วันจันทร์, กันยายน 9, 2024
Google search engine
หน้าแรกศิลปวัฒนธรรม500นางรำถวายขันหมากเบ็งฉลองภูพระบาท

500นางรำถวายขันหมากเบ็งฉลองภูพระบาท

เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุม หน.ส่วนราชการประจำเดือนกรกฎาคม 2567 โดยก่อนที่จะการประชุมนายณฐพล วิถี รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี นำผู้ให้การสนับสนุนกิจกรรมส่งกำลังใจ และแสดงความยินดีกับมรดกโลก “ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมา สมัยทวารวดี” บริเวณพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี จำนวน 7 ราย เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา วันที่มีการประชุมใหญ่สามัญ คณะกรรมการมรดกโลกที่ กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ซึ่งผ่านพ้นไปด้วยความประทับใจ

 

น.ส.กนกวรรณ ดุงศรีแก้ว ผอ.ททท.อุดรธานี แจ้งว่า ททท.ได้นำสื่อประชาสัมพันธ์ออกเผยแพร่ แจ้งเรื่องภูพระบาทได้เป็นมรดกโลก พร้อมเปิดคลิปวีดีโอ.แนะนำภูพระบาท เป็นทั้งภาพแนวราบและมุมสูง ซึ่งเป็นมุมภาพที่แปลกตาน่าสนใจ และนำเสนอภาพภูพระบาทในอดีต ในการจัดการแสดงแสง-เสียง บริเวณหอนางอาษาและใกล้เคียงเมื่อ 12 ปีก่อน การแสดงจะมีลักษณะเล่าเรื่องภูพระบาท ความสำคัญที่ถูกเสนอเป็นมรดกโลก และผูกโยงกับนิทานรักพื้นบ้าน “อุษา-บารส” เพื่อเป็นตัวอย่างการเฉลิมฉลองที่จะมีขึ้น

นายวันชัย คงเกษม ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวว่า ขอขอบคุณทุกฝ่ายที่มาช่วยกัน จนได้รับข่าวดีของอุดรธานี และงานสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี สำหรับมรดกโลก“ภูพระบาท ประจักษ์พยานแห่งวัฒนธรรมสีมา สมัยทวารวดี” ประกาศขึ้นมี 2 แหล่งวัฒนธรรมสีมา คือ ที่ภูพระบาท และพระพุทธบาทบัวบาน ขอให้พิจารณาการนำเสนอสื่อ เพื่อประชาสัมพันธ์ควบคู่กับไปทั้ง 2 แหล่ง สำหรับงานเฉลิมฉลองใครคิดอะไรได้แจ้งมาได้

ขณะที่อุทยานประวัติศาสตร์ภูพระบาท อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ซึ่งเป็นวันที่สามของการเป็นมรดกโลก แต่ไม่ใช่วันหยุดราชการ และมีฝนตกพลำๆตลอดทั้งวัน แต่ยังมีนักท่องเที่ยวเดินขึ้นไป เที่ยวชมความมหัศจรรย์จนเป็นมรดกโลก โดยอาศัยจังหวะฝนหยุดตก นักท่องเที่ยวจึงออกมาเดิน ทำให้บรรยากาศไม่คึกคักเหมือง 2 วันแรก นับจำนวนได้ 307 คน โดยในช่วงบ่ายคณะพระสงฆ์จากวัดโนนสว่าง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี หรือวัดพระอาจารย์เจริญ นำสามเณรรวม 93 รูปมาสวดมนต์และทำกิจกรรม

นายอดิเรก ศรีทอง นายก อบต.เมืองพาน อ.บ้านผือ เปิดเผยว่า เรารอการขึ้นทะเบียนมา 20 ปี มั่นใจมาตลอดว่าเป็นมรดกโลก แม้บางคนอาจจะลืมไปบ้างแล้ว แต่สำหรับตนและผู้บริหาร อปท.ใกล้เคียง ในช่วงตลอด 2-3 ปีที่ผ่านมา ทุกครั้งที่ชวนชาวบ้านมาทำกิจกรรม ทำสะอาด ปรับปรุงทางเดินในอุทยานฯ จะร่วมกันขอพรสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้สำเร็จ โดยคุยกับไว้ว่าถ้ามีข่าวดีก็ต้องฉลอง ก็ตกลงจะไม่ทำกันทันที จะขอเวลาเตรียมพร้อมก่อน

“ ชาวบ้านมีเชื้อสายไทยพวน ยังคงรักษาไว้ซึ่งขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิต และสำเนียงภาษา ปีที่ผ่านมามีการรื้อฟื้น ประเพณีการขึ้นมาไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ ให้ทำพร้อมๆกัน ชื่องานว่าหมากเบ็งอุดรบูชา วัฒนธรรมสีมาภูพระบาท” จัดขึ้นในเดือนพฤศจิกายน โดยให้ผู้หญิงทุกวัย สวมใส่เสื้อผ้าไทยพวน ถึงขันหมากเบ็ง(เครื่องบูชาใบตอง) เดินจากศูนย์ฯมาหอนางอาษา ร่วมกับไหว้และรำถวาย ในงานฉลองมรดกโลกก็จะทำ คาดว่ามีผู้มารำมากกว่า 500 คน ”

นายก อบต.เมืองพาน อ.บ้านผือ เปิดเผยอีกว่า จะมีนักท่องเที่ยวมามากขึ้น ทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น เราได้เตรียมความพร้อมไว้เบื้องต้น จากการสนับสนุนของ มรภ.อุดรธานี เข้ามาพัฒนาอาหารพื้นถิ่น ไว้สำหรับบริการนักท่องเที่ยว อาทิ โหย่ยหมู , การแปรรูปข้าวเม่า เป็นข้าวเกรียบ และน้ำนมข้าว , น้ำชาจากใบตองกุง และอื่นๆ ขณะที่ผ้าทอมือที่มีชื่อเสียง คือผ้ามัดหมี่ย้อมครามลายหอนางอุษาฯ ส่วนในอุทยานฯมีความพร้อม เพียงดูแลรักษาสภาพ ให้มั่นคงแข็งแรงไว้ หากจะเพิ่มไฟฟ้าส่องส่างทางขึ้นลงเท่านั้น….

 

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments