วันพุธ, มกราคม 22, 2025
Google search engine
หน้าแรกสังคมอ้อยไฟ 975 คันเริ่มเข้าหีบชุดแรกไม่พบอ้อยเน่า

อ้อยไฟ 975 คันเริ่มเข้าหีบชุดแรกไม่พบอ้อยเน่า

เมื่อเช้าวันที่ 19 มกราคม 2568 ที่โรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี ต.คำบง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี ได้เริ่มนำอ้อยไฟไหม้ตกค้าง 975 คัน น้ำหนักรวม 20,000 ตัน เข้าไปหีบในโรงงานแล้ว จากคืนที่ผ่านมาที่สมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ ไทยอุดรบ้านผือ ต.คำบง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี หลังจากที่สมาคมฯมีหนังสือถึง รมว.อุตสาหกรรม ขอสั่งการให้หีบอ้อยไฟไหม้ตกค้าง ที่โรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี 975 คัน เพื่อบรรเทาความเดือนร้อนชาวไร่ จากอ้อยไฟไหม้ตกค้างมาหลายวันกำลังจะเน่าเสีย โดยมีชาวไร่อ้อยบางส่วน เคลื่อนรถอ้อยไฟไหม้ออกจากลานจอด 34 คัน มาจอดกดดันอยู่ริมนถนนหน้าสมาคมฯ ประกาศรอคำตอบจากรัฐมนตรี หากไม่เป็นผลจะเคลื่อนรถเข้าตัวเมือง

ทำให้นายใบน้อย สุวรรณชาตรี เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สนอ.) ส่งตัวแทนเดินทางมามอบหนังสือของ สนอ. ถึงโรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี ที่อ้างถึงสมาคมฯ นำเรียน รมว.อุตสาหกรรม ขอความอนุเคราะห์ให้ความช่วยเหลือ อนุญาตหีบอ้อยไฟไหม้ที่ตกค้าง 975 คัน ตามรายละละเอียดแจ้งมานั้น เพื่อการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวไร่อ้อย จึงอนุญาตให้โรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี บริหารจัดการอ้อยไฟไหม้ที่ตกค้างอยู่ในลานเข้าหีบได้ จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ และพิจารณาต่อไป ลงชื่อนายใบน้อย สุวรรณชาตรี เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สนอ.)

พร้อมกันนี้ตัวแทน สนอ.ได้ประชุมร่วมกับ ผู้แทนโรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี , ผู้แทนสมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือไทยอุดรบ้านผือ และผู้แทนส่วนราชการ โดยมีนางเทียบจุฑา ขาวขำ ส.ส.อุดรธานี พรรคเพื่อไทย เขตพื้นที่โรงงานน้ำตาลเป็นสักขีพยาน เพื่อกำหนดรายละเอียดการหีบอ้อยไฟไหม้ สรุปว่า 1.อ้อยไฟไหม้ที่จะทำการหีบ ถือเป็นอ้อยเฉพาะกิจ ไม่นับรวมว่าเป็นอ้อยที่ต้องหีบตามอัตราส่วนเกณฑ์ 25 % , 2.อ้อยที่เสียหายไม่สามารถหีบได้ ให้ส่วนราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้พิจารณาแนวทาง ให้การช่วยเหลือเยียวยาค่าอ้อย แก่ชาวไร่อ้อยในอัตราที่เหมาะสม ชดเชยที่ 10 C.C.S. , 3.เมื่อหีบอ้อยเฉพาะกิจนี้เสร็จแล้ว ให้โรงงานหีบอ้อยตามสัดส่วน ตามที่ภาครัฐกำหนดอ้อยไฟไหม้ไม่เกิน 25 % ต่อวัน 4. เมื่ออ้อยที่ทำการวิเคราะห์คุณภาพอ้อย ส่วนที่ได้มาตรฐานก็จ่ายค่าอ้อยตามปกติ แต่ถ้าผลวิเคราะห์ซ้ำไปแล้วไม่ผ่านก็ให้ใช้ค่า (C.C.S.) ที่น้อยกว่าระหว่างค่าเฉลี่ยประจำวันกับค่า (C.C.S.) ที่วัดได้จริง และ 5. อ้อยที่ไม่ได้คุณภาพ จะถูกปฏิเสธการรับซื้อ ให้คณะทำงานควบคุมการผลิตประจำโรงงานเป็นผู้ตัดสิน โดยทั้ง 3 ฝ่ายได้ลงนามในหนังสือร่วมกัน

สำหรับรถบรรทุกอ้อยชุดแรกเป็นรถบรรทุก 34 คัน ที่จะเคลื่อนเมืองอุดรธานี และจอดขวางทางเข้าโรงงาน ส่วนคิวที่หนึ่งจะเริ่มตอนเที่ยงวัน จะเป็นรถบรรทุกอ้อยไฟไหม้ จอดรถอยู่ในลานของโรงงาน ที่จอดเรียงลำดับกันอยู่แล้ว แบ่งคิวการเข้าไปเทอ้อยรอบ 1 ชม. เป็น 3 กลุ่ม คือ รถแทรกเตอร์ลากสาลี 3 คัน , รถบรรทุกกลาง-เล็ก 3 คัน และรถบรรทุกพ่วง-เทเลอร์ 3 คัน รถบรรทุกอ้อยจะถูกเรียกเข้าไปชั่งน้ำหนัก เข้าไปจอดรถอยู่ลานที่หนึ่ง เพื่อรับการสุ่มตรวจคุณภาพอ้อยทุกคัน หากตรวจไม่ผ่านก็ต้องออกมา หากตรวจผ่านก็เข้าไปเทอ้อยได้ คาดว่าในวันแรกจะมีรถอ้อยไฟไหม้เข้าเทอ้อยได้ 200 คัน ทำให้บรรดาโชเฟอร์รถบรรทุกอ้อย ที่จะได้เทอ้อยในวันนี้มาจับกลุ่ม พูดคุยกันอย่างสนุกสนาม ซึ่งในกลุ่มนี้จอดค้าง คืนมากว่า 5 วัน


นายทองพัน ลายแก้ว อายุ 60 ปี เกษตรกรบ้านโนนแดง ม.4 ต.โนนทอง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี โชเฟอร์รถแทรกเตอร์ลากสาลี่ บรรทุกอ้อยไฟไหม้คันแรกของคิวที่ 1 ตกค้างมาตั้งวันแรก ขับรถมารอเข้าไปเทอ้อยด้วยใบหน้ายิ้มแย้ม เปิดเผยว่า ขนอ้อยไฟไหม้มาราว 20 ตันเศษ ขายวันนี้ก็จะได้เงิน 20,000 กว่าบาท มาจอดรถมาแล้วเป็นคืนที่ 5 เป็นคันแรกของรถสาลีที่จอดรอ จะได้เข้าไปเทอ้อยในโรงงาน คันนี้เป็นอ้อยที่รับจ้างขนค่าจ้างตันละ 150 บาท เที่ยวนี้มาจอดรถนาน 5 คืนก็ถือว่าขาดทุน ดีใจที่ได้นำอ้อยเข้าไปเทออก เที่ยวต่อไปยังจะไม่ไปขนอ้อยไฟไหม้ เพราะกลับว่าโรงงานจะไม่รับ หรือท่ารับก็น่าจะรอคิวนาน จะรอไปรับจ้างขนอ้อยสดก่อน ขณะนี้กำลังตัดอ้อยสดอยู่พอดี

นายอาทร ดุลบดี อายุ 43 ปี เกษตรกร บ.เม็ก ต.ข้าวสาร อ.บ้านผือ เปิดเยยว่า นำรถสาลี่ขนอ้อยไฟไหม้มา 30 ตัน รออยู่ที่ลานจอดมา 5 คืน รับแจ้งแล้วว่าจะได้เข้าเทอ้อยบ่ายวันนี้ คาดว่าจะได้เงินสดประมาณ 3-4 หมื่นบาท มั่นใจว่าอ้อยไหไหม้ของตนจะผ่านมาตรฐาน เพราะโชคยังดีที่ไม่มีฝนตก หรือหมอกลงจัด หากเป็นอย่างนั้นอ้อยอาจจะขึ้นราได้ เมื่อไปคิวเทอ้อยดีใจมาก พอแจ้งไปบอกครอบครัว จะขายอ้อยได้เงินให้ครอบครัว ตอชดจนจ่ายค่าแรงงาน และหนี่สินอื่นๆ ทำให้ทุกคนยิ้มออก ก่อนหน้านี้หน้าบูดใส่กัน ส่วนอ้อยเผาที่เหลืออีก 30-40 ตัน ที่จะยังไม่ได้ขนมา ก็จะหาทางออกทำอย่างไรดี ต่อไปจะทำการตัดอ้อยสดเท่านั้น

นายวรพจน์ บุรุษภักดี เลขาธิการสมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือไทยอุดรบ้านผือ เปิดเผยว่า หลังจากเราได้แสดงสัญญาลักษณ์ ก่อนที่จะได้รับหนังสือจากคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สนอ.) ลงนามโดยนายใบน้อย สุวรรณชาตรี เลขาธิการ สนอ. อนุญาตให้โรงงานเปิดรับอ้อยไฟไหม้ได้ กติกาตกลงกันก็คือ จะนำอ้อยไฟไหม้เข้าหีบในอัตรา 6 ต่อ 1 เป็นอ้อยสด 6 อ้อยไฟไหม้ 1 จะใช้เวลาอยู่ประมาณ 4-5 วัน เฉลี่ยวันละ 200 คัน ซึ่งรถแต่ละประเภท เข้าโรงงาน ได้จัดตารางเอาไว้เป็นที่เรียบร้อย เมื่อสิ้นปีอ้อยไฟไหม้จะไม่ให้เกิน 25 % ส่วนคุณภาพอ้อยที่ไฟไหม้ที่เข้าโนงงานไปแล้ว รับแจ้งจากฝ่ายควบคุมการผลิตพบยังไม่ต่ำกว่าคุณภาพ

“ หากมีอ้อยไฟไหม้ต่ำกว่าคุณภาพ ที่ประชุมทำข้อตกกันเอาไว้ จะมีหน่วยงานราชการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาชดเชยให้ หากหน่วยงานปฏิเสธ ทางสมาคมฯก็มีแนวนโยบาย หาทางช่วยเหลือในลักษณะไหน อีกทั้งทางสมาคมฯก็จะออกไปประชาสัมพันธ์ มากกว่าเดิมให้เลิกตัดอ้อยไฟไหม้ ให้ตัดอ้อยสดเท่านั้น เพื่อไม่เกิดขึ้นอีกหรือให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ก็อยากถึงชาวไร่อ้อยทุกคน ให้ปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลและกติกาด้วย ทั้งนี้ขอขอบคุณ ท่าน รมว.อุตสาหกรรม ที่ยังให้โอกาส ในการช่วยแก้ไขให้กับพวกเราชาวไร่อ้อย หากมีนโยบายอะไร ชาวไร่อ้อย พร้อมที่จะปฏิบัติตาม ”

นายวรพจน์ บุรุษภักดี เลขาธิการสมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือไทยอุดรบ้านผือ ตอบข้อซักถามใด้วยว่า ตาม พรบ.อ้อยและน้ำตาล ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ทางสถาบันสมาคมชาวไร่อ้อย และ สนอ. ได้ยกร่างระเบียบเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา PM 2.5 ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็น โดยได้ส่งมาให้สมาคมฯของเราเมื่อ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อร่างระเบียบเสร็จสมบูรณ์ และมีการนำไปปฏิบัติจริง ปัญหาก็จะเบาบางลงไปมาก…

RELATED ARTICLES
- Advertisment -
Google search engine

Most Popular

Recent Comments