วันเสาร์, ตุลาคม 5, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมเปิดห้วยหลวง0.5-3ล.รับฝนหนัก11-13ก.ย.

เปิดห้วยหลวง0.5-3ล.รับฝนหนัก11-13ก.ย.

น้ำยังไหลเข้าอ่างฯแม้ไม่มีฝน ทำต้องระบายน้ำออก 11 อ่างฯ ขณะอ่างห้วยหลงพุ่งเกินกว่า 86 % ของความจุ เตรียมเปิดประตูระบายน้ำ เริ่มต้นที่ 5 แสน ลบม. จนถึง 3 ล้าน ลบม. อุตุพยากรณ์จะมีฝนตกหนัก 11-13 ก.ย.

เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2567 ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตต์ ชั้น 3 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายณัฐพงศ์ คำวงศ์ปิน รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมคณะทำงานติดตามสถานการณ์ การบริหารจัดการน้ำ (อุทกภัย) จ.อุดรธานี มีนายธนทร ศรีนาค ป้องกันบรรเทาสาธารณภัย จ.อุดรธานี นำคณะทำงานจากฝ่ายปกครอง , ชลประทาน , อุตุนิยมวิทยา , โยธาธิการฯ , ทางหลวง , ทางหลวงชนบท , เกษตรสหกรณ์ , องค์กรปกครองท้องถิ่น , ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม โดยมีผู้ร่วมประชุมทางไกลจาก 20 อำเภอ

นายเอกชัย ดอนสันเทียะ อุตุนิยมวิทยาอุดรธานี ชี้แจงว่า ต้นฤดูพยากรณ์ไว้ว่าจะมีฝนตกในเดือนสิงหาคม 300-350 มม. เดือนกันยายน 200-250 มม. แต่จากหย่อมความกดอากาศ เกิดฝนตกต่อเนื่องหลายครั้ง น้ำฝนเดือนสิงหาคมจึงสูงถึง 589 มม. ทำให้เกิดน้ำท่วมหลายพื้นที่ ซึ่งในสัปดาห์นี้ปริมาณฝนจะลดลง แต่จากพายุ “ยางิ” (YAGI) ที่จะพัดมาทางใต้หวัน-เวียดนามตอนบน และจะสลายตัวเป็นหย่อมความกดอากาศ อยู่ทางตอนบนของ สปป.ลาว จะทำให้ฝนตกหนักที่อุดรธานี และอีสานตอนบน ในช่วงวันที่ 11-13 กันยายนที่จะถึง ซึ่งจะมีลักษณะตกแช่อยู่กับที่ จึงต้องติดตามคำพยากรณ์อย่างใกล้ชิด

นายวรวิทย์ สุภาอ้วน ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาห้วยหลวง ชี้แจงว่า อ่างฯห้วยหลวงมีความจุ 135.5 ล้าน ลบม. ก่อนหน้านี้อ่างฯมีปริมาณน้ำเพียง 64 % แต่เมื่อฝนตกลงมาหลายวัน ทำให้ปริมาณน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยวันนี้มีปริมาณน้ำสูงถึง 116.89 ล้าน ลบม. หรือ 86 % ของความจุ ซึ่งสูงเกินเกณฑ์เฝ้าระวัง เมื่อวานมีการประชุม คกก.บริหารจัดการน้ำอ่างฯห้วยหลวง ตัวแทนประชาชน ต.เชียงยืน , นากว้าง , หมูม่น , สามพร้าว อ.เมือง และ ต.เชียงเพ็ง อ.กุดจับ ขอให้ชะลอการะบายน้ำ เพื่อให้น้ำที่ท่วมอยู่ลดลง จึงมีมติให้เปิดประตูน้ำหลัก ระบายน้ำลงสู่ลำห้วยหลวง ตั้งแต่วันที่ 4 ก.ย.นี้เป็นต้นไป ในอัตราวันแรก 5 แสน ลบม. จากนั้นเพิ่มเป็น 1 , 2 และ 3 ล้าน ลบม. จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น หากมีการเปลี่ยนแปลงจะประกาศให้ทราบ โดยได้ติดตั้งเครื่องผักดันน้ำประตูน้ำสามพร้าวเพิ่มอีก 3 เครื่องเป็น 8 เครื่อง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ฝนที่ตกลงมาต่อเนื่องก่อนหน้านี้ ทำให้อ่างฯหลายแห่งเต็มความจุ หรืออยู่ในภาวะเฝ้าระวัง ต้องระบายน้ำออกรวม 11 อ่างฯ โดยอ่างฯห้วยหลวงยังไม่ระบาย ขณะที่ฝนที่ตกลงมาทำให้ ลำน้ำห้วยหลวงและลำห้วยสาขา มีสภาพน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมพื้นที่ ต.เชียงยืน , เชียงพิณ , นากว้าง , หมูม่น สามพร้าว อ.เมือง และ ต.เชียงเพ็ง อ.กุดจับ ทำให้สถานการณ์ลุ่มน้ำห้วยหลวงน่าห่วง จากน้ำที่ล้นตลิ่งแม้จะลงลงมาบ้างแล้ว บวกน้ำต้องระบายออกจากอ่างฯ และฝนที่จะตกหนักในช่วง 11-13 ก.ย.นี้ ที่ประชุมมีคำสั่งเฝ้าติดตามสถานการณ์ตลอด 24 ชม. ในการระเบายน้ำออกจากย่านเศรษฐกิจ และชุมชนที่อยู่อาศัย

สำหรับสถานการณ์เฝ้าระวังลุ่มน้ำห้วยหลวงแยกเป็น 1.อ่างฯห้วยหลวง ใกล้เต็มความจุ จะเริ่มระบายน้ำ 4 ก.ย.นี้ (0.5-3 ล้าน ลบม.) , 2.ลำห้วยเชียง และสาขา ไหลมาลงที่หนองนามน บ.หัวขัว อ.กุดจับ ผ่านประตูน้ำบ้านหัวขัว 3-8 ล้าน ลบม./วัน , 3.ลำห้วยริน (ตะวันตกของ ทน.อุดรฯ)ไหลลงอ่างฯกุดลิงง้อ อ.เมือง ขณะนี้น้ำเต็มความจุ ระบายลงคลองป้องกันน้ำท่วมฝั่งตะวันตก ไปรวมกับลำห้วยดาน (ก่อนหน้านี้ล้นตลิ่งท่วม ต.เชียงพิณ) เพื่อไหลลงไปที่อ่างฯหนองสำโรง ที่ก็เต็มความจุเช่นกัน ต้องระบายน้ำลงลำห้วยหลวงวันละ 5-7 ล้าน ลบม./วัน และเปิดประตูน้ำให้ไหลลงห้วยดาน 30 % ผ่าน ทม.หนองสำโรง ผ่านสะพานบ้านคำบงลงสู่ลำห้วยอิฐ

4.ลำห้วยช้างโตน(ห้วยหมากแข้ง) ไหลผ่านวัด บ้านตาด ลงมาที่อ่างฯบ้านจั่น เคยระบายน้ำออกต่อเนื่อง แต่ไม่ได้ระบายน้ำมา 3 วัน มีปริมาณน้ำอยู่ 64.94 % คาดจะต้องระบายน้ำออกเร็วๆนี้ โดยจะไหลลงคลองป้องกันน้ำท่วมฝั่งตะวันออก ไปรวมกับน้ำจาก “ลำห้วยขุ่น” ที่ไหลมาจาก ต.โนนสูง อ.เมือง ไหลอ้อม ทน.อุดรธานี ไปลงห้วยอิฐ บริเวณทางแยกบ้านสามพร้าว และไหลไปลงลำห้วยหลวง , 5.ลำห้วยหมากแข้ง+ลำห้วยมั่ง+สถานีสูบน้ำ รองรับการระบายน้ำพื้นที่ 47.7 ตร.กม. (ป้องไข่แดงย่านเศรษฐกิจ) ไหลไปรวมกับลำห้วยอิฐ+ลำห้วยดาน และ 6.ประตูน้ำบ้านสามพร้าว (ศูนย์รวมน้ำทั้งหมด) เปิดประตูน้ำ 6 บาน และติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 5+3 ระบายน้ำผ่านล่าสุดวันละ 35.59 ล้าน ลบม…..

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments