วันอาทิตย์, พฤศจิกายน 24, 2024
Google search engine
หน้าแรกท่องเที่ยวอุดรขอถนนคู่ขนาน-สถานีโนนสะอาดรถไฟจีน

อุดรขอถนนคู่ขนาน-สถานีโนนสะอาดรถไฟจีน

มรภ.โคราช-อยุธยา-อุดร-ราชมงคล ขก. ศึกษารับมือการเปลี่ยนแปลงสังคม รถไฟความเร็วสูงผ่านอีสาน ไม่เกี่ยวกับ อีไอเอ. รับเมืองการเปลี่ยนแปลง ขณะเวทีแรกรวม 2 จว. ขอถนนคู่ขนานในเมือง-เพิ่มสถานีโนนสะอาด-ปรับทางเข้าออกสถานี-วิเคราะห์แรงงานอนาคต

เวลา 09.30 น. วันที่ 29 ตุลาคม 2561 ที่ห้องประชุมชั้น 2 อาคาร 16 มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี. นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานเปิดเวทีแนะนำโครงการ และรับฟังความคิดเห็น การศึกษาผลกระทบทางสังคม จากการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-หนองคาย ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย โดย ผศ.จรูญ ถาวรจักร์ อธิการบดี มรภ.อุดรธานี กล่าวต้อนรับ มีนายสิธิชัย จินดาหลวง รอง ผวจ.อุดรธานี นายจีระศักดิ์ ศรีคชา รอง ผวจ.หนองคาย นายอิทธิพนธ์ ตรีวัฒนสุวรรณ นายก ทน.อุดรธานี นายธนันชัย สามเสน ประธานหอการค้า จ.อุดรธานี และนำผู้เข้าร่วมเวทีจาก จ.หนองคาย และอุดรธานี ร่วมงาน

นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวว่า การรับฟังความคิดเห็นให้รอบด้าน เพื่อให้โครงการความสมบูรณ์ ตอบสนองสิ่งที่จะเกิดขึ้น โดยเฉพาะความต้องการคนพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นโครงการรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วปานกลาง ที่ผ่านมาอุดรธานีก็ขับเคลื่อนเรื่องไปบ้าง ไม่ว่าจะเป็นการเสนอให้ ครม.ปรับเปลี่ยนการก่อสร้าง จากนครราชสีมา-หนองคาย มาเป็นการสร้างย้อนจากหนองคายกลับไปด้วย หรือการเรียกร้องให้คืนภาษี ให้นักท่องเที่ยวข้ามกลับไป สปป.ลาว หรือการทำวีซ่าที่ด่าน จ.หนองคาย ให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามากมากขึ้น ให้ขับเคลื่อนได้ก่อนการก่อสร้าง

ผศ.สุรัชนี เคยสุโพธิ์ หน.ฝ่ายประสานงานโครงการฯ กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-หนองคาย อาจจะส่งผลกระทบทั้งเชิงบวก และเชิงลบ ตามเส้นทางรถไฟวิ่งผ่าน มรภ.นครราชสีมา , มรภ.พระนครศรีอยุธยา , ม.เทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตขอนแก่น และ มรภ.อุดรธานี จึงดำเนินการโครงการวิจัยเพื่อการศึกษาผลกระทบทางสังคม ใน 5 ประเด็น คือ สภาพปัจจุบันพื้นที่รถไฟผ่าน และรอบสถานี , ผลกระทบด้านการก่อสร้าง และบริบทสังคมที่เปลี่ยนไป , ผลกระทบด้านการค้า การลงทุน , ผลกระทบด้านการท่องเที่ยวและบริการ และผลกระทบเคลื่อนย้ายประชากร

จากนั้นจัดให้มีเวทีเสวนาเรื่อง “รถไฟความเร็วสูงส่ายกรุงเทพ-หนองคาย” โดย ผศ.ดร.วิเชียร ฝอยสกุล อธิการบดี มรภ.นครราชสีมา , นายธนพล จิรัญวนิชวงษ์ ผู้เชี่ยวชาญโครงการพัฒนาระบบราง สนง.นโยบายและแผนการจราจรและขนส่ง (สนข.) โดยมีนายพงศธร แสงสี อาจารย์ มรภ.อุดรธานี ดำเนินรายการบนเวที เริ่มจากการสรุปภาพรวม ระบบขนส่งทาวรางในอีสาน จากรถไฟทางคู่ที่กำลังก่อสร้าง นครราชสีมา-ขอนแก่น ส่วนจากขอนแก่น-หนองคาย คาดกว่าจะเริ่มดำเนินการได้ต้นปี 62

ส่วนรถไฟความเร็วสูงความเร็ว 250 กม./ชม. ตามเส้นทางเดิมกับทางรถไฟ 70 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลือมีการเปลี่ยนแปลงเส้นทางเพื่อเหมาะสม โดยส่วนที่ 1สายกรุงเทพ-นครราชสีมา เริ่มดำเนินการแล้วมูลค่า 179,000 ล้านบาท ไทยลงทุนเอง เริ่มจากสถานีบางซื่อ-ดอนเมือง-สระบุรี-นครราชสีมา ส่วนที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย มีแผนก่อสร้างในปี 64-68 มูลค่า 230,000 ล้านบาท แยกเป็นงานของไทย 135,647 ล้านบาท จีน 43,765 ล้านบาท เริ่มจากนครราชสีมา-บัวใหญ่-บ้านไผ่-ขอนแก่น-อุดรธานี-หนองคาย ขณะนี้ที่ปรึกษาทบทวนโครงการ นอกจากนี้ยังมีหลายส่วน ต้องออกแบบไปพร้อมกับการก่อสร้าง ยังสามารถปรับแก้ได้ อาทิ อาคารสถานี

ขณะผู้เข้าร่วมประชุมได้สอบถาม พร้อมทั้งเสนอแนะในหลายประเด็น อาทิ 1.ขณะนี้อุดรธานีกำลังปรับปรุงผังเมือง ชาวอุดรธานีจะมีส่วนร่วมโครงการนี้ได้ทางไหน , 2. การอยู่ร่วมกันระหว่างรถไฟทางคู่ กับรถไฟความเร็วสูงจะเป็นอย่างไร , 3. เมื่อทางรถไฟเข้ามาในชุมชนเมือง จะต้องยกสูงขึ้นตามแผน กรอ.อุดรธานี มีมติเสนอให้สร้างทางคู่ขนาน 7.7 กม. ไปพร้อมกันร , 4. ในพื้นที่เมืองอุดรธานีนอกจากพื้นที่สถานีรถไฟเดิม ยังมีพื้นที่ของกองทัพอากาศ บริเวณสถานีวิทยุ ทอ.อุดรธานี เป็นที่สร้างสถานีได้อีก 1 แห่ง

5. ระหว่างนครราชสีมา-ขอนแก่น มีการก่อสร้างสถานีรถไฟเพิ่มเติมที่ สถานีบัวใหญ่ และสถานีบ้านไผ่ จะสารถสร้างเพิ่มระหว่างขอนแก่น-อุดรธานี ที่ อ.โนนสะอาด ได้หรือไม่ , 6. ให้ สนข.ทำการศึกษาขนส่งมวลชน เชื่อมต่อรถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง จากสถานีไปยังจุดต่างๆ , 7. ข้อเสนอแนะการออกแบบสถานี เปิดทางเข้าออกหลายด้าน ทั้งโพศรี , ประจักษ์ฯ และชุมชนหนองเหล็ก เพื่อลดการแออัด และ 8. ระหว่างการก่อสร้าง และหลังสร้างเสร็จ มีความต้องการแรงงานใดบ้าง เพื่อเตรียมผลิตและพัฒนาฝีมือแรงงานเหล่านั้นไว้

ผศ.ดร.วิเชียร ฝอยสกุล อธิการบดี มรภ.นครราชสีมา กล่าวว่า การเข้ามารับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ มันนอกเหนือจากผลกระทบ ในรายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ.) ไม่ใช่เฉพาะช่วงเวลาการก่อสร้าง แต่หมายรวมถึงขณะที่เราใช้งาน มันจะเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ทั้งบริเวณโดยรอบสถานี เส้นทางผ่าน และสถานที่อื่นที่มีการเชื่อมโยง ซึ่งเราจะต้องพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในทุกๆด้าน

นายธนพล จิรัญวนิชวงษ์ ผู้เชียวชาญจาก โครงการพัฒนาระบบราง สนข. กล่าวว่า การสร้างถนนคู่ขนานถือเป็นนโยบาย ที่จะนำคนเข้าสู่สถานีอยู่แล้ว จะมาช่วยกันดูในรายละเอียด , น่าสนใจข้อมูลทางเข้าออกสถานีหลายทาง รวมทั้งจะให้ สนข.ศึกษาเพิ่มเติมขนส่งมวลชนต่อขยาย เพราะขณะนี้ก็ศึกษาที่อุดรธานีอยู่แล้ว สำหรับเรื่องแรงงานได้เตรียมไว้บางส่วน เป็นเรื่องน่าสนใจว่าจะเตรียมอย่างไรให้ละเอียดขึ้น ส่วนที่ อ.โนนสะอาด ซึ่งในแผนเป็นศูนย์ซ่อม ประเมินว่ามีผู้ใช้บริหารน้อย ไม่มีสถานีแต่อนาคตอาจเป็นไปได้ ….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments