วันศุกร์, เมษายน 26, 2024
Google search engine
หน้าแรกการเมืองเลือก อบจ.อุดรมีร้องทำลายป้าย-ติดผิดที่

เลือก อบจ.อุดรมีร้องทำลายป้าย-ติดผิดที่

อาทิตย์ 20 ธันวานี้ ไปสิทธิเลือกตั้ง อบจ.อุดรธานี ไม่รู้จะเลือกใครมีช่องให้กา ตรวจสอบรายชื่อผู้มีสิทธิ เพิ่ม-ถอนชื่อภายใน 9 ธันวา

เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 3 ธันวาคม 2563 ที่ห้องประชุมชั้น 5 อาคารองค์การบริหารส่วน จ.อุดรธานี นายวันชัย จันทร์พร รอง ผวจ.อุดรธานี ในฐานะประธานคณะกรรมการการเลือกตั้งนายก-สมาชิก สภา อบจ.อุดรธานี ที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม 2563 (ครั้งก่อน 17 มิ.ย.55) พร้อมคณะกรรมการ และผู้อำนวยการการเลือกตั้ง จัดแถลงข่าวกับสื่อมวลชน ในขั้นตอนตามกฎหมาย และความพร้อมจัดการเลือกตั้ง

อุดรธานีมี 20 อำเภอ แบ่งเขตการเลือกตั้งเป็น 42 เขต จัดให้มีหน่วยเหลือตั้ง 2,295 หน่วย จากผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 1,217,918 คน มีเป้าหมายคนมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 70 % (ครั้งก่อน 57.7 %) มีผู้สมัครนายก อบจ.อุดรธานี 7 คน มีผู้สมัคร ส.อบจ. 216 คน เขตเลือกตั้งมีผู้สมัครน้อยสุด 3 คนมากที่สุด 8 คน การปิดประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่หน้า อบจ.อุดรธานี , หน้าที่ว่าการอำเภอ , หน่วยเลือกตั้ง , แจ้งทางไปรษณีย์ถึงบ้านตามทะเบียนราษฎร์ และตรวจสอบทางออนไลน์ แจ้งเพิ่มชื่อ-ถอนชื่อ ภายใน 9 ธ.ค.63

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถเลือกตั้งนายก อบจ. และสมาชิกสภา อบจ.อุดรธานี หากผู้มีสิทธิได้ย้ายสำเนาทะเบียนบ้าน ออกจากเขตเลือกตั้งของท่าน ไปในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี และยังไม่ครบกำหนดการอยู่ในทะเบียนบ้านใหม่ ท่านจะได้รับสิทธิเลือกตั้งเพียงนายก อบจ.อุดรธานี หากท่านยังประสงค์จะใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภา อบจ. ให้ไปขอเพิ่มชื่อเพื่อรับสิทธิกลับมาเลือกตั่งในเขตเลือกตั้งเดิม

การเดินทางออกไปใช้สิทธิเลือกตั้งในวันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม 2563 ผู้ใช้สิทธิจะต้องสวมหน้ากากอนามัย ผ่านการคัดกรอง ตรวจวัดอุณหภูมิ ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ หากอุณหภูมิเกิน 37.5 องศา จะให้พักคอยเพื่อตรวจวัดอุณหภูมิใหม่ หากอุณหภูมิยังเกินกว่ากำหนด จะให้ลงคะแนนในคูหาที่จัดขึ้นเฉพาะ ทั้งนี้ในการแสดงตัวขอรับบัตรจะต้องเปิดหน้ากากเพื่อรับการตรวจสอบ

ผู้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งจะได้รับบัตร 2 ใบ หรือ 1 ใบ หากท่านฯได้รับสิทธิเพียงอย่างเดียว โดยบัตรแยกเป็นบัตรเลือกนายก อบจ.อุดรธานี และบัตรเลือกสมาชิกสภา อบจ.อุดรธานี หากท่านไม่ประสงค์จะเลือกผู้สมัครใด จะมีช่องให้ท่านได้แสดงสิทธิ “ไม่เลือกใคร” จากเดิมใช้คำว่า “ไม่ประสงค์ลงคะแนน”

นับตั้งแต่มีการสมัครรับเลือกตั้งไปแล้ว และมีการออกรณรงค์หาเสียง ยังมาเกิดคดีความผิดเกี่ยวกับการเลือกตั้ง มีเพียงการร้องเรียนใน 2 ประเด็น 1.ป้ายหาเสียงถูกทำลาย ได้แนะนำให้ผู้สมัครไปแจ้งความกับตำรวจ และทำบันทึกแจ้งมายัง กกต.อุดรธานี , 2. การติดป้ายหาเสียงในจุดไม่เหมาะสม และติดป้ายหาเสียงไม่ตรงกับประกาศ ได้แจ้งให้ผู้สมัครรายนั้นๆทำการแก้ไข หากยังไม่แก้ไขจะแจ้งซ้ำ และหาก กกต.ต้องไปจัดเก็บเอง อาจจะเข้าข่ายการกระทำผิด ทั้งนี้หากการร้องเรียนเมื่อถึงที่สุดพบเป็นการ “ร้องเท็จ” กกต.จะดำเนินการตามขั้นตอน….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments