วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกท้องถิ่น“มะกัน”ช่วย“นครอุดร”คิดสร้างเมืองสีเขียว

“มะกัน”ช่วย“นครอุดร”คิดสร้างเมืองสีเขียว

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 4 ธันวาคม 2563 ที่ห้องประชุมชั้น 3 อาคารพัชรกิตติยาภา เทศบาลนครอุดรธานี นายอิทธิพนธ์ ตรีวัฒนสุวรรณ นายก เทศบาลนครอุดรธานี นางวราพร ศิริประเสริฐ รองนายก ทน.อุดรธานี ให้การต้องรับนายเอเวน ฟอกซ์ จนท.แผนกเศรษฐกิจ สถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย และคณะฯ ที่มาติดตามความมือกับทีม U.S. Army Corps of Engineers โดยนายดาวเรือง หากันได้ ผอ.สำนักการช่าง นำผู้เกี่ยวข้องชี้แจง

นายเอเวน ฟอกซ์ จนท.แผนกเศรษฐกิจ กล่าวว่า ปฏิบัติหน้าที่ในสถานทูตสหรัฐอเมริกา ประจำประเทศไทย ทำหน้าที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจ เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ และสิ่งแวดล้อม การเดินทางมาวันนี้นอกจากมาติดตามความร่วมมือ “โครงสร้างพื้นฐานสีเขียว” กับ ทน.อุดรธานี ยังต้องการเก็บข้อมูลจาก ทน.อุดรธานี อาทิ ไบโอแมส , รถไฟความเร็วสูงเชื่อมไทย-จีน , เศรษฐกิจในอนาคต และโควิด-19

นายอิทธิพนธ์ฯ นาย ทน.อุดรธานี กล่าวว่า อุดรธานีมีความผูกพันกับสหรัฐอเมริกา ตั้งแต่ทหารอเมริกันมาประจำการที่นี้ โครงสร้างเมืองรับการพัฒนาไปด้วยดี การสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกา จากทีม U.S. Army Corps of Engineers ติดต่อกันมากว่า 2 ปี ในเรื่องโครงสร้างสิ่งสาธารณูปโภคสีเขียว ทำให้ ทน.อุดรธานีได้รับความรู้ใหม่ วิธีคิด และคำแนะนำ จนนำมาต่อยอดในแผนพัฒนาเมือง ทั้งลำห้วยหรือสวนสาธารณะ เมื่อเป็นรูปธรรมนครอุดรฯ จะเป็นตัวอย่างให้กับเมืองอื่นๆ

“ นครอุดรธานีมีเป้าหมายกรีนซิตี้ ให้คนเมืองอยู่กับภาพแวดล้อมที่ดี ขณะท้องถิ่นก็ต้องเตรียมพร้อม รับกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อมจีน ที่จะต้องมีทั้งผู้คนและสินค้าทะลักเข้ามา เรามีสินค้าอะไรบ้างจะส่งไปขาย โครงสร้างพื้นฐานที่มีปัญหา คือระบบขนส่งมวลชนต้องพัฒนา ซึ่งอุดรธานีทุกภาคส่วนกำลังขับเคลื่อน สำหรับโควิด-19 อุดรธานีไม่ใช่เมืองมีนักท่องเที่ยว จากต่างประเทศเดินทางมามาก ผลกระทบจึงเบากว่าภูเก็ต เชียงใหม่ ชลบุรี ขณะการป้องกันทุกส่วนได้ร่วมกัน ”

นายดาวเรือง หากันได้ ผอ.สำนักการช่าง ทน.อุดรธานรี กล่าวว่า สภาพของตัวเมืองอุดรธานี จะมีปัญหาน้ำท่วมมาต่อเนื่อง การแก้ปัญหาที่ผ่านมา มีเป้าหมายสร้างระบบระบายน้ำ ให้น้ำไหลออกนอกเมืองเร็วที่สุด ก็แก้ไขปัญหาได้ในระดับหนึ่ง แต่พอถึงฤดูแล้งไม่มีฝนตกลงมา เราก็จะมาพบกับปัญหาน้ำเสีย เมื่อร่วมกันทำงานกับ U.S. Army Corps ทั้งทฤษฎีใหม่ๆ ทดลองปฏิบัติจริง มาสร้างแบบจำลอง จนได้ซอฟแวร์มาปฏิบัติการณ์

“ เราพบว่าระบบโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว จะสามารถแก้ไขปัญหาน้ำท่วมได้เช่นกัน และยังเพิ่มคุณภาพสิ่งแวดล้อม จึงนำแนวทางนี้มาใช้ในโครงการต่างๆ โดยโครงการขนาดใหญ่ปรับปรุงห้วยหมากแข้ง เฟสแรกถนนศรีสุข-ถนนอุดรดุษฎี ระยะทาง 2,026 ม. ในรูปแบบโครงสร้างพื้นฐานสีเขียว ถูกบรรจุในงบประมาณรัฐบาลปี 64 วงเงิน 150 ล้านบาท ขณะนี้กรมโยธาธิการฯ กำลังตรวจสอบและปรับแก้ไขแบบ คาดว่าจะประกวดราคาได้ราวเมษายนปีหน้า ”

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า “โครงสร้างพื้นฐานสีเขียว” ยึดแนวทางโครงการต่างๆ จะต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม อาทิ การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในเมืองทุกมิติ สถานที่ราชการ-ริมถนน-สวนสาธารณะ-และที่รกร้าง , การทำให้ลำห้วยระบายน้ำได้ และรักษาระบบนิเวศน์ ให้น้ำซึมลงใต้ดินตามธรรมชาติ จะทำให้พืชน้ำ พืชชายน้ำ และอื่นๆ บำบัดน้ำให้มีคุณภาพดี…

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments