วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคม2 ปีสิทธิผู้ป่วยติดเตียงอยู่บ้านไปถึงไหน

2 ปีสิทธิผู้ป่วยติดเตียงอยู่บ้านไปถึงไหน

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สนับสนุนงบประมาณ มายังองค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) เพื่อนำไปส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรคในพื้นที่ ในรูปแบบของ “กองทุนสุขภาพองค์กรปกครองท้องถิ่น(อปท.) นั้นๆ” และเมื่อ 2 ปีก่อน ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณ ดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care) หรือติดเตียงอยู่บ้าน รายละ 5,000 บาท/ปี มาในปีที่แล้วได้เพิ่มสิทธิให้ประชาชนทั่วไป ไม่ใช่เพียงผู้สูงอายุเท่านั้น

ในพื้นที่ สปสช.8 มี อปท. 716 แห่ง เข้าร่วมโครงการ 708 แห่ง ไม่เข้าร่วม 8 แห่ง อุดรธานีมี อปท.181 แห่ง ประกอบไปด้วย องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) 1 แห่ง , เทศบาลนคร 1 แห่ง , เทศบาลเมือง 3 แห่ง เทศบาลตำบล 49 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบล 122 แห่ง โดยมี อปท.ที่ไม่ได้เข้าร่วมกับ สปสช. 2 แห่ง คือ ทต.นิคมสงเคราะห์ อ.เมือง และ อบต.บ้านผือ อ.บ้านผือ รวมไปถึงข้อมูลด้านสถิติน่ากังสนใจ จึงถูกตั้งคำถามว่า จะต้องปรับ…อะไรกันบ้าง

เมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2563 (25 มิ.ย.63) นายอรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สปสช. , นายกวี วีระเศรษฐกุล ผู้อำนวยการ สปสช.เขต 8 อุดรธานี , นายวุฒิไกร ศักดิ์สุรกานต์ ที่ปรึกษา สปสช.8 ตรวจติดตาม เดินทางลงพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล (รพ.สต.)เชียงพิณ ในเขตเทศบาลตำบลเชียงพิณ อ.เมือง จ.อุดรธานี เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากปากผู้ปฏิบัติ และผู้รับการปฏิบัติ โดยมีนายทวีรัชต์ ศรีกุลวงษ์ รอง สสจ.อุดรธานี นำคณะให้ข้อมูล และตอบข้อซักถาม

รพ.สต.เชียงพิณ เป็น รพ.สต.ขนาดใหญ่ ที่อุดรธานีมีเพียง 2 แห่ง อีกแห่งคือ รพ.สต.โนนสูง อ.เมือง สถานที่-อุปกรณ์-บุคลากร ลบภาพของสถานีอนามัยไปโดยสิ้นเชิง ดูแลประชากร 14,000 คนเศษ ทต.เชียงพิณ สมทบเงินเข้ากองทุนสุขภาพตำบล 30 เปอร์เซ็นต์ ได้จัดทำแผนการดูแลผู้ป่วยและผู้สูงอายุ(Care Plan ; CP) มีผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ (Caregiver; CG) ซึ่งเป็น อสม. 25 คน

จากการประเมินพบผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care) 47 ราย ผู้ช่วยเหลือดูแลผู้สูงอายุ ไปเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเป็นทีม เพราะผู้ป่วยช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ จะต้องใช้คนช่วยหลายคน ในจำนวนที่ดูแลอยู่ทั้งหมด กลับมาใช้ชีวิตตามปกติแล้ว 5 ราย ซึ่งเกิดจากอาการขาอ่อนแรง และนำผู้ป่วยกลับมาได้ก่อน 6 เดือน ถือเป็นความสำเร็จที่น่ายินดี ขณะที่แนวโน้มผู้สูงอายุติดเตียงสูงมากขึ้น

คณะ รพ.สต. บอกถึงปัญหาอุปสรรค ประกอบด้วย จะเอาเงินไปใช้ยังไง จัดซื้ออะไรได้บ้าง , การจัดทำเอกสารเบิกจ่าย , เครื่องไม้เครื่องมือ เตียงผู้ป่วย ถังออกซิเจน และอื่นๆที่ให้ผู้ป่วยยืม (ที่มีอยู่ไม่คล่องตัว) , อุปกรณ์ที่ต้องจัดหาเอง ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดความดัน (อสม.รวมกันใช้ค่าตอนแทนจัดซื้อแบบผ่อน)

นายอรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สปสช. และคณะได้สอบถาม อะไรคือหัวใจแห่งความสำเร็จของที่นี่ ได้รับคำตอบว่า ยึดแนวทางการทำงานเป็นทีม ทุกคนสำคัญเท่าเทียมกัน , ค่าตอนแทนที่จัดมาให้ยังน้อยคงไม่เพียงพอ ทำไม อสม.ยังคงช่วยงานนี้ ได้รับคำตอบจากนางรัตนาภรณ์ มอโท หน.อสม.ว่า เคยเป็นผู้ป่วย 1 ใน 47 ราย เมื่อหายดีก็อยากมาช่วย จึงอาสามาทำหน้าที่นี้ , หากมีการปรึกษาแพทย์ทางออนไลน์ทำได้หรือไม่ คำตอบคือยังมีปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้อง

คณะได้เดินทางไปยังบ้านเลขที่ 69 บ.ดอกเกียด ม.10 ต.เชียงพิณ เพื่อเยี่ยม “คุณยายสมพร คนแรง” อายุ 82 ปี ป่วยเป็นกล้ามเนื้อขาอ่อนแรง นอนติดเตียงมาเกิน 6 เดือนแล้ว แต่ยังสามารถนั่งรถเข็นได้ และคุณยายยังมีปัญหาการได้ยิน เมื่อคณะเดินทางมาถึงและแนะนำตัว คำแรกที่ยายสมพร ทักทายกับคณะว่า “กินข้าวกินปลากันมาหรือยัง” เพราะช่วงนั้นใกล้เที่ยงพอดี ก่อนที่จะโชว์ให้ อสม.ประคองขึ้นนั่ง

ยายสมพรฯ ได้รับการดูแลจากลูกหลาน กลางคืนจะเข็นเตียงเข้าไปในบ้าน ตอนกลางวันจะเข็นเตียงออกมาด้านหน้า อยู่กับลูกหลานที่ทอผ้าอยู่บริเวณนั้น สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง อสม.ที่เป็น Caregiver; CG จะมาตรวจวัดอุณหภูมิ-ความดัน ให้คำแนะนำเพื่อลดการกดทันต่างๆ และทุกเดือนจะมีนักกายภาพมาช่วย ทุกคนมีความสนิทสนมกันเป็นอย่างดี

นายอรรถพร ลิ้มปัญญาเลิศ รองเลขาธิการ สปสช. เปิดเผยว่า Long Term Care ดำเนินการมาได้ 2 ปี เป็นการกระจายงบประมาณ ลงมาสู่ท้องถิ่นได้เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลก็เห็นดีในเรื่องนี้ ขณะนี้ สปสช.กำลังรับฟังความเห็น เพื่อพัฒนาเพิ่มศักยภาพขึ้น ซึ่งการรับฟังมีหลายรูปแบบ โดยการเดินทางมาที่ รพ.สต.เชียงพิณ เป็นการมารับฟังในพื้นที่จริงๆ

กว่า 2 ปี การดูแลผู้ที่มีภาวะพึ่งพิง (Long Term Care) เริ่มจาก สปสช. ต้องทำเอ็มโอยู กับ อปท. ขณะที่หน่วยบริการ (รพ.สต.) จะสำรวจประเมินผู้ป่วย เมื่อเข้าเกณฑ์แจ้งขึ้นทะเบียน งบประมาณจะเข้ามายัง อปท.ผ่านกองทุนสุขภาพตำบลฯ ทำให้หน่วยบริการส่ง Caregiver ลงไปให้ความช่วยเหลือ แบ่งเบาคนในครอบครัว หลังการรับฟังความคิดเห็น

ลุ้นๆๆๆๆๆ….ปีที่ 3 จะขยับไปข้างหน้ายังไง…

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments