบบทั้งหมดรวม 53 จุด

อุดรธานีได้นำหนังสือขอรับการสนับสนุน อุปกรณ์ปิดกั้นมาตรฐานความปลอดภัย ใช้เวลากว่า 2 ปี อุดรธานีมีการติดตั้งเครื่องปิดกั้นแบบ “อัตโนมัติ” ไม่มีคนเฝ้ารวม 32 จุดๆละหลายล้านบาท มีลักษณะเป็นเครื่องปิดกั้นซ้าย-ขวา จะทำงานเมื่อรถไฟเข้าใกล้ 1.2 กม. มีป้ายเตือน-ป้ายหยุด-ไฟแสงสว่าง-ไฟกระพริบ-เนินลูกระนาด

ในปัจจุบันผู้รับผิดชอบรายงานว่า มีทางพาดรถไฟที่มีเครื่องปิดกั้นรวม 50 จุด มีทางพาดที่สร้างไม่ได้ 1 จุด ซึ่งถือเป็นทางลักผ่าน จึงติดเพียงสัญญาเตือน คือบริเวณถนน อ.โนนสะอาด-ห้วยเกิ้ง มีการก่อสร้างทางพาดด้วยคอนกรีต มีรถขนผลผลิตทางการเกษตร และรถทั่วไปใช้งาน ขณะเดี่ยวกันเกิดทางลักผ่านอีก 12 จุด ที่ใช้หินคลุก และลูกรัง ในการทำถนนให้รถใช้งาน โดยผู้รับผิดชอบยังไม่บังคับใช้กฎหมาย

ทำไมจึงปล่อยปะละเลย ให้เกิดทางลักผ่านเพิ่มขึ้นจำนวนมาก หลังจากอุดรฯเคยแก้ปัญหามาแล้ว โดยทางลักผ่านใหม่ที่เกิดขึ้น จะเป็นพื้นที่เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ จนเป็นเหตุมีผู้เสียชีวิตได้ “รถไฟ” จะต้องให้ความสำคัญคนเสียชีวิตมากขึ้น ไม่ได้มองเพียงความเสียหายของรถไฟ เหมือนที่เคยปฏิบัติมาเท่านั้น …

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments