วันจันทร์, เมษายน 29, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมทางต่างระดับแยกบ้านจั่นอุดร รอรถไฟตัดสินใจยกรถไฟทางคู่

ทางต่างระดับแยกบ้านจั่นอุดร รอรถไฟตัดสินใจยกรถไฟทางคู่

ที่ปรึกษา ทล.ยืนยันแบบทางต่างระดับ “แยกบ้านจั่น” ทำภายใต้ข้อจำกัด โดยเฉพาะทางพาดรถไฟ ทางคู่อยู่พื้น-ความเร็วสูงยกขึ้น ยอมรับแบบที่ออกมามีความกังวน หากรถไฟเปลี่ยนใจออกแบบให้ใหม่ ทางข้าม 950 ม.ลดเหลือเพียง 280 ม. ขณะเวทีสาธารณะ ทีวี.ช่องดัง ไร้เงาคนการรถไฟ และ สนข.

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 6 พฤษภาคม 2565 ที่โรงแรมสยามแกรนด์ อ.เมืองอุดรธานี นายเอ นก สุวรรณภูเต ผอ.แขวงทางหลวงอุดรธานี ที่ 1 เป็นประธานประชุม (ใหญ่ครั้งที่ 3) สรุปผลการศึกษาโครงการสำรวจและออกแบบทางแยกต่างระดับ จุดตัดทางหลวงหมายเลข 2 กับทางหลวงหมายเลข 216 (แยกบ้านจั่น) มีนายฐิฎิกรณ์ อภิบุญสุวรรณ วิศวกรจราจร/งานทาง และนายฤทธิชัย วุ้นศิริ ผู้ชำนาญการสิ่งแวดล้อม ที่ปรึกษาโครงการฯ สรุปผลการศึกษาด้านวิศวกรรม-จราจรขนส่ง-วิเคราะห์เศรษฐกิจการเงิน-สิ่งแวดล้อม และตอบคำถาม รับฟังความคิดเห็น

นายฐิฎิกรณ์ อภิบุญสุวรรณ วิศวกรจราจร/งานทาง ที่ปรึกษาโครงการฯ ชี้แจงว่า โครงการนี้เห็นความยากตั้งแต่ต้น เพราะอยู่ภายใต้ข้อจำกัด 1.ไม่เวนคืนที่ดิน , 2.อยู่ห่างจากทางพาดรถไฟเพียง 450 ม. , 3.มีคลองระบายน้ำขนานกับถนน 216 , 4. เป็นเขตนิรภัยการบินจำกัดความสูง และ 5. ทางพาดรถไฟจะมีทั้งรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง ซึ่งการรถไฟยื่นยัน (17 ธ.ค.64) ว่ารถไฟทางคู่อยู่ระนาบพื้นเดิม และกำลังจะนำเข้า ครม.อนุมัติ เริ่มดำเนินการ ส่วนรถไฟความเร็วสูงยกทางข้าม อยู่ระหว่างการทำ อีไอเอ.

“ การรับฟังคิดเห็นหลายครั้ง ตลอดจนข้อเรียกร้องเอกชน และประชาชนในพื้นที่ ต้องการให้ยกรางรถไฟทั้งทางคู่ และความเร็วสูง ข้ามจุดตัดทางพาดรถไฟนี้ ผู้ศึกษาได้ทำหนังสือสอบถามไปยังการรถไฟยืนยันรูปแบบ (5 เม.ย.65) เราพร้อมทำทุกรูปแบบของการรถไฟ ขณะนี้ยังไม่ได้รับคำตอบ ทำให้รายงานในวันนี้จึงอยู่ในข้อจำกัดเดิมก่อน คือ การสร้างทางข้ามบนทางหลวง 216 ข้ามแยกบ้านจั่น – ข้ามรถไฟทางคู่ – ลอดรถไฟความเร็วสูง ยาว 950 ม. , สร้างทางรองหรือแล้มป์ ให้รถวิ่งขึ้นลงระหว่างแยกบ้านจั่น-ทางพาดรถไฟ 2 ชุด , สร้างทางลอดทางรถไฟให้รถเล็กผ่าน และสร้างทางลอด(อุโมงค์)บนถนนมิตรภาพ ”

นายชัยฤทธิ์ เขาวงษ์ทอง ส.อบจ.อ.เมืองอุดรธานี และผู้ร่วมเวที ที่ยังต้องการให้การรถไฟ ยกรถไฟทางคู่ขึ้น เหมือนกับรถไปความเร็วสูง และมีความเป็นห่วงรูปแบบ ทางต่างระดับของที่ปรึกษา 1.ทางรองหรือแลมป์ทางขึ้น-ทางลง อยู่ใกล้ทางแยกไม่ถึง 50 เมตร จะเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย , 2.ปริมาณรถที่มาจาก จ.ขอนแก่น และเลี้ยวขวาไป จ.หนองคาย มี 2 ช่องจราจร แต่ทางรองหรือแลมป์มีเพียง 1 ช่องทาง น่าจะรองรับรถจำนวนมากได้ และยังต้องรองรับรถจาก ทน.อุดรธานี เลี้ยวซ้ายนออกมาด้วย ซึ่งจะต้องแย่งกันขึ้นทางรองหรือแลมป์ มีความเสี่ยงจะเกิดอุบัติเหตุได้ รวมไปถึงทางรองหรือแลมป์ขาลงก็จะมีปัญหาลักษณะเดียวกัน

ที่ปรึกษาโครงการฯ ตอบว่า ยอมรับค่อนข้างมีความกังวล กับข้อจำกัดความห่างของทางแยก กับทางพาดรถไฟ ที่จะทำให้ทางรองหรือแล้มป์อยู่ห่างเพียง 50 เมตร จึงจะต้องลงไปดูในรายละเอียดเพิ่มเติม โดยได้เลือกหนทางที่ดีที่สุดแล้ว รวมไปถึงที่เวทีฯต้องให้ออกแบบหาก “รางรถไฟยกข้ามทางพาดทั้งหมด” จึงออกแบบเบื้องต้นไว้ คือ ทางข้ามบนทางหลวง 216 จะลดลงจาก 950 ม. เหลือ 280 ม. ขนาดโครงการลดลง ไม่ต้องทำ อีไอเอ.ใหม่ , งบประมาณลดลง แต่รถไฟใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น ระหว่างรอการรถไฟตัดสินใจ จะเสนอให้สร้างทางลอดหรืออุโมงค์ไปก่อน

เวลา 17.00 น. วันเดียวกัน ที่พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี สถานีโทรทัศน์ ไทยพีบีเอส. จัดให้มีเวทีสาธารณะ ชวนพี่น้องฅนอุดรฯ เว้าจาแบบมีส่วนร่วมในหัวข้อ ” การยกระดับรถไฟฟ้าทางคู่ สู่การพัฒนาเมืองอุดรที่ยั่งยืน ” โดยเชิญหน่วยงานเกี่ยวข้องมาร่วม ซึ่งมีนายวันชัย จันทร์พร รอง ผวจ.อุดรธานี , นายกเทศมนตรีนครอุดรธานี , ประธานหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ , ที่ปรึกษาสภาอุตสาหกรรมอุดรธานี , ตัวแทนภาคประชาชน และนายชัยฤทธิ์ เขาวงศ์ทอง ส.อบจ.อุดรธานี ผู้ขับเคลื่อนเปิดประเด็น มาร่วมเวทีตามนัดหมาย แต่ไม่มีตัวแทนของการรถไฟ หรือ สนข. เดินทางมาร่วมเวทีตามที่นัดหมาย…

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments