วันเสาร์, กุมภาพันธ์ 22, 2025
Google search engine
หน้าแรกสังคมอุดรหนุน“น้ำหมักยูเรีย”ลดเผาอ้อยแก้ PM 2.5

อุดรหนุน“น้ำหมักยูเรีย”ลดเผาอ้อยแก้ PM 2.5

แม้สถานการณ์ PM 2.5 ของอุดรธานี ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา จะไม่เกินกว่ามาตรฐาน แม้จะอยู่ในสภาพอากาศไม่ระบาย เป็นภาวะฝุ่นและควันสะสม ต่างจากจังหวัดใกล้เคียง ที่คุณภาพอากาศเกินมาตรฐาน แต่อุดรธานีก็ยังคงเดินหน้า หางทางแก้ไขปัญหา PM 2.5 เพราะในช่วงอีก 2 เดือน ยังจะเกิดสภาพอากาศไม่ระบาย เป็นภาวะฝุ่นและควันสะสมขึ้นได้ และรวมไปถึงกำหนดแผนรองรับ คุณภาพอากาศในช่วงงานมหกรรมพืชสวนโลก

เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2568 ที่ห้องประชุมสำนักงานเกษตร จ.อุดรธานี นายณฐพล วิถี รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี เป็นประธานประชุมกลั่นกรองข้อมูลพื้นที่ผลิตอ้อย และหารือแนวทางแก้ไขปัญหาการเผาอ้อยในพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงาน ครั้งที่ 1/2568 มีเกษตรจังหวัด , เกษตรสหกรณ์จังหวัด , , อุตสาหกรรมจังหวัด , พาณิชย์จังหวัด , สิ่งแวดล้อม ภาค 9 , ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมจังหวัด , ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ภาค 4 , โรงงานตาลน้ำเกษตรผล , โรงงานน้ำตาลเริ่มอุดม , โรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี และสมาคมชาวไร่อ้อย 3 โรงงาน เข้าร่วมประชุมเป็นครั้งแรก

นายณฐพล วิถี รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวว่า อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเกิดขึ้นมานาน มีกฎหมายหลายฉบับเข้าไปเกี่ยวข้อง มีหลายหน่วยงานราชการกำกับดูแลทั้งทางตรงและทางอ้อมหลายหน่วย วิถีของการปลูกอ้อย ดูแล เก็บเกี่ยว ขนส่ง และการผลิตในโรงงาน ที่ทำกันอยู่ในขณะนี้ส่งผลต่อปัญหา PM 2.5 ซึ่งในความพยายามของหลายหน่วยงาน ยังขาดข้อมูลที่ถูกต้องชัดเจน จึงขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วน สนับสนุนข้อมูลให้ภาครัฐ รวมไปถึงความคิดเห็นทุกด้าน เพื่อร่วมกันช่วยหาช่องทางแก้ไข ที่ผ่านมาทุกฝ่ายไม่ได้พบกันลักษณะนี้ วันนี้จะเป็นวันแรกมาพูดคุยกัน

หน่วยงานภาครัฐเสนอขอข้อมูล การปลูกอ้อยที่ละเอียดและถูกต้อง เพราะปัจจุบันมีข้อมูลไม่ตรงกันคือ ลงทะเบียนเกษตรกรปลูกอ้อย 65,857 ไร่ , จากดาวเทียม 1,280,000 ไร่ , จาก คกก.อ้อยและน้ำตาล 709,198 ไร่ และจากโรงงานน้ำตาล 3 โรง รวม 160,000 ไร่ โดยไม่รู้ว่ามีอ้อยส่งเข้าโรงงานเท่าไหร่ เหลืออยู่อีกเท่าไหร่ และอยู่ที่ไหน เพื่อหน่วยงานภาครัฐ จะได้เข้าไปพูดคุยหาข้อเท็จจริง รับรู้ปัญหาอุปสรรค เพื่อสนับสนุนให้เกษตรกร ตัดอ้อยสดที่เหลือส่งโรงงาน ซึ่งที่ประชุมก็หาข้อมูลไม่ได้ เพราะมีชาวไร่อ้อยจำนวนมาก ไม่ได้ลงทะเบียนรับโควตาจากโรงงาน แต่ตัดขายผ่านลานรับซื้ออ้อย และผ่านเจ้าของโควตา ระบุได้ว่าเหลืออ้อยยังไม่ตัด 100,000 ไร่เศษ เพราะการตัดอ้อยสดทำให้ อ้อยเข้าโรงงานน้อยกว่ากำลังผลิต ทำให้การปิดหีบจะเลื่อนออกไป

ด้านสมาคมชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล ชี้แจงว่า การปลูกอ้อยได้ราคาต่ำกว่าปีก่อน ขณะต้นทุนการปลูกสูงขึ้น จากราคาปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้าสูงขึ้น 3 เท่า จากการยกเลิกยาฆ่าหญ้าบางชนิด และหากตัดอ้อยสดจะหาแรงงานยาก ค่าแรงสูงขึ้น ค่าสางใบอ้อย ค่ากำจัดใบอ้อย เป็นค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นมา ทำให้ชาวไร่อ้อยจะเผาอ้อยเพื่อเก็บเกี่ยว แต่เมื่อรัฐบาลมีนโยบายเพื่อลด PM 2.5 จึงต้องทำตามและแบกภาระขาดทุนไว้เอง บวกกับอากาศร้อย เม.ย.67 อุณหภูมิเกิน 40 องศา 22 วัน ทำให้ผลผลิตรลดลง 20-30 % สำหรับการเผาใบอ้อยในไร่อ้อย หลังจากตัดอ้อยสดส่งโรงงานไปแล้วนั้น เพราะชาวไร่จะต้องเคลียพื้นที่เพื่อจัดการตอ อ้อย และใส่ปุ๋ยในฤดูต่อไป รวมทั้งหากปล่อยไว้อาจจะไฟไหม้ภายหลังควบคุมไม่ได้

ด้านชาวไร่อ้อยยังชี้แจงด้วยว่า การปลูกอ้อยในภาคกลาง ได้สางใบอ้อยแล้วรวมส่งไปขายโรงไฟฟ้า เพราะมีความจำเป็นต้องเอาออก จากที่ดินปลูกเป็นดินเหนียว มีความชื่นสูงหลังเก็บเกี่ยว ใบอ้อยที่ตกค้างจะทำให้หมักหมม จนเกิดเป็นเชื้อราทำอ้อยเสียหาย อีกทั้งใบอ้อยภาคกลางมีมากกว่าอีสาน จึงเกิดธุรกิจสางใบอ้อย เก็บรวบรวมใบอ้อยไปขาย ส่วนที่ภาคอีสานต่างกัน จากดินที่ปลูกเป็นดินปนทราย มีความชื่นเหลือในดินไม่มากนัก เมื่อตกค้างในไร่อ้อยมีปัญหาไฟไหม้และใส่ปุ๋ยอ้อยตอ มีกลุ่มที่เก็บใบอ้อยขายในภาคกลาง มาทดลองรับซื้อใบอ้อยในอีสาน พบว่าใบอ้อยอีสานมีน้อย ไร่อ้อยเป็นผืนเล็กๆ ไม่คุ้มกับการมาลงทุนจึงพับฐานไป ขณะที่มีชาวไร่นำนวัตกรรม “น้ำปุ๋ยยูเรียหมัก” มาฉีดพ่นใบอ้อยตกค้างในไร่ เพื่อเร่งการย่อยสลายมาใช้ ทำให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น มี รง.น้ำตาลไทยอุดรธานีส่งเสริม

นายณฐพล วิถี รองผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี กล่าวสรุปว่า การประชุมวันแรกได้ข้อมูลพอสมควร ที่จะต้องมีการประสานตรงเพิ่มเติม และยังได้รับรู้ปัญหาการตัดอ้อยสด โดยมีเรื่องของนวัตกรรมจัดการใบอ้อย ให้เป็นปุ๋ยและรักษาคุณภาพดิน ลดการเผาใบอ้อยในไร่อ้อย ที่มีชาวไร่อ้อยที่ได้รับการยกย่อง และชาวไร่อ้อยปัจจุบัน นำมาใช้ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ตนเองจะลงพื้นที่ดูเรื่องนี้ หากได้ผลดีตามที่ชาวไร่อ้อยแนะนำ จะส่งเสริมให้ชาวไร่อ้อย นำนวัตกรรมนี้ไปใช้ เพื่อลดการเผา แก้ปัญหา PM 2.5 เกินมาตรฐาน และเพิ่มอินทรียวัตถุในผืนดิน…..

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments