วันเสาร์, เมษายน 20, 2024
Google search engine
หน้าแรกการศึกษารมว.อว.ชู มรภ.อุดรตัวอย่างพัฒนาผ้า-สิ่งทอ

รมว.อว.ชู มรภ.อุดรตัวอย่างพัฒนาผ้า-สิ่งทอ

เมื่อเวลา 09.00 น.วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ห้องประชุม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และผู้บริหารกระทรวง ลงพื้นที่ จ.อุดรธานี ตรวจติดตามผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี โดยมีนายนิติพัฒน์ ลีลาเลิศแล้ว รอง ผวจ.อุดรธานี ผศ.ดร.คณิศรา ธัญสุนทรสกุล รักษาราชการแทน อธิการบดี พร้อมด้วยผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษา ร่วมให้การต้อนรับและรายงานผลการดำเนินงาน
โดยได้มาเยี่ยมชมความก้าวหน้าของศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี หรือ FTCDC : Fabric and Textile Creative Design Center โดยมี ผศ.ดร.ธีระยุทธ์ เพ็งชัย รองอธิการบดี ในนามประธานศูนย์ FTCDC เป็นผู้บรรยายสรุป สำหรับแบบผ้าไทย Circular design ซึ่งออกแบบตัดเย็บ โดยศูนย์ฯ ในปีงบประมาณ 2564 ได้ดำเนินกิจกรรมในการพัฒนาเพื่อยกระดับผ้าทอชุมชนสู่สากล อาทิ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ผ้าทอ “พิพิธภัณฑ์ผ้าทออีสาน” และการถอดรูปแบบลวดลายขิดดั้งเดิมจากม้วนผ้าขิดที่ยาวที่สุดในโลก 600 ลาย , พัฒนาแหล่งเรียนรู้ผ้าทอย้อมสีธรรมชาติดอกดาวเรืองคำชะโนด , ส่งเสริมปลูกฝ้ายสี ,พัฒนานวัตกรรมมาตรฐานสีย้อมผ้าธรรมชาติจากดอกบัวแดง ดอกจาน , การพัฒนาการผลิตเนื้อคราม จากครามพื้นเมืองจังหวัดอุดรธานี , และการออกแบบพัฒนาลวดลายผ้าขิดดั้งเดิมเพื่อเพิ่มมูลค่าผ้าขิดอุดรธานี
จากนั้น รมว.อว.และคณะ ได้เยี่ยมชมบูทนิทรรศการผลการดำเนินงานโครงการของมหาวิทยาลัยฯ อาทิ นิทรรศการ “การผลิตอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำ” ภายใต้โครงการ มหาวิทยาลัยสู่ตำบล : U2T ซึ่งในปี 2564 ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรมอาหารสัตว์ต้นทุนต่ำ และร่วมพัฒนารูปแบบการเลี้ยงและบริหารจัดการด้านอาหารสำหรับโคเนื้อ และไก่ไข่ ให้กับเกษตรกรในพื้นที่ตำบลแสงสว่าง อำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ทำให้เกษตรกรมีเงินเหลือเก็บมากยิ่งขึ้น สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดยใช้ทรัพยากรท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยว่า อุดรธานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่มีมรดกทางผ้า ผ้าขิด ผ้ามัดหมี่ เพราะอุดรฯ มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมสูงมากตั้งแต่โบราณกาล ซึ่งเมื่อก่อนไม่รู้ว่าความหลากหลายทางวัฒนธรรมจะเอาไปทำอะไร แต่ตอนนี้รู้แล้วว่านำมาทำเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ อีกอย่างได้พบความร่วมมืออย่างดีจากทางจังหวัดและมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี การพัฒนาจากนี้ไป นอกจากรัฐร่วมมือกับเอกชนที่เราคุ้นเคยมา 40-50 ปีแล้ว ต่อไปเราจะคุ้นเคยการร่วมมือระหว่างรัฐกับมหาวิทยาลัย
รัฐในที่นี้หมายถึง องค์กรส่วนภูมิภาค ท้องถิ่น ต้องร่วมมือกับมหาวิทยาลัย สถาบันอุดมศึกษา เพราะว่าการพัฒนาต่อจากนี้ไป ต้องพัฒนา 2 เรื่องหลักคือ เศรษฐกิจเชิงวิทยาศาสตร์ กับเทคโนโลยี เพราะว่ามูลค่าเพิ่มสูง 2 เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ที่สร้างมาจากศิลปะ วัฒนธรรม ประเพณี อารยะ สุนทรียะ ขอประชาชนเราเอง คิดว่าอุดรธานีเป็นตัวอย่างจะต้องทำเป็นแบบอย่างให้จังหวัดอื่นๆ ซึ่งมาเห็นที่อุดรธานีแล้ว ก็จะได้พูดให้ประชาชนเข้าใจว่า เรามีมหาวิทยาลัยไว้ทำไม ไม่ใช่มีไว้สอนเท่านั้น ไม่ใช่มีไว้วิจัยเท่านั้น แต่เอาความรู้ นวัตกรรม ศิลปะ วิทยาการ มาพัฒนาท้องถิ่น
RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments