วันอังคาร, พฤษภาคม 20, 2025
Google search engine
หน้าแรกสังคมฝนหลวงปักหลัก บน.23 ลดลูกเห็บ-PM 2.5

ฝนหลวงปักหลัก บน.23 ลดลูกเห็บ-PM 2.5

ภารกิจของ “ฝนหลวง” ไม่ใช่เพียงการเติมน้ำลงในอ่างฯ หรือทำให้ฝนตกลงเลือกสวนนา แต่การต่อยอดพระปรีชาของ ในหลวง ร.9 ทำให้เกิดภารกิจสำคัญอีก 2 ภาระกิจ ที่สามารถแก้ปัญหาของอีสานตอน และของอุดรธานีได้ คือ การยับยั้ง หรือลดความรุนแรงของพายุลูกหเห็บ และการเปิดชั้นบรรยากาศตัวสำคัญที่ทำให้เกิดสภาวะ “เกาะความาร้อนในชุมชนเมือง” สามารถลดความร้อน และลด PM 2.5 ได้

น.ส.หนึ่งหทัย ตันติพลับทอง ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น เปิดเผยว่า กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ร่วมกับกองทัพอากาศ มาตั้งศูนย์ปฏิบัติการชั่วคราวที่ กองบิน 23 อุดรธานี เพื่อปฏิบัติการในพื้นที่อีสานตอนบน มาตั้งแต่ 1 ก.พ.2568 เป็นต้นมา ไปจนถึงหลังฝนทิ้งช่วงราว มิ.ย.2568 นอกจากภารกิจหลักเติมน้ำในอ่างเก็บน้ำ และแก้ไขปัญหาภัยแล้งในบางพื้นที่ ยังมีภารกิจของ “งานวิจัยบรรยากาศประยุค” การต่อยอดฝนหลวงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มีเพิ่มอีก 2 ภารกิจ

2.ภารกิจยับยั้งพายุลูกเห็บไม่ให้เกิดขึ้น หรือให้มีขนาดเล็กลงเพื่อลดความรุนแรง ทำการทดลองปฏิบัติการที่ภาคเหนือ เมื่อได้ผลนำมาปฏิบัติการที่ภาคอีสาน และพื้นที่อื่นๆ ใช้เครื่องบินอัลฟ่าเจ็ท ของกองทัพอากาศ ประจำการที่ บน.23 อุดรธานี ขึ้นไปปฏิบัติการเมื่อตรวจพบการก่อตัว “พายุลูกเห็บ” ด้วยการยิงพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์จุดที่มีการก่อตัว เดิมพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์จัดซื้อจากต่างประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยได้พัฒนา พร้อมขอให้กองทัพอากาศเป็นผู้ผลิต ได้ผลดีและราคาถูกกว่า หลังปฏิบัติการจะตรวจด้วยเรดาร์ รวมทั้งการตรวจสอบภาคพื้นดิน ด้วยอาสาสมัคร  และประชาชนในพื้นที่ ในปีนี้ที่ขึ้นปฏิบัติการได้ผลเกือบ 100 % ปัญหาอุปสรรคมีบางครั้งที่ “ลมแรง” และการขึ้นปฏิบัติการไม่ทัน อาทิ จ.หนองบัวลำภู เกิดมากที่สุด

3.ภารกิจเจาะชั้นบรรยากาศ  (ลดอุณหภูมิและPM2.5) ที่เกิดจากอากาศร้อนจัดของอีสานตอนบน ความร้อนละลอยขึ้นที่สูง แต่ในระดับความสูง 16,000 ฟุต ความกดอากาศทำให้อุณหภูมิจะต่ำกว่า 0 องศา เกิดเป็นแนวป้องกันเหมือน “ฟิล์มบางๆ” ป้องกันไม่ให้ความร้อนและฝุ่น หลุดออกไปจากฟิล์มไป (เจอเย็นกดเอาไว้) สภาพแบบนี้เกิดขึ้นกับเมืองใหญ่ๆ ที่เกิดปัญหาความร้อน และฝุ่นขนาดเล็ก PM 2.5  “งานวิจัยบรรยากาศประยุค” นักวิจัยนักวิชาการของไทย ร่วมกับนักวิจัยของ “ยูเสส” และต่างประเทศ สามารถเจาะชั้นบรรยากาศนี้ได้ โดยใช้เครื่องบินซุปเปอร์คิงส์แอร์ ของการบินเกษตร ที่มีเครื่องเฉพาะในการปฏิบัติการ และอุปกรณ์การตรวจวัดทันสมัย นำเอาน้ำเย็น หรือน้ำแข็งแห้งขึ้นไปฉีดพ่น ทำให้ฟิล์มบางๆถูกเจาะทะลุ ความร้อนและPM2.5 จะถูกระบายออกไป

ในปีนี้ได้ขึ้นบินเจาะชั้นบรรยากาศ ในภาคอีสานตอนบนหลายจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดชายแดนริม น.โขง คือ หนองคาย , บึงกาฬ และนครพนม ซึ่งเป็นแนวของฝายที่พัดมาจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยใช้น้ำเย็นที่รับอนุเคราะห์จาก การประปาอุดรธานี 47,000 ลิตร นำมาผ่านอุปกรณ์ลดอุณหภูมิเหลือ 0 องศา และน้ำแข็งแห้งรับอนุเคราะห์จาก ปตท.ที่ต้องไปขนมาจาก จ.ระยอง 15.5 ตัน โดยน้ำแข็งแห้งจะได้ผลดีกว่า ทำให้หลายศูนย์ฯมีความต้องการ และระยะทางที่ต้องเดินทางไปขนมา นำขึ้นเครื่องไปโปรยรวมทั้งสิ้น 120 เที่ยวบิน ก่อนโปรยก็ตรวจเหนือเกาะฟิล์ม หลังโปรยก็ตรวจวัดอีกครั้ง ได้ผล เป็นที่น่าพอใจ  แต่ละเที่ยวต้องขึ้นบินวนโปรยเพื่อให้ฟิล์มทะลุ

น.ส.หนึ่งหทัย ตันติพลับทอง ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น กล่าวด้วยว่า การแก้ไขปัญหา PM 2.5 มีปัจจัยไปเกี่ยวข้องหลายส่วน โดยเฉพาะปัญหา “ต้นเหตุ” หรือ “ต้นทาง” ต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาไปพร้อมๆกัน ไม่ว่าจะเป็น การเผาในที่โล่ง , การเผาวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร , ไฟป่า , ไฟไหม้ริมทาง , รถยนต์ควันดำ , โรงงานอุตสาหกรรม , การก่อสร้าง และควัน-ฝุ่น พัดมาจากประเทศเพื่อนบ้าน กรมฝนหลวงและการบินเกษตร มีภาระกิจขึ้นบินเจาะชั้นบรรยากาศ ก็เป็นส่วนหนึ่งเท่านั้น…..

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments