วันพฤหัสบดี, พฤษภาคม 2, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคม“วันชัย คงเกษม” ผู้ว่าอุดรฯมอบ 5 นโยบายหลัก

“วันชัย คงเกษม” ผู้ว่าอุดรฯมอบ 5 นโยบายหลัก

ผู้ว่าฯ อุดรธานี ประชุมมอบนโยบาย เน้นการปฏิบัติราชการร่วมกับทุกภาคส่วน เพื่อน้อมนําแนวพระราชดําริ ยุทธศาสตร์ชาติ นโยบายรัฐบาล และความต้องการประชาชน ในพื้นที่มาดําเนินการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 3 ตุลาคม 2565 นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานการประชุมมอบนโยบาย ข้อสั่งการ และแนวทางการบริหารราชการของจังหวัดอุดรธานี ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ ห้องประชุมกรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม อาคาร 1 ชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี โดยมี นายวันชัย จันทร์พร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายนิติพัฒน์ ลีลาเลิศแล้ว รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นายณัฐพงศ์ คำวงศ์ปิน หัวหน้าสำนักงานจังหวัดอุดรธานี หัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอ และผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียง

ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ได้เน้นย้ำและขอความร่วมมือทุกท่าน ทุกภาคส่วน และทุกระดับใช้เป็นกรอบแนวทางการดําเนินงาน คือ ขอให้ใช้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 นโยบายรัฐบาล และแผนพัฒนาจังหวัด อุดรธานี เป็นกรอบแนวทางในการทํางานร่วมกัน และขอเน้นย้ำเรื่องสําคัญเร่งด่วน รวม 5 ด้าน ดังนี้

1. ด้านการปกป้องและเทิดทูน ธํารงรักษาซึ่งสถาบันพระมหากษัตริย์
ขอให้ดําเนินการสื่อสารข้อมูล ข่าวสาร ประวัติศาสตร์ องค์ความรู้ต่าง ๆ ที่ถูกต้อง ผ่านกิจกรรมเพื่อสร้างการรับรู้และตระหนักถึงความสําคัญของประวัติศาสตร์ชาติไทย ใช้หลักการ “ปฏิบัติบูชา” ตามหลักผู้นําต้องทําก่อน โดยน้อมนําหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการทํางาน และดํารงตน การน้อมนําหลักการ “ชัยพัฒนา” คือ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา มาเป็นแนวทางในการปฏิบัติราชการในส่วน ที่เกี่ยวข้องให้เกิดผลสําเร็จ ช่วยกันบํารุงรักษา ต่อยอด และขยายผลการดํารงชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ตลอดจนขยายผลโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ที่มีการ ดําเนินงานในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี มีจํานวน 65 โครงการ

2. ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจ
ขอให้ดําเนินการใช้ประโยชน์จากการประกาศพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor : NeEC) การส่งเสริมการเป็นเมืองศูนย์กลางการจัดประชุมและนิทรรศการ (MICE City) และเมืองกีฬา (Sports City) ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างขีดความสามารถด้านการ แข่งขัน ซึ่งจากโอกาสที่จังหวัดอุดรธานีได้เป็นเจ้าภาพงานในระดับชาติและระดับนานาชาติ อย่างงานมหกรรมการจัดงานพืชสวนโลกในปี พ.ศ. 2569 การแข่งขันจักรยานทางไกล L’Etape by Tour de France ปี 2566-2568 และการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬา แห่งชาติ ครั้งที่ 50 ในปี 2569 จะช่วยสร้างสีสันและกระตุ้นบทบาททางเศรษฐกิจให้กับจังหวัดอุดรธานี การส่งเสริมความเป็นเมืองสมุนไพร (Herbal City) การให้ความสําคัญกับงานพืชสมุนไพร และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านสุขภาพ รวมถึงแนวคิด “อาหารเป็นยา” สอดคล้องกับบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไปหลังการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด – 19) ประกอบกับจังหวัดอุดรธานี เป็น 1 ใน 14 จังหวัดที่ได้รับการ ประกาศจากกระทรวงสาธารณสุขให้เป็น “เมืองสมุนไพร” การพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวทาง BCG Economy (Bio – Circular – Green Economy) ขอให้ใช้แผนยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนประเทศไทยด้วยโมเดล เศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564 – 2569 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 มกราคม 2564 ที่กําหนดให้การพัฒนาตามโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ – เศรษฐกิจหมุนเวียน – เศรษฐกิจ สีเขียว เป็นวาระแห่งชาติตั้งแต่ปี 2564 เป็นต้นไป และการส่งเสริมการพัฒนาตามนโยบายและแผนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

3. ด้านการพัฒนาด้านสังคม และยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน
ขอให้ดําเนินการบริหารจัดการน้ํา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มีพระราชดํารัส เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2529 ความว่า “…ต้องมีน้ำบริโภค น้ําใช้ น้ําเพื่อการเพาะปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มีน้ำคนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้า ไม่น้ำคนอยู่ไม่ได้…” ดังนั้น น้ำ คือ ชีวิต ซึ่งประเทศไทย เป็นประเทศในเขตโซนร้อน (Tropical) ได้รับน้ำฝนจาก อิทธิพลของลมมรสุมหรือพายุโซนร้อนอย่างเดียว ดังนั้น ความสําคัญจึงอยู่ที่การบริหารจัดการน้ำ การแก้ไขปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำา ขอให้ใช้กลไกคณะกรรมการบริหารศูนย์อํานวยการปฏิบัติการขจัดความยากจนและพัฒนาคนทุกช่วงวัย อย่างยั่งยืนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

การป้องกันและควบคุมโรคระบาด แม้กระทรวงสาธารณสุขจะประกาศให้โรค ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ลดระดับจากโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคติดต่อเฝ้า ระวัง ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565 นี้แล้วก็ตาม แต่ขอให้หน่วยงานทางด้านสาธารณสุขและ หน่วยงานเกี่ยวข้องยังคงธํารงแผนเตรียมความพร้อม ทั้งด้านจํานวนเตียง บุคลากรทางการแพทย์และเวชภัณฑ์ไว้ การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ขอให้นายอําเภอร่วมกับหน่วยงานเกี่ยวข้องในพื้นที่ ได้แก่ สํานักงานสาธารณสุขอําเภอ สถานีตํารวจภูธร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกํานันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ สํารวจทําข้อมูล และติดตามเฝ้าระวังคนกลุ่มนี้

ส่วนงานด้านการป้องกันและปราบปรามขอให้เพิ่มความ เข้มแข็งในการปฏิบัติการด้านการข่าว จับกุมผู้ค้า ปิดล้อม สกัดกั้น และขอให้ใช้กลไกศูนย์ อํานวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัด เป็นกลไกในการบูรณาการการทํางาน ร่วมกันอย่างใกล้ชิดจริงจัง การจัดระเบียบสังคม การหมั่นตรวจตรา สอดส่องดูแลและควบคุมให้มีการ ปฏิบัติและการดําเนินกิจการของสถานบริการ และสถานประกอบการต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามกฎหมาย การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพัฒนาระบบ ข้อมูลและกลไกในการติดตามสถานการณ์และการคาดการณ์ด้านสาธารณภัยล่วงหน้าอยู่ เสมอ เพื่อจะได้แจ้งเตือนประชาชนเตรียมรับมือได้ทันท่วงที การป้องกันและแก้ไขอุบัติเหตุ ขอให้ให้ความสําคัญกับการบังคับใช้กฎหมายเพื่อรักษาวินัยจราจรและรักษาชีวิต และทรัพย์สินของประชาชน เพิ่มความเข้มข้นในการรณรงค์ให้บุคลากร และประชาชน ตระหนักถึงการรักษาวินัยจราจร โดยกลุ่มข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องเป็นตัวอย่างที่ดี

4. ด้านการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ขอให้ดําเนินการเพิ่มพื้นที่ป่าและพื้นที่สีเขียว การรักษาฐานทรัพยากรและพื้นที่สีเขียว ทั้งในเมืองและในชุมชนเป็นส่วนหนึ่งของการดําเนินงานตามตัวชี้วัดตามเป้าหมายของการ พัฒนาที่ยั่งยืน ที่เรียกว่า SDG Goals ประกอบกับจังหวัดอุดรธานี จะเป็นเจ้าภาพ จัดงาน พืชสวนโลก ปี 2569 จึงขอให้ทุกหน่วยงานร่วมกันรณรงค์การปลูกป่า การเพิ่มพื้นที่สีเขียวในสํานักงาน การจัดการขยะ น้ำเสีย ความสะอาดเรียบร้อยของบ้านเมือง และ แหล่งน้ำคูคลอง

5. ด้านการยกระดับการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0
ขอให้ดําเนินการยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง (Citizen Centric) มุ่งเน้นการรับฟัง ปัญหาความต้องการของประชาชน ทํางานเชิงรุกมากขึ้น เปิดโอกาสให้ประชาชน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างนวัตกรรมในการปฏิบัติงานและการให้บริการประชาชนอย่างจริงจัง มากขึ้น การเปิดเผยโปร่งใสและการทํางานที่เชื่อมโยงกัน (Open and Connected) ทั้งระหว่างหน่วยงานภาครัฐด้วยกันเอง และระหว่างภาครัฐกับประชาชน สื่อมวลชน เปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วม และตรวจสอบการทํางานได้ พัฒนา งาน และสร้างแนวทางการทํางานในแนวระนาบมากขึ้น โดยใช้ Problem Base และ Area Base ให้ความสําคัญกับการทํางานในรูปแบบ 7 ภาคีเครือข่าย การเพิ่มประสิทธิภาพและการพัฒนางานให้บริการ (Hight Performance and Service) เป็นจังหวัดที่มีผลสัมฤทธิ์สูง (High Performance Province: HPP) ใช้แนวทางการยกระดับการทํางานตามแนวทาง PMQA 4.0 พัฒนาบุคลากรทั้งทักษะการปฏิบัติงาน สมรรถนะทางด้านความทุ่มเท เสียสละ และมุ่งมั่น เพื่อให้ การปฏิบัติราชการมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments