วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมเร่งแก้“จอกหูหนูยักษ์”ระบาดในทะเลบัวแดง

เร่งแก้“จอกหูหนูยักษ์”ระบาดในทะเลบัวแดง

ผู้ว่าอุดรฯสั่งตั้งคณะทำงาน จัดการ “จอกหูหนูยักษ์” ปีศาจสีเขียวเอเลียนสปีชีส์ ระบาดหนักใน “ทะเลบัวแดง” ชาวบ้าน-นอภ.ประสานเสียง เก็บเท่าไหร่ไม่หมด คาดปีนี้มามากกว่า 2 ล้านตัน
เมื่อเวลา 08.30 น. วันที่ 4 กุมภาพันธุ์ 2565 ที่ห้องประชุมคำชะโนด ชั้น 2 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมศูนย์ปฏิบัติการ จ.อุดรธานี โดยมีนายวันชัย จันทร์พร นายจำรัส กังน้อย รอง ผวจ.อุดรธานี นำผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม และมีประชุมทางไกลกับ 20 อำเภอ โดยรับรายงานว่าในหนองหานกุมภวาปี หรือทะเลบัวแดง มีวัชพืชลอยน้ำโดยเฉพาะ“จอกหูหนูยักษ์” เติบโตขยายพันธุ์ปิดกั้น เส้นทางเข้าออกเรือท่องเที่ยว และมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น
นายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี ได้สั่งการให้นายวันชัย จันทร์พร รองผู้ว่าราชการจังหวัด ร่วมกับนายอำเภอ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และองค์กรปกครองท้องถิ่น ลงไปติดตามหาทางแก้ไขเร่งด่วน รวมทั้งการวางแผนแก้ไขระยะยาว เพราะท่องเที่ยวทะเลบัวแดง เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติสวยงาม มีนักท่องเที่ยวสนใจเดินทางมาทุกปี สร้างรายได้ให้กับชุมชนมาต่อเนื่อง จะกำจัดจอกหูหนูยักษ์อย่างไร เครื่องจักรที่ต้องใช้จากหน่วยงานไหน หรือต้องจัดหาเอง และเมื่อนำขึ้นมาแล้วจะทำปุ๋ย หรือใช้ประโยชน์อื่นได้หรือไม่
ผู้สื่อข่าวเดินทางไปที่ “ท่าเรือเชียงแหว” ทต.เชียงแหว อ.กุมภวาปี จ.อุดรธานี 1 ใน 5 ท่าเรือท่องเที่ยวทะเลบัวแดง พบกับสภาพผิวน้ำหน้าท่าเรือ จอกหูหนูยักษ์ที่ชาวบ้านที่นี่เรียกว่า “จอกหูช้าง” มีลักษณะสีเขียว(ตองอ่อน) แซมด้วยสีน้ำตาล กลีบใบม้วนเรียงกันเป็นชั้น ๆ เกิดและเติบโตขยายพันธุ์ อยู่ชิดติดกันจนปิดผิวน้ำไปมากกว่า 80 % เรือท่องเที่ยวที่จอดอยู่ที่ท่าเรือ ก็ถูกจอกหูหนูยักษ์ปิดล้อมทั้งหมด จะเหลือเห็นผิวน้ำเฉพาะร่องน้ำ ที่ใช้ในการเดินเรือออกไปดูบัวแดง
ขณะบริเวณริมฝั่งหลายจุดพบว่า มีกองซากจอกหูหนูยักษ์ ที่ชาวบ้านร่วมกับ องค์กรปกครองท้องถิ่น และชลประทาน นำแรงงานคนและเครื่องจักร นำขึ้นมาจากน้ำจนมีสภาพแห้งเป็นสีดำ และยังมีร่องรอยของการนำเอา “ซากจอกหูหนูยักษ์” ไปใช้ประโยชน์เป็นปุ๋ย หรือวัสดุปลูก และบริเวณใกล้กันพบเรือดูดโคลนของ กรมทรัพยากรน้ำ 2 คัน จอดอยู่หลังทำการขุดลอกร่องน้ำ เพื่อให้เรือท่องเที่ยวเคลื่อนออกไปได้
นายสมจิตร เจริญวรรณ อายุ 67 ปี รองประธานกลุ่มเรือเชียงแหว เปิดเผยว่า วัชพืชขึ้นเยอะต้านทานไม่ไหว ไม่รู้ว่ามาจากไหน ถ้าเอาออกแล้วก็ดีขึ้น แต่ก็ยังไหลมาตามน้ำอีก รู้แค่ว่ามันเป็นจอกใบใหญ่ แต่ก่อนเห็นแต่ใบเล็ก เอาขึ้นจากน้ำแล้วก็หมดไป แต่ตัวนี้เอาขึ้นยังไงมันก็ไม่หมด เรื่องน้ำไม่มีปัญหา แต่จะสร้างปัญหาคือ จะไปทับทำให้บัวไม่เกิด ตอนนี้ที่หนองหานเยอะแล้ว มองไปทางไหนก็จะเต็มไปหมด พอลมเปลี่ยนทิศก็ไหลมาตามลม ปิดไว้ยังไงก็ไม่อยู่ อยากให้ทางราชการกำจัดให้หมดไป ทางชาวบ้านที่มีจิตอาสา ก็ช่วยกันเอาขึ้นจากน้ำอยู่ตลอด แต่ยังแก้ปัญหาได้ไม่หมดไปสักที
นายสุชาติ ทอนมณี นายอำเภอกุมภวาปี เปิดเผยว่า มารับตำแหน่งที่นี่ 3 ปี แต่ละปีได้แก้ปัญหามาต่อเนื่อง ปีแรกเราเจอปัญหาที่หน้าวัดศรีนคราราม ซึ่งเป็นพื้นที่สถานีสูบน้ำดิบของการประปาส่วนภูมิภาค พบว่ามีจอกหูหนูยักษ์เป็นจำนวนมาก ทำให้คุณภาพดิบที่จะนำไปผลิตน้ำประปาลดลง เราจึงชักชวนพี่น้องจิตอาสากว่าพันคน ร่วมกับหน่วยงานราชการ และภาคเอกชน มานำจอกหูหนูยักษ์ไปกำจัด ในปีแรกนั้นก็ได้ผลดี สามารถควบคุมจุดน้ำดิบเราได้ และในปีต่อมาก็ดำเนินการกันอย่างต่อเนื่อง พี่น้องชาวเรือก็ช่วยกันเก็บอยู่ตลอด
“ จอกหูหนูยักษ์กระจายตัวได้เร็ว ถ้าเก็บขึ้นมาแล้วไม่ดำเนินการต่อเนื่อง ก็จะขยายตัวไปอีกมาก เราได้คุยกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะฝายกุมภวาปี ได้มีการประเมินว่าพื้นที่หนองหานกุมภวาปี จะมีปริมาณจอกหูหนูยักษ์อยู่ 2 ล้านกว่าตัน เราทำเท่าที่ทำได้เพราะเราไม่มีเรือเก็บวัชพืช ต้องแก้ไขเฉพาะในแต่ละปี เรื่องนี้มีผลกับท่าเรือต่าง ๆ เพราะว่าเมื่อเปิดฤดูท่องเที่ยว ลมจากทิศเหนือจะพัดพาวัชพืช เข้ามาปกคลุมพื้นที่ท่าเรือ เราก็ระดมจิตอาสา ชาวเรือ ขอความอนุเคราะห์หน่วยงานอื่น มาสนับสนุนแก้ไขในทุกปี “
นายสุชาติ ทอนมณี นายอำเภอกุมภวาปี เปิดเผยอีกว่า การเก็บวัชพืชในละปีน่าจะไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ เราจะเก็บได้เฉพาะที่อยู่ตลิ่ง โดยใช้เรือดันเข้ามาฝั่ง และใช้รถแบ็กโฮตักขึ้นมา เรื่องนี้ท่านผู้ว่าฯมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานระดับจังหวัด และระดับอำเภอ ขึ้นมาเพื่อแก้ไขเรื่องนี้ ว่าจะแก้ไขกันอย่างไร เริ่มจากแก้ไขเฉพาะหน้า และการแก้ไขอย่างยั่งยืน อย่างเช่นการทำเป็นปุ๋ย ที่สอดคล้องกับทางวิสาหกิจชุมชน ที่จัดตั้งขึ้นในรูปแบบเกษตรปลอดสารพิษ ที่จะสามารถนำวัชพืชนี้มาเป็นปุ๋ย ต่อยอดการทำวิสาหกิจชุมชนนี้ และเพื่อกำจัดวัชพืชนี้ได้ในอนาคต
“จอกหูหนูยักษ์” เป็นวัชพืชลอยน้ำ เป็นพืชที่มีต้นกำเนิดในอเมริกาใต้ มีการน้ำเข้ามาในประเทศไทย ตรวจพบครั้งแรกที่ร้านตู้ปลา “ตลาดจตุจักร” กรุงเทพฯ ต่อมาแพร่ลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ ด้วยเพราะมีการเติบโต และแพร่พันธุ์เร็วมาก ส่งผลกระทบต่อคุณภาพน้ำ และการเติบโตขายพันธุ์ของสัตว์น้ำ กรมวิชาการเกษตรให้สมญาว่า “ปีศาจสีเขียว” และถือเป็นพืชเอเลียนสปีชีส์ ในพื้นที่อุดรธานีเมื่อ 5-6 ปีก่อน ที่อ่างฯห้วยหลวง จากนั้นพบที่อ่างฯบ้านจั่น , อ่างกุดลิงง้อ , อ่างน้ำพาน และที่หนองหานกุมภวาปี….
RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments