วันพฤหัสบดี, เมษายน 25, 2024
Google search engine
หน้าแรกธุรกิจสะพัด.ฉีกคำมั่น 58 ปีทิ้ง รง.น้ำตาลกุมภวา

สะพัด.ฉีกคำมั่น 58 ปีทิ้ง รง.น้ำตาลกุมภวา

รง.น้ำตาลกุมภวาฯ ขอตำรวจอุดรดูแลความสงบ แจงพนักงานปิดกิจการ ชดเชยตามกฎหมาย แต่สมาคมไร่อ้อย-หอการค้า-ภาครัฐ เคยได้ยินมาก่อนแต่ไม่ได้แจ้ง

ผู้สื่อข่าวรายงานจาก จ.อุดรธานี มาเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2564 ในตลาดเทศบาลตำบลกุมภวาปี อ.กุมภวาปี มีการเผยแพร่เอกสารผ่าน “ออนไลน์” ของ บ.น้ำตาลกุมภวาปี จก. เจ้าของกิจการโรงงานน้ำตาลกุมภวาปี ที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่เป็น “กลุ่มมิตซุย” และ “บ. มิตซุย ชูการ์ จก.” ลงวันที่ 1 มิ.ย.64 ถึง ผู้บังคับการตำรวจ จ.อุดรธานี ขออนุเคราะห์กำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ มาดูแลความปลอดภัย เกี่ยวกับการปิดดำเนินการปิดกิจการบริษัทฯ ที่นายจ้างจะได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด เพื่อให้พนักงานมีเงินทุนหลังสิ้นสุดการจ้าง ตามโครงการ MIARI : จากกันด้วยดีสู่อนาคตใหม่

โดยมีกำหนดประชุมชี้แจง – รับเอกสารร่วมโครงการ – เปิดรับสมัครร่วมโครงการ 07.00-12.00 น. วันที่ 8 มิ.ย.64 และเปิดรับสมัครร่วมโครงการ 09.00-16.00 น. 9-12 มิ.ย.64 บริษัทฯจึงใครขอความอนุเคราะห์ ขอกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ดูแลความสงบเรียนร้อย ทั้งก่อนและหลังการจัดประชุมเพื่อชี้แจง ตั้งแต่วันที่ 7-30 มิ.ย.64 และ 1-3 ก.ค.64 เพื่อกระจายกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย ตามจุดต่าง ๆตามแผนภูมิการจัดงาน วันละ 2 นาย ยกเว้น 8 มิ.ย.64 จำนวน 15 นาย โดยทางบริษัทฯ ยังไม่ชี้แจงรายละเอียดการปิดโรงงาน

ข้อมูลจากวารสารหอการค้า จ.อุดรธานี ระบุว่าโรงงานน้ำตาลที่ อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี เริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ.2480 บ.ส่งเสริมอุตสาหกรรมไทย จก. สร้างโรงงานน้ำตาล 11 โรง รวมทั้ง “โรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี” ที่ อ.ภุมภวาปี , พ.ศ. 2490 ได้โอนโรงงานน้ำตาลทั้งหมดให้กับ “องค์การน้ำตาลไทย” ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรงอุตสาหกรรม

ต่อมา พ.ศ. 2495 ราคาน้ำตาลตกต่ำ รัฐบาลจึงได้จัดตั้ง “ บ.อุตสาหกรรมน้ำตาลแห่งประเทศไทย จก.” ต่อมาได้ขายโรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี ให้ บ.บุญเกื้ออุตสาหกรรม จก. ในยุคที่โรงงานน้ำตาลมากถึง 48 โรงงาน เกิดภาวะน้ำตาลล้นตลาด รัฐไม่สามารถแก้ปัญหาได้ รง.น้ำตาลจึงหยุดกิจการไปเป็นจำนวนมาก

พ.ศ. 2506 บริษัท บุญเกื้ออุตสาหกรรม จำกัด ได้ขายกิจการให้ บ.ชิบาอุระเซโต ประกอบการโรงงานน้ำตาลในญี่ปุ่น ในนาม บ.ชิบาโต (ประเทศไทย) จก. ต่อมา บ.ชิบาอุระเซโต จก.ได้เชิญกลุ่ม บ.มิตซุย เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ รวมทั้งมีนักธุรกิจชาวไทย กลุ่มผู้ถือหุ้นเดิม ชาวไร่อ้อย และพนักงานบริษัท เข้ามาร่วมถือหุ้นด้วย จากนโยบายให้ความสำคัญ ต่อการมีส่วนร่วมของทุกฝ่าย และเน้นความเป็น “กุมภวาปี” โดยถือเสมือนว่าชาวกุมภวาปีทุกคน มีส่วนของเป็นเจ้าของโรงงานนี้ ภายใต้หลักการว่า ธุรกิจและชุมชนควรมีความเจริญก้าวหน้ามั่นคงไปพร้อม ๆ กัน ในนาม บ.น้ำตาลกุมภวาปี จก. 9 มกราคม 2517

นายไพบูลย์ ธิติศักดิ์ นายกสมาคมชาวไร่อ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า ยังไม่ได้รับแจ้งว่าจะปิด รง.น้ำตาลกุมภวาปี ขณะนี้เป็นช่วงการทำสัญญาซื้ออ้อย ระหว่างโรงงานฯกับชาวไร่ เรื่องการปิดหรือย้ายโรงงาน มีการพูดกันมาหลายปีแล้ว โดยปีที่แล้วผลผลิตอ้อยมีน้อยมาก หากมีการปิดโรงงานจริง ในส่วนของชาวไร่อ้อยไม่น่ามีปัญหา เพราะกลุ่มมิตซุยที่ผู้ถือหุ้นใหญ่ ก็ถือหุ้นใหญ่ใน รง.น้ำตาลเกษตรผล อ.กุมภวาปีด้วย ซึ่งขณะนี้ รง.น้ำตาลเกษตรผล ได้ขยายโรงงานเพิ่มกำลังผลิต สามารถรองรับอ้อยจาก รง.น้ำตาลกุมภวาปีได้

นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัย รองประธานหอการค้าไทย (อีสาน) อดีตประธานหอการค้า จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า ยังไม่รู้เรื่องแผนการปิด รง.น้ำตาลกุมภวาปี ขอตรวจสอบแล้วตอบภายหลังว่า ยังไม่มีโอกาสพูดคุยกันผู้ลงทุน มีเฉพาะข้อมูลจากนักธุรกิจในพื้นที่ ซึ่งก็ยังไม่ชัดเจนเรื่องเหตุผล และขั้นตอนของการปิดโรงงาน ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าตกใจ ที่โรงงานที่เติบโตมาคู่มากับ อ.กุมภวาปี ระบบเศรษฐกิจมีห่วงโซ่เชื่อมโยงเข้าหากัน ไม่ใช่เพียงชาวไร่อ้อย นำอ้อยมาขายให้โรงงานเท่านั้น หรือแรงงานโรงงาน แต่หมายถึงภาพรวมทั้งหมด

“ นักธุรกิจในพื้นที่บอกว่า มีแผนปิดโรงงานนานแล้ว โดยไปขยายกำลังผลิตอีกโรงไว้ ขณะหลายปีที่ผ่านมา มี รง.น้ำตาลขยายกำลังผลิต และย้ายเข้ามาตั้งใหม่ เกิดการแย่งซื้ออ้อยเข้าโรงงาน และยังมี รง.แป้งมันมาลงทุนอีก ชาวบ้านหันไปปลูกมันสำปะหลัง รวมทั้ง รง.น้ำตาลกุมภวาปี ไม่คล่องตัวในการแย่งซื้ออ้อย ผลผลิตก็ได้น้อยลงเรื่อย ๆ แต่ก็ยังอยากรู้เหตุผลจากโรงงาน ซึ่งเรื่องนี้ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี รับรู้เป็นการเบื้องต้นแล้ว และสั่งให้หน่วยรับผิดชอบลงไปติดตาม หอการค้าฯก็จะไปดูเช่นกัน ”

นายพรเทพ จวงทอง อดีตนายก ทต.กุมภวาปี เปิดเผยว่า เรื่องปิดโรงงานหรือย้ายโรงงาน มีข่าวว่าคุยกันมาหลายปีแล้ว แต่ปีนี้ไม่ได้ส่งสัญญาอะไร วานก่อนก็ยังเงียบๆอยู่ จนเย็นวานพนักงานในโรงงานมาบอกเรื่องนี้ รง.น้ำตาลฯอยู่คู่กับเมืองใหม่กุมภวาปี มีคนงานประจำราว 300 คน คนงานชั่วคราวช่วงเปิดหีบ 2,000 คน ทุกคนเข้าไปเกี่ยวข้องกับ อุตสาหกรรมอ้อยน้ำตาล ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม แม้ชาวไร่จะมีที่ส่งอ้อย การปิดโรงงานก็จะกระทบเศรษฐกิจ ของ ทต.กุมภวาปี แน่นอน

อดีตนายก ทต.กุมภวาปี ตอบคำถามด้วยว่า พนักงานบอกว่าโรงงานกู้เงินไม่ได้ เราก็ไม่รู้ว่าใช้เหตุผลจริง ๆ หรือทั้งหมดไหม เราเองก็อยากจะรู้ และอยากเห็นแผนการปิด ส่วนเรื่องมีปัญหากับชุมชนหรือไม่ ในภาพรวมคืออยู่ร่วมกันมานานมาก จนมีสภาพโรงงานตั้งอยู่ในชุมชน เมื่อปีก่อนมีประชาชนกลุ่มหนึ่ง ร้องเรียนปัญหาควัน-กลิ่น-น้ำเสีย ในฐานะนายกฯก็เข้าไปติดตาม แก้ไขปัญหากับหน่วยรับผิดชอบ เรื่องนั้นก็จบลงไปแล้ว

นายประชา มีธรรม อุตสาหกรรม จ.อุดรธานี เปิดเผยว่า ไม่เคยได้รับจาก รง.น้ำตาลกุมภวาปี ว่าจะปิดกิจการมาก่อน รวมทั้งไม่ได้รับการส่งสัญญามา ขณะเดียวกันช่วงนี้โรงน้ำตาล “ปิดหีบ” โดยหน้าที่ของ สนง.อุตสาหกรรมจังหวัด ก็เป็นเพียงผู้ออกใบอนุญาต ให้เป็นไปตามกฎหมาย บางทีมีโรงงานไม่ได้ดำเนินกิจการแล้ว มาขออนุญาตปิดภายหลังก็มี วันพรุ่งนี้คงไม่ไปติดตามการชี้แจงของโรงงาน ถ้าจะไปเกี่ยวข้องก็ต้อนกระทบชาวบ้าน การปิดกิจการก็น่าจะกระทบกับแรงงานมากกว่า ขณะเดียวกันช่วงนี้ทุกฝ่ายกำลังคุมเข้ม ป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ….

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments