วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
Google search engine
หน้าแรกธุรกิจอุดรฯค้นหา “เมกะทรอน”ขุมพลังมนุษย์ดิจิตอล

อุดรฯค้นหา “เมกะทรอน”ขุมพลังมนุษย์ดิจิตอล

อุดรธานีลุ่น ครม.สัญจร จ.หนองคาย สั่ง DEPA ช่วยขับเคลื่อน นครอุดรธานีเมืองอัจฉริยะ ตามที่เอกชนเสนอเดินหน้าก่อนเวลา จับตาเปิดทาง “เมกะทรอน” ขุมพลังดิจิตอลที่ซ่อนอยู่ แสดงศักยภาพผ่าน ประกวดผลงานสร้างเมือง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 3 ธันวาคม 2561 ที่ห้องประชุม 1 อาคาร 1 ศาลากลาง จ.อุดรธานี นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมบูรณาการ ร่วมกันเตรียมความพร้อมในการพัฒนา “สมาร์ท ซีตี้” โดยมี ดร.ภาสกร ประถมบุตร รอง ผอ. กลุ่มโครงการพิเศษ และผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาดิจิทัลนวัตกรรม (DEPA) พร้อมคณะ และคณะทำงานอุดรธานี ประกอบด้วย ภาครัฐ เอกชน นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่เข้าร่วมประชุม เพื่อให้ความเห็นกับโครงการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ของ ทน.อุดรธานี ที่จะนำเสนอต่อ ครม.สัญจร

ที่ประชุมแจ้งถึงโครงการเมืองอัจฉริยะ หรือ “สมาร์ท ซีตี้” ที่รัฐบาลเริ่มขับเคลื่อนใน 3 จังหวัดนำร่องในปี (ภูเก็ต-เชียงใหม่-ขอนแก่น) และจะขับเคลื่อนเพิ่มอีก 4 จังหวัด (ชลบุรี-ระยอง-ฉะเชิงเทรา-กรุงเทพ) สำหรับจังหวัดอุดรธานีอยู่ในเฟส 3 จะเริ่มในปี 2563 ขณะที่ภาคเอกชนของอุดรธานี ได้เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อพัฒนา จ.อุดรธานี และมีมติว่า เนื่องจากอุดรธานีเป็นเมืองหลัก ที่จะต้องขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะทันที โดยเฉพาะในส่วนตัวเมืองอุดรธานี ซึ่งถือเป็นหน้าบ้านก่อน

นายวัฒนา พุฒิชาติ ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี ได้มีคำสั่งตั้งคณะทำงานขึ้นมา ประกอบด้วย ภาครัฐ , เอกชน , นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ โดยยึดแนวทางยุทธศาสตร์จังหวัด ที่ต้องการจะให้อุดรธานีเป็นเมืองหลัก การค้าเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน , เมืองสปอร์ชิตี้ , เมืองผ้าทอมือ , เมืองสมุนไพร่ และเมืองเกษตรอินทรีย์ โดยมีการขับเคลื่อนไปแล้ว ทำอย่างไรจึงจะทำเอาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี มาใช้ช่วยขับเคลื่อนให้สมบูรณ์ โดยเทศบาลนครอุดรธานีจะขอรับการสนับสนุน งบประมาณในการประชุม ครม.สัญจร จ.หนองคาย 12-13 ธันวาคมนี้

ซึ่งนายอิทธิพนธ์ ตรีวัฒนสุวรรณ นายก ทน.อุดรธานี ได้นำเสนอร่างโครงการ “นครอุดรธานีเมืองใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่ทันสมัย” 6 ระบบ คือ ระบบรักษาความปลอดภัยเมือง , ระบบจัดการการจราจรอัจฉริยะ , ระบบดูแลคุณภาพชีวิตประชาชน , ระบบบริหารจัดการฐานข้อมูลเมือง , ระบบงาน-จัดการข้อมูล-ให้บริการ/ติดต่อสื่อสารประชาชน c]tพัฒนาระบบสมาร์ท ซิตี้ แม็ป เพื่อเชื่อมโยงกับระบบของ ทน.อุดรธานี ที่ดำเนินการไปก่อนแล้ว อาทิ ซีซีทีวี. , ระบบควบคุมการจราจร เอทีซี. และอื่นๆ โดยภาครัฐจะต้องทำในเรื่องเหล่านี้

ดร.ภาสกร ประถมบุตร รอง ผอ. กลุ่มโครงการพิเศษ และผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาดิจิทัลนวัตกรรม (DEPA) พร้อมคณะ เสนอว่า อุดรธานีจะต้องมีความต้องการตนเอง จะเอาอะไรเป็นจุดเด่นเพียงจุดเดียว โดยการขับเคลื่อนจะให้ความสำคัญ ของการสนับสนุนให้เอกชนมาขับเคลื่อน ภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาล ทำให้สามารถรวบรวมข้อมูลที่มีอยู่ มาใช้สร้างระบบนำมาใช้งาน สิ่งที่จะต้องสร้างคือ “ซิตี้ ดาต้า แพตฟอร์ม”

ขณะที่ประชุมได้เสนอให้อุดรธานีมีจุดเด่นคือ “ศูนย์กลางการค้าการลงทุนอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง” เพื่อสนับสนุนให้ยุทธศาสตร์อุดรธานีขับเคลื่อนไปด้วย ทั้งนี้ยังมีการพูดถึง เกรดเวย์ , สมาร์คอนแทรค , สมาร์ทโฟวินส์ , ศูนย์ยุทธศาสตร์ ดีจีตอลอุดรธานี , ตลาดนัด ดาต้า , นครอุดรธานีเป็นประตูสู่ GMS , GMS เทรดอัพ และอื่นๆ เพื่อนำไปสรุปก่อนนำเสนอที่ประชุม ครม.สัญจร และที่นอกเหนือการเสนอต่อ ครม.สัญจร คือ การตามหาขุมพลังดิจิตอลของอุดรธานี หรือเรียกว่าตามหา “เมกะทรอน” (ตามชื่อในภาพยนต์ทรานฟอร์เมอร์) ด้วยการจัดประกวดผลงานเม็กกะตอน มาร่วมกันในสร้างเมืองอุดรธานี

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments