วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกศิลปวัฒนธรรมเร่งแก้เจดีย์ร้างทำขยายวงแหวนถูกหั่น

เร่งแก้เจดีย์ร้างทำขยายวงแหวนถูกหั่น

ผู้ว่าฯอุดรธานีสั่งเร่งหาทางออก การขยายถนนเลี่ยงเมืองตะวันออก ถูกลดทอนจาก 9.9 กม. เหลือ 7.2 กม. เหตุระบุเป็นเขตโบราณสถาน ไม่ชัดเป็นพระธาตุหรือเจดีย์ร้าง เพื่อของบสร้างที่เหลือให้ทันเมืองโต ขณะหลายฝ่ายงงเป็นโบราณสถานตอนไหน

ผู้สื่อข่าวรายงานมาเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2562 ว่าเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมานายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี มอบหมายให้นายวันชัย จันทร์พร รอง ผวจ.อุดรธานี ติดตามแก้ไขปัญหาผลกระทบจาก ถูกปรับลดงบประมาณการก่อสร้าง ขยายถนนเลี่ยงเมืองฝั่งตะวันออก จาก 4 เลน เป็น 6 เลน สายบายพาตอุดรธานี-ขอนแก่น ไปจนถึง บายพาตอุดรธานี-หนองคาย ลงจาก 9.9 กม. มาเป็น 7.2 กม.

หลังจากที่กรมทางหลวง ได้สำรวจออกแบบขยายถนนดังกล่าว ซึ่งอยู่ในการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร ในร่างงบประมาณรายจ่ายปี 63 ที่กำลังถูกนำเสนอร่างงบประมาณผ่านวาระ 1 ระยะทาง 7.2 กม. วงเงิน 440 ล้านบาท ผูกพัน 3 ปี (ปี 63,64,65) โดยระยะทางที่เหลือ 2.7 กม. (ทต.หนองบัว-บายพาตอุดร-ขอนแก่น) อยู่ในพื้นที่ของโบราณสถาน หากจะก่อสร้างต้องศึกษาทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมก่อน

ผู้สื่อข่าวเดินทางไปที่ “โบราณสถาน” ตั้งอยู่ในซอยหลวงพ่อพระงาม เยื้องกับประตูทางเข้าวัดโยธานิมิตร มีสภาพพังทลายถูกดินทับถม เห็นเพียงเป็นเนินดิน และมีเศษอิฐโผล่พ้นเนินดินขึ้นมา อีกด้านมีอาคารศาลาสร้างชิดฐาน บรรจุพระพุทธรูปขนาดใหญ่ มีป้ายระบุว่า “หลวงพ่อพระงาม” บูรณะครั้งล่าสุด 10 ต.ค.55 มีบันไดขึ้นลงด้าน รพ.ค่ายประจักษ์ศิลปาคม

ในระบบภูมิสารสนเทศ แหล่งมรดกทางศิลปวัฒนธรรม กรมศิลปากร (http://gis.finearts.go.th/) บันทึกรายงานระบุ พระธาตุ/เจดีย์ร้าง ข้างวัดโยธานิมิต (ยังไม่ขึ้นทะเบียน) ซอยพระงาม บ.ดงวัด ต.หมากแข้ง อ.เมือง จ.อุดรธานี สำนักงานศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น ได้รับแจ้งจากสำนักงานศึกษาธิการ อ.เมืองอุดรธานี วันที่ 4 กันยายน 2545 จึงมาสำรวจระหว่างวันที่ 15 -17 มกราคม 2546 พบว่าเคยมีรายงานการสำรวจ เมื่อ พ.ศ.2534 กล่าวถึง หลวงพ่อพระงาม ในเขตบ้านดงวัด ลงบนแผนที่ในรายงาน ตรงกับตำแหน่งที่ตั้งของเจดีย์ร้างแห่งนี้

บันทึกกรมศิลปากร ระบุอีก การสำรวจครั้งนี้ (15-17 ม.ค.46) พบว่าโบราณสถานอยู่ในสภาพพังทลาย และมีดินทับถมเป็นส่วนมาก ยากที่จะสังเกตและศึกษา รูปทรงทางสถาปัตยกรรม ประเมินเกี่ยวกับรูปแบบทางศิลปกรรม รวมทั้งการวัดขนาดความกว้าง-ยาว เบื้องต้นระบุได้เพียงว่า เป็นโบราณสถานที่ก่อด้วยอิฐ อาจจะเป็นพระธาตุหรือเจดีย์ ซึ่งมีฐานเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส โดยอิฐที่ใช้ในการก่อสร้างเป็นอิฐดินเผา ที่มีส่วนผสมของแกลบและพืช ขนาดของอิฐกว้าง 12 เซนติเมตร ยาว 25 เซนติเมตร หนา 6 เซนติเมตร

สภาพปัจจุบันโบราณสถานพังทลาย และทรุดโทรมมาก ทั้งยังมีการก่อสร้างอาคารศาลา ยาวประมาณ 13.5 เมตร กว้างประมาณ 8 เมตร ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ ประทับนั่งแสดงปางมารวิชัย ซ้อนทับประชิดฐานโบราณสถาน จึงเป็นการยากที่จะศึกษาลักษณะรูปทรงทางศิลปะ-สถาปัตยกรรม ขนาดและสัดส่วนที่ชัดเจน ตลอดจนอายุสมัยของโบราณสถาน

เบื้องต้นสันนิษฐานว่า พระธาตุเจดีย์ร้างแห่งนี้ อาจเป็นสถาปัตยกรรมในรูปแบบศิลปกรรมท้องถิ่น ซึ่งได้รับอิทธิพลศิลปกรรมแบบล้านช้าง จากการพิจารณาในเบื้องต้นพบว่าลักษณะของฐานพระธาตุ เป็นฐานแบบฐานสี่เหลี่ยมที่ค่อนข้างสูงมิใช่ฐานแผ่ ดังนั้นจึงสันนิษฐานว่าหากเป็นพระธาตุหรือเจดีย์ ในศิลปกรรมล้านช้างก็คงไม่น่าจะเป็นพระธาตุรุ่นแรกๆ แต่น่าจะเป็นพระธาตุในรุ่นหลัง ดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้ที่พระธาตุ/เจดีย์ ร้างแห่งนี้ มีอายุไม่เก่าไปกว่าประมาณพุทธศตวรรษที่ 23 –24 ซึ่งเป็นช่วงที่นิยมสร้างพระธาตุแบบฐานสูง ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พระครูสมุห์เสรี ปญฺญาสาโร เจ้าอาวาสวัดโยธานิมิต เล่าว่า เมื่อปี 2519 ช่วงที่มาบวชเป็นสามเณรที่วัดแห่งนี้ มีพระสงฆ์จาก จ.หนองบัวลำภู ได้มาเห็นองค์พระขนาดเล็ก อยู่บริเวณเจดีย์ร้าง และยังมีร่างทรงมาทำพิธี จึงได้สร้างหลังคาครอบไว้ มีประชาชนที่เคารพศรัทธา ทำให้มีการสร้างและปรับปรุง จนเป็นกันอยู่ในปัจจุบัน และมีชื่อว่า “หลวงพ่อพระงาม” ไม่รู้ว่าบริเวณนี้เป็นโบราณสถาน

พล.ท.อำนวย จุลโนนยาง อดีตผู้ทรวงคุณวุฒิกองทัพบก ตอบข้อซักถามว่า อาศัยและรับราชการที่อุดรธานี โดยเฉพาะที่ มทบ.24 ค่าประจักษ์ศิลปาคม มากกว่า 50 ปี ไม่เคยรู้มาก่อนว่าบริเวณศาลาหลวงพ่อพระงาม อันเป็นที่เคารพศรัทธาของพี่น้องโดยรอบ เป็นโบราณสถาน ที่ผ่านมาก็ไม่เห็นกรมศิลปากรมาทำอะไร อีกทั้งอยู่ห่างจากถนนวงแหวนมาก ขอเรียกร้องให้กรมศิลปากร พิจารณาทบทวนเรื่องนี้โดยด่วน

นายวันชัย จันทร์พร รอง ผวจ.อุดรธานี เปิดเผยว่า มีการประชุมของคณะทำงานไปแล้ว 1 ครั้ง หลังจากรวบรวมข้อมูลที่เรามีอยู่ ได้ทำหนังสือแจ้งไปยัง สำนักงานศิลปากรที่ 8 ขอนแก่น ให้มาตรวจสอบเจดีย์ร้างแห่งนี้อีกครั้ง เพื่อหาแนวทางในการของบประมาณ ขยายถนนวงแหวนที่เหลือ ให้ทันกับช่วงแรกที่รับงบประมาณมาแล้ว….

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments