วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกท้องถิ่นอลังการนวัตกรรมผ้าและสิ่งทอชุมชนสู่สากล

อลังการนวัตกรรมผ้าและสิ่งทอชุมชนสู่สากล

มรภ.สานฝัน …อุดรเมืองผ้าทอมือลุ่มน้ำโขง ภูมิปัญญา-เทคโนโลยี-นวัตกรรม-สู่สากล โชว์ผลงานสุดอลังการ เปิดลายผ้า 605 ลายในม้วนผ้าขิดยาวสุดในโลก

เมื่อเวลา 16.30 น. วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม 2563 ณ ลานโปรโมชั่น ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าอุดรธานี นายวันชัย จันทร์พร รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี เป็นประธานเปิดงาน “แฟชั่น นวัตกรรมผ้าและสิ่งทอชุมชน” ครั้งที่สอง จัดโดยศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ มรภ.อุดรธานี ผศ.จรูญ ถาวรจักร์ อธิการบดี มรภ.อุดรธานี พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัด ผู้ให้การสนับสนุน และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมในพิธีเปิด

หลังพิธีเปิดซึ่งถือเป็น “ไฮไลท์ของงานแสดงแฟชั่น” เป็นการแสดงแฟชั่นโชว์ ผ้าทอชุมชน 32 ชุด โดยนางแบบนักศึกษาจาก มรภ.อุดรธานี และลูกหลานชาวอุดรธานีและใกล้เคียง ปิดท้ายด้วย แพนเค้ก เขมนิจ จามิกรณ์ และ บูล พงศ์ทิวัตถ์ ตั้งวันเจริญ พร้อมมอบดอกไม้แสดงความยินดีให้กับ คณาจารย์จากศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ มรภ.อุดรธานี

การจัดงานครั้งนี้ประกอบด้วย นิทรรศการแสดงผลงานแฟชั่นและนวัตกรรมผ้าและสิ่งทอชุมชน อาทิ นวัตกรรมมาตรฐานผงสีย้อมธรรมชาติจากบัวแดง สำหรับการย้อมเส้นไหม , การพัฒนาผ้าไหมขิดนกยูงทองพระราชทาน , การพัฒนาครามพันธุ์พื้นเมืองภูพระบาท , เทคโนโลยีการปลูกฝ้ายสี , ภูมิปัญญาและลวดลายผ้าทอ และการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ผ้าและสิ่งทอชุมชนสู่สากล จากผ้าทอสู่สินค้าแฟชั่นไลฟ์สไตล์ เครื่องแต่งกาย กระเป๋า รองเท้า บรรจุภัณฑ์ และการออกร้านจำหน่ายสินค้าผ้าทอระดับพรีเมียม โดยชุมชนที่ ศูนย์ FTCDC เข้าไปร่วมพัฒนา จำนวน 25 กลุ่มชุมชน

ผศ.ธีระยุทธ์ เพ็งชัย หน.ศูนย์ออกแบบสร้างสรรค์ผ้าและสิ่งทอ มรภ.อุดรธานี ได้อธิบายถึงการจัดพิมพ์หนังสือ “อัตลักษณ์ลวดลาย ผ้าหมี่ขิด จ.อุดรธานี จากม้วนผ้าหมี่ขิดยาวที่สุดในโลก” จำนวน 2 เล่ม ว่าม้วนผ้าหมี่ขิดยาวที่สุดในโลก 1,119 เมตร เป็นการท่อขึ้นเพื่อฉลองอุดรธานี 99 ปี มีอายุมากกว่า 30 ปี ศูนย์ฯได้นำมาเก็บรักษาไว้เมื่อ 1 ปีก่อน ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ไม่เคยมีหลักฐานว่ามีการบันทึกลายผ้าเหล้านั้นไว้

“ มรภ.อุดรธานี ได้อนุมัติงบประมาณให้ศูนย์ฯ จัดพิมพ์หนังสือในทางวิชาการ ประวัติความเป็นมา ลวดลายผ้าทั้งหมด พร้อมรายละเอียด เพื่อจัดเก็บไว้เชิงอนุรักษ์ โดยได้คลีผ้าออกจากม้วนแล้วบันทึกภาพไว้ เรียงลำดับจากด้านในสุดเป็นผ้าชิ้นแรก จนมาถึงด้านนอกเป็นชิ้นสุดท้ายรวม 605 ลวดลาย โดยการจัดพิมพ์หนังสือจึงต้องจัดพิมพ์เล่นที่ 2 ก่อน จึงจัดพิมพ์เล่มที่หนึ่ง ”

ผศ.ธีระยุทธ์ เพ็งชัย หนังสือชุดนี้นอกจากมีภาพลายผ้าทั้ง 605 ลาย ยังมีภาพขบวนแห่ในงานทุ่งศรีเมืองปี 2534 และขบวนแห่งในงานฉลองอุดรธานี 99 ปี ปี 2535 รวมถึงข้อเขียน “อุดรธานี ธานีผ้าหมี่ขิด หมี่ขิดมาจากไหน” จัดพิมพ์ขึ้นครั้งแรก 200 ชุด เป็นหนังสือที่มีหลายเลขรหัสหนังสือ ต้องจัดส่งไปไว้หอสมุดแห่งชาติ 3 ชุด โดยมีแผนจัดส่งไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องใน จ.อุดรธานีก่อน หนังสือชุดนี้ไม่มีจำหน่าย เพราะจัดพิมพ์โดยงบประมาณของ มรภ.อุดรธานี โดยศูนย์ฯเป็นผู้ดำเนินการ ทั้งนี้ยังไม่ได้คิดว่าจะมี “อีบุ๊ค” หรือไม่…..

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments