วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมชวนย้อมสีอาคารเมืองอุดรธานียุค 2468

ชวนย้อมสีอาคารเมืองอุดรธานียุค 2468

คกก.ปรับภูมิทัศน์เมืองอุดร เลือกสีดั้งเดิมอาคารราชินูทิศ “เหลืองราชินู” เป็นสีทางอาคารสถานที่ราชการ เชิญชวนประชาชนร่วมท่า สร้างเอกลักษณ์กระตุ้นนักท่องเที่ยวมาเยือน

เมื่อเวลา 15.30 น. วันที่ 10 กรกฎาคม 2563 ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) ชั้น 3 อาคาร 1 ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผวจ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมคณะกรรมการปรับปรุงภูมิทัศน์เมืองอุดรธานี ครั้งที่ 1/2563 โดยมีนายปราโมทย์ ธัญญพืช นายธวัชชัย ศรีทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี นำหัวหน้าส่วนราชการ องค์กรเอกชน องค์กรชุมชน นักวิชาการ สถาปนิกอิสระ ร่วมประชุมระดมความเห็น

นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผวจ.อุดรธานี กล่าวว่า มีการพูดคุยกันจนเกิดแนวคิด การปรับปรุงภูมิทัศน์เมือง และสร้างเอกลักษณ์อุดรธานี เริ่มจากเรื่องของการใช้ “สี” โดยได้เริ่มไปในส่วนหนึ่งแล้ว คือ พระอนุสาวรีย์พลตรีพระเจ้าบรมวงษ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม และอาคารโดยรอบอนุสาวรีย์ ทน.อุดรธานีได้ร่วมกับเจ้าของอาคาร ทาสีให้เป็นสีเดียวกันโดยรอบ ได้รับคำชื่นชมเป็นอย่างมาก จึงมอบหมายให้โยธาธิการ จ.อุดรธานี จัดทำร่างมานำเสนอเพื่อรับฟังแนวคิดคณะกรรมการ

นายพรเทพ ศรีวรานันท์ โยธาธิการและผังเมือง จ.อุดรธานี พร้อมสถาปนิก ได้นำเสนอร่างแนวคิด ความเหมาะสมในการเลือกพื้นที่การพัฒนา 1.ประวัติศาสตร์-ตำนาน มีผลต่อการพัฒนาเมืองในอดีต , 2.รูปแบบอาคารมีลักษณะเป็นกลุ่มก้อน มีลักษณะใกล้เคียงกัน และ 3 เป็นย่านสำคัญที่มีคนสัญจรผ่านประจำ บริเวณกรมหลวงประจักษ์ฯ แสดงดึงการวางรากฐานเมืองอุดรธานี , วงเวียนน้ำพุ แสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง , หอนาฬิกา แสดงถึงอนาคตที่เมืองอุดรธานีจะก้าวไป , ถนนประจักษ์ศิลปาคม แสดงถึงการพัฒนาสืบสานจากรากฐานเดิมของเมือง , ทุ่งศรีเมือง แสดงถึงความร่วมมือของชาวอุดรธานี , พิพิธภัณฑ์เมืองและหนองประจักษ์ฯ แสดงถึง การเรียนรู้ปูมเมือง อัตลักษณ์

โดยมีการนำเสนอแนวทางการพัฒนา เป็นภาพเมืองอุดรธานีที่แต่งสีอาคาร-บ้านเรือน เป็นสี “โทนเหลือง” ตั้งแต่โดยรอบพระอนุสาวรีย์กรมหลวงประจักษ์ฯ มาตามเส้นทางถนนทหาร – ถึงหน้าแยกน้ำพุ – เลี้ยวมาตามถนนโพศรี – ไปจนถึงสนามทุ่งศรีเมือง แล้วกลับมาเริ่มแยกน้ำพุอีก – ตรงไปไปวงเวียนเฉลิมพระเกียรติ – ตามถนนประจักษ์ฯ ไปจนถึงสนามทุ่งศรีเมืองและศูนย์ราชการ บวกกับ “รพ.ศูนย์อุดรธานี” ซึ่งมีโครงร่างคล้ายกับกรุงเทพ คือจากอนุสาวรีย์ชัยมรภูมิ มาจนถึงอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย

นายธีฑัต พิมพา วัฒนธรรม จ.อุดรธานี และนายปองพล ยุทธรัตน์ สถาปนิกควบคุมปรับปรุงพิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี ได้ให้ความเห็นสอดคล้องกัน ถึงที่มาของสีที่เรียกว่า “เหลืองราชินู” เป็นสีดั้งเดิมของอาคาร “ราชินูทิศ” สร้างปี พ.ศ.2468 ปัจจุบันเป็น “พิพิธภัณฑ์เมืองอุดรธานี ซึ่งอาคารในยุคเดียวกันก็สีนี้ จากการที่ราชสกุลที่ไปศึกษา หรือดูงานต่างประเทศ นำแบบอย่างกลับมาทำในประเทศ (โคโรเนียน)

“ การบูรณะอาคารราชินูทิศ ซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน ถูกควบคุมโดยกรมศิลปากร ต้องการกะเทาะผิวอาคาร หาสีดั้งเดิมที่ทาครั้งแรกพบว่า มีการทางสีใหม่ 3 ครั้ง ภายนอกจะเป็นโทนเหลือง ภายในจะเป็นโทนฟ้า จึงนำเอาสีที่ทาภายนอกครั้งแรก เป็นสีหลักนำมาทาที่เห็นในปัจจุบัน ซึ่งสีเกือบทุกยี่ห้อสามารถทำได้ และสีทีทาก็เป็นยี่ห้อหนึ่งมีขายในประเทศ (ทีโอเอ A633A) จึงเลือกเอาสีโทนเหลือ ที่เราเรียกกันว่าเหลืองราชินู มาเป็นสีอาคารเมืองอุดรธานี ”

ขณะที่ประชุมก็มีความเห็นในทางเดียวกัน พร้อมเสนอเพิ่มเติมในส่วน การไม่เจาะจงจะเป็นสีเดียวกันทั้งหมด แต่ก็ขอใกล้เคียงกัน และมีการใช้สีขวาช่วย ไม่ใช้สีเดียวล้วนทั้งอาคาร , บางอาคารมีการกำหนดสีไว้ อาทิ อาคารราชพัสดุ จะสามารถปรับได้หรือไม่ , อุดรธานีมีอาคารโบราณน้อย ขอให้สำรวจอาคารที่มีอายุมากกว่า 50 ปีเพื่ออนุรักษ์ , การพัฒนาให้เมืองอุดรธานี เป็นเมืองแห่งการเดิน เพิ่มการค้าขายริมถนน ไม่ใช่มุ่งไปที่ห้างสรรพสินค้าอย่างเดียว

นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผวจ.อุดรธานี กล่าวว่า ได้ขอมติที่ประชุมมีความเห็นร่วมกัน ที่จังหวัดอุดรธานีจะออกประกาศจังหวัด เชิญชวนให้บ้านเรือน ห้างร้าน สถานที่ราชการ ใช้สีโทนเหลืองทาอาคารบ้านเรือน สามารถเริ่มต้นได้ทันทีถ้าพร้อม โดยหน่วยงานราชการ สามารถดำเนินการได้ทันที ส่วนอาคารบ้านเรือนประชาชน ให้ ทน.อุดรธานี เชิญชวนผู้สนใจนำร่องไปได้ก่อน

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments