วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Google search engine
หน้าแรกสังคมรองนายกฯห่วงเขื่อนอุบลรัตน์-ห้วยหลวงน้ำน้อย

รองนายกฯห่วงเขื่อนอุบลรัตน์-ห้วยหลวงน้ำน้อย

ฝนตกอีสานตอนบนๆไม่ทั่วฟ้า รองนายกฯเดินทางลงพื้นที่ ฝนส่งท้ายอีก 2 เดือน ที่อาจจะมีพายุอีก 1 ลูก และในจะหมดเร็วกว่าปกติ สั่งเร่งระบายน้ำอูน-น้ำพุงท่วมลงน้ำโขง เขื่อนลำปาว-เขื่อนอุบลรัตน์ จับมือบริหารน้ำดูแลน้ำชี้ พร้อมเตรียม “ฝนหลวง” รับมือกับฝนไม่มาตามนัด

เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 29 สิงหาคม 2561 ที่สำนักงานชลประทานที่ 5 อุดรธานี พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี พร้อมนายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เดินทางติดตามการบริหารจัดการน้ำของเขื่อน 5 แห่ง ประกอบด้วยน้ำอูน , น้ำพุง , ลำป่าว , อุบลรัตน์ และห้วยหลวงโดยมีนายวิทยา จันทร์ฉลอง ผู้ว่าราชการ จ.สกลนคร นายสิทธิชัย จินดาหกลวง รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี นายจารึก วัฒนาโกสัย ผอ.ชลประทานที่ 5 นำหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรายงานสถานการณ์ และรับมอบนโยบาย

ที่ประชุมรายงานว่าจากพายุฝน ที่เกิดขึ้นในภาคอีสานตอนบนติดต่อกัน 2 ครั้ง ซึ่งมีทั้งพื้นที่ฝนตกลงมาซ้ำ และฝนยังไม่ตกลงมาเลย ทำให้เขื่อนและอ่างเก็บน้ำมีสถานการณ์ต่างกัน โดยที่เขื่อนน้ำอูนมีน้ำมากถึง 110 เปอร์เซ็นต์ ต้องระบายน้ำออกวันละ 9.8 ล้าน ลบม. เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มต่ำ ที่ไม่ได้ทำการเกษตร และพื้นที่ลุ่มน้ำสงคราม ก่อนไหลลงสู่แม่น้ำโขง , เขื่อนน้ำพุงมีน้ำอยู่ 76 เปอร์เซ็นต์ ระบายน้ำออกเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า ลงไปในหนองหารสกลนคร

ส่วนเขื่อนลำปาวมีน้ำอยู่ 65 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มการระบายน้ำจากวันละ 10 ล้าน เป็น 15 ล้าน ลบม. , เขื่อนอุบลรัตน์มีน้ำอยู่ 28 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น และเขื่อนห้วยหลวงมีน้ำอยู่ 43 เปอร์เซ็นต์ จากสถิติจะมีฝนอีก 2 เดือน แต่ปริมาณจะลดลง เขื่อนน้ำอูน และเขื่อนน้ำพุง สถานการณ์น้ำท่วมจะดีขึ้น ส่วนเขื่อนลำปาว เขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนห้วยหลวง จะมีน้ำไหลเข้าเขื่อนเพิ่มขึ้น แต่จะไม่เต็มระดับเก็บกัก น่าจะมีน้ำเพียงพอไปจนถึงฤดูแล้ง โดยภายในสิ้นเดือนจะมีความชัดเจน

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ฝนตกที่ผ่านมาแปลกประหลาด อีกทั้งมีพยากรณ์ว่าจะมีพายุอีก 1 ลูก และร่องมรสุมอาจจะลดลงไปเร็วขึ้น โอกาสที่ฝนจะไม่ตกปลายฤดูก็มี ทำให้เราต้องติดตามสถานการณ์ ทั้งน้ำท่วมและน้ำแล้ง การประเมินสถานการณ์จะไม่เหมือนทุกปี ถ้าบริหารจัดการไม่ดีน้ำจะไม่พอใช้ โดยขอให้เร่งผลักดันน้ำ จากลำน้ำสาขาลงน้ำโขงเร็วขึ้น และให้ประเมินสถานการณ์ ถ้าฝนปลายฤดูมี่ตกลงมาตามสถิติ ในสถานการณ์เลวร้ายที่สุด เราจะต้องมีแผนจัดการน้ำอย่างไร โดยให้ สนง.ทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เป็นหน่วยบูรณาการทั้งหมด และรายงานสถานการณ์ให้ผู้ว่าฯ 24 ชม.

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ว่า มาติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่นี้ ที่มีพายุเข้ามามีอิทธิพลถึง 2 ลูกติดต่อกัน แม้จะไม่พัดเข้ามาประเทศไทยโดยตรง และก็ยังตกซ้ำลงมาที่เดิมทำให้อ่างเก็บน้ำบางอ่างฯมีน้ำสูง ขณะที่มีอ่างเก็บน้ำบางแห่งเช่น เขื่อนอุบลรัตน์ และอ่างฯห้วยหลวง มีปริมาณน้ำที่กักเก็บน้อยอยู่ ซึ่งก่อนหน้านี้ในการบริหารจัดการน้ำ ได้สั่งการให้กักเก็บน้ำในระดับรูเคิบ ก็สามารถดำเนินการไปได้ แต่จากนี้ไปเราต้องประเมินสถานการณ์ ว่าจะมีพายุหรือฝนเข้ามาอีกแค่ไหน

“ ภาคอีสานยังเหลือเวลาฝนตกอีก 2 เดือน เราได้แบ่งการจัดการน้ำเป็นสองส่วน คือส่วนของน้ำอูนที่มีน้ำในปริมาณมากอยู่ ให้กรมชลประทานเร่งรัดระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขง ที่ยังสามารถระบายได้อยู่ ซึ่งตอนนี้กระทบอยู่ที่ อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม หรือที่น้ำพุงหากมีฝนตกลงมาอีก ต้องหยุดการระบายน้ำออกมา ไม่ให้ไปกระทบกับหนองหาน และเมืองสกลนคร ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนลำปาว มีระดับน้ำในรูเคิบอยู่ แต่เขื่อนอุบลรัตน์ค่อนข้างต่ำ ทั้งสองเขื่อนต้องบริหารร่วมกัน ไม่ให้กระทบกับลำน้ำชี ”

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า มีความเป็นห่วงว่าถ้าฝนไม่มาเหมือนอดีต ก็จะส่งผลกระทบไปถึงแล้งหน้า โดยเฉพาะที่อ่างฯห้วยหลวง จ.อุดรธานี ปกติน้ำจะมาในปลายฤดู และถ้าไม่มีอ่างฯห้วยหลวง ต้องเริ่มบริหารจัดการน้ำตัวเอง น้ำอุปโภคบริโภคของเมืองอุดรธานีจะขาดไม่ได้ ถ้าเพียงพอแล้วก็ต้องดูน้ำเพื่อการเกษตร รอรับกับน้ำที่มีอยู่จริง และเมื่อน้ำไม่ไหลเข้ามา การเติมน้ำด้วย “ฝนหลวง” ต้องเข้ามาดำเนินการ พร้อมสั่งการไม่ให้มองเฉพาะแล้งนี้ แต่ต้องมองไปหลายปีข้างหน้าด้วย

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments